หน้าแรกliberatorบัตรเครดิต และ บัตรกดเงินสด บริหารการใช้งานได้ สร้างประโยชน์ให้มาก

บัตรเครดิต และ บัตรกดเงินสด บริหารการใช้งานได้ สร้างประโยชน์ให้มาก

” บัตรเครดิต และ บัตรกดเงินสด
บริหารการใช้งานได้ สร้างประโยชน์ให้มาก “

📌 𝙆𝙚𝙮 𝙃𝙞𝙜𝙝𝙡𝙞𝙜𝙝𝙩
+ ประวัติการเกิดขึ้นของบัตรเครดิต
+ วิธีการใช้งาน บัตรเครดิต และ บัตรกดเงินสดให้ได้ประโยชน์
+ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับ บัตรเครดิต และ บัตรกดเงินสด

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

🧑‍💻หลายท่านอาจเคยได้ยินได้ฟังมาบ้างกับมุมลบๆ จากปัญหาหนี้สินของคนที่ใช้บัตรเครดิตจนเกินตัว, การชำระเพียงแค่อัตราขั้นต่ำ ทำให้ผู้ใช้นั้นต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่สูงลิ่ว (สูงสุด 16% ต่อปี) บางคนไปเปิดบัตรใหม่มาเพื่อจ่ายหนี้บัตรเก่าในขณะที่การก่อหนี้ใหม่ๆก็ยังคงเกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ผิด และทำให้เกิดเป็นวงจรหนี้ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มองเครื่องมือนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี

เรามามองย้อนอดีตกลับไปในบุคเริ่มแรก ดูความตั้งใจแรก ที่บัตรเครดิตนี้้เกิดขึ้นมากัน

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

🪜จุดเริ่มต้น

แรกเริ่มเดิมทีบัตรเครดิตเกิดขึ้นมาไม่ได้มีเอาไว้เพื่อผ่อนสินค้าหรือสำหรับเป็นหนี้แต่อย่างใด
บัตรเครดิตมีต้นกำเนิดมาจาก Charga-Plate ซึ่งเป็นแผ่นเหล็กที่บรรดาห้างร้านออกให้กับลูกค้าเพื่อบันทึกการใช้จ่ายและเรียกเก็บเงินในช่วงทศวรรษที่ 1930

จากนั้นในปี 1950 Frank McNamara ทนายความชาวนิวยอร์ก ได้ริเริ่มบัตร Diners Club ซึ่งเป็นบัตรเครดิตใบแรกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้นเหตุเกิดจากการที่ McNamara รู้สึกหงุดหงิดกับการต้องพกเงินสดจำนวนมากติดตัวไปทานอาหารกลางวันกับเพื่อนๆ ทำให้เชื่อมโยงไปนึกถึงบัตรชำระเงินที่ใช้ในคาสิโน จึงเกิดไอเดียบัตรที่ใช้ชำระค่าอาหารโดยไม่ต้องพกเงินสด

จากต้นกำเนิดของบัตร เราจะเห็นว่าบัตรเครดิตไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้บัตรเป็นหนี้ แต่เกิดขึ้นมาเนื่องจากผู้ใช้บัตรเครดิตมีความน่าเชื่อถือพอที่สถาบันการเงินจะยอมให้ใช้จ่ายก่อนแล้วเรียกเก็บเงินทีหลังได้

ดังนั้น มองกลับมายุคปัจจุบัน เราควรจะใช้บัตรให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเนอะ

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

💳 “บัตรเครดิต” กับตัวเลขที่เกี่ยวข้อง

หากเราใช้บัตรเครดิตอย่างถูกวิธี นอกจากจะไม่ถูกคิดดอกเบี้ยแล้ว ยังทำให้เราได้สิทธิประโยชน์ต่างๆมากกว่าการใช้จ่ายด้วยเงินสดอีกด้วย เนื่องจากมีการได้รับคะแนนเมื่อใช้จ่าย, ได้เครดิตเงินคืน และ โปรโมชันร่วมกับร้านต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่การใช้จ่ายด้วยเงินสดไม่สามารถให้กับเราได้

เชื่อว่าต้องมีคำถามผุดขึ้นมาว่า …
หากลูกค้าบัตรเครดิตมีวินัยพากันจ่ายเต็มจำนวนทุกงวดแบบนี้
บริษัทผู้ออกบัตรจะได้รับรายได้มาไหน?

คำตอบ ก็คือ บริษัทบัตรเครดิตจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับร้านต่างๆที่รับชำระด้วยบัตรเครดิตนั่นเอง ซึ่งเหล่าบรรดาร้านเล็กๆบางร้านอาจผลักภาระดังกล่าวโดยการชาร์จราคาสินค้าเพิ่มกับลูกค้า(โดยที่ลูกค้าไม่รู้ตัว) แต่ร้านใหญ่ๆตามปกติแล้วจะรับภาระส่วนนี้เอาไว้เองเพื่อกระตุ้นยอดขาย

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

🪪 “บัตรกดเงินสด” เพื่อนแท้ยามฉุกเฉิน

บัตรกดเงินสด ถือเป็นสินเชื่อรูปแบบหนึ่ง
จะมีความแตกต่างจากบัตรเครดิตตรงที่
– ผู้ใช้จะต้องกดเบิกเงินจากตู้ ATM เพื่อนำมาใช้จ่ายเท่านั้น
– ไม่สามารถนำไปรูดเพื่อจ่ายค่าสินค้าและบริการได้
– มีสิทธิประโยชน์ที่ค่อนข้างน้อยกว่าเมื่อเทียบกับบัตรเครดิต
– มีการคิดดอกเบี้ยทันทีหลังจากที่กดเงินสดออกมา (ส่วนใหญ่มีดอกเบี้ยสูงกว่าบัตรเครดิต อยู่ที่ราว 25% ต่อปี)

แล้วบัตรกดเงินสดจะมีประโยชน์ในด้านใดบ้าง?
+ เป็นบัตรที่เหมาะกับการใช้งานในยามฉุกเฉินเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาล, ค่าซ่อมบ้านและรถยนต์ ดังนั้นจึงไม่ควรนำมาใช้เพื่อกดเงินในการใช้จ่ายทั่วๆไปเหมือนบัตร ATM เพราะว่ามีการคิดดอกเบี้ยรายวันหลังจากที่กดเงิน
+ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการกดเงินออกมาเหมือนกับบัตรเครดิต (บัตรเครดิตที่หากกดเงินสดจะเสียค่าธรรมเนียมราว 3% ทันที)

ดังนั้นหากเรากดเงินด้วยบัตรกดเงินสดและรีบจ่ายเงินคืนภายใน 1 เดือน ก็จะเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าค่าธรรมเนียมกดเงินสดของบัตรเครดิตนั่นเอง แต่ถ้าใครที่ไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องที่จำเป็นจะต้องใช้สินเชื่อเงินสด ก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีบัตรกดเงินสดแต่อย่างใด

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

😍 ถ้าหากเราใช้บัตรทั้งคู่แบบถูกวิธี ก็จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม จึงเปรียบเสมือนกับเราได้รับความสะดวกสบายจากการที่ไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ และยังมีรางวัลตอบแทนจากการที่เรามีวินัยทางการเงินโดยการชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนทุกงวดอีกด้วย

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ในตลาดหุ้นไทย มีหุ้นที่ทำธุรกิจบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสดโดยตรงอยู่ 2 ตัวคือ

🎫 KTC
+ บริษัทในเครือเดียวกับธนาคารกรุงไทย (KTB) มีรายได้หลักมาจากธุรกิจบัตรเครดิต
+ มูลค่าบริษัท 110,224 ลบ.
+ อัตรากำไรสุทธิปี 2023 อยู่ที่ 30.4% สัดส่วนหนี้เสีย 2.2%
+ ราคาเหมาะสมเฉลี่ยจาก IAA Consensus อยู่ที่ 49.22 บาท/ หุ้น (ยังคงเหลือ upside ราว 14.5%)

🎟️ AEONTS
+ มีรายได้หลักมาจากธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล
+ มูลค่าบริษัท 40,625 ลบ.
+ อัตรากำไรสุทธิปี 2023 อยู่ที่ 19.6% สัดส่วนหนี้เสีย 5.0%
+ ราคาเหมาะสมเฉลี่ยจาก IAA Consensus อยู่ที่ 183.21 บาท/ หุ้น (ยังคงเหลือ upside ราว 12.4%)

ในด้านการลงทุน นักลงทุนจะสังเกตุเห็นได้ว่า หุ้นที่มีอัตรากำไรที่สูงกว่า และ บริหารหนี้เสียได้ดีกว่า ตลาดจะยอมให้ Premium บนราคาหุ้นที่สูงกว่า
โดย ณ 25 เม.ย. KTC ซื้อขายที่ P/E24E 14.3x ขณะที่ AEONTS 12.0x

ดังนั้นพัฒนาการของความสามารถในการทำกำไร และ การบริหารหนี้เสีย จะเป็น 2 ปัจจัยสำคัญต่อราคาหุ้นให้เราได้ติดตามและใช้ในการตัดสินใจกัน

///////////////////////////////////

📑 บทความนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งจาก ” LIB of the Month “
eBook การลงทุน อ่านง่าย ที่มีบทความดีๆ อีก 7 ประเด็น
อ่านเพิ่มได้ที่นี่ :: https://go.liberator.co.th/xlnX/cuqulazb


PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า