Written by: หนีดอย x Liberator

ฉบับที่แล้ว ผมได้เกริ่นนำ BIG IDEAS ใน 4 หัวข้อหลัก จาก 14 หัวข้อ ในฉบับนี้ผมจะมาเล่าต่อในหัวข้อที่ 5 Public Blockchains โดยจะขอสรุป Big Ideas 2023 อีกครั้งดังนี้

1. Technological Convergence
2. Artificial Intelligence
3. Digital Consumers
4. Digital Wallets
5. Public Blockchains
6. Bitcoin
7. Smart Contract Networks
8. Precision Therapies
9. Molecular Diagnostics
10. Electric Vehicles
11. Autonomous Ride-Hail
12. Autonomous Logistics
13. Robotics and 3D Printing
14. Orbital Aerospace

5. Public Blockchains

ในปี 2022 จากเหตุการณ์ล่มสลายไล่ตั้งแต่ Terra/Luna, Three Arrows Capital, Celsius และ FTX/Alameda ทำในมูลค่าตลาดของคริปโตหายไปราวๆ 1.5 ล้านล้านเหรียญ (เทียบก่อนเกิดวิกฤต ตลาดคริปโตมีมูลค่าราวๆ 2.25 ล้านล้านเหรียญ หลังเกิดวิกฤตมูลค่าเหลือเพียง 0.75 ล้านล้านเหรียญ) แต่ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ดังกล่าว ในแง่ของ Public Blockchains ก็ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อไป เพราะเข้ามาปฏิวัติระบบการเงินและอินเทอเน็ต (Monetary, Financial และ Internet Revolution) โดย Bitcoin, Defi และ Web3 จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในระยะยาว

ด้าน Monetary Revolution จากปัญหาที่ ระบบการเงินแบบมีศูนย์กลางที่พบว่า มากกว่า 4,000 ล้านคนที่อยู่ในระบบนี้ , มากกว่า 2,000 ล้านคนที่กำลังประสบปัญหาเงินเฟ้อที่สูงถึง 2 digit, มากกว่า 1,000 ล้านคนที่ไม่สามารถใช้ระบบการเงินแบบนี้ในการรับจ่ายโอนเงิน ซึ่ง Bitcoin จะตัดปัญหานี้ออกไป จากข้อมูลพบว่า ในปี 2022 มี Transfer volume ของ Bitcoin เพิ่มขึ้น 38.7 ล้านล้านเหรียญ, Total Addresses เพิ่มขึ้น 147.5 ล้านบัญชี ซึ่งข้อดีของ Bitcoin การโอนให้กันง่ายเพียงแค่ใช้ private key, โปร่งใส และ ตรวจสอบได้

ด้าน Financial Revolution จากปัญหาที่มีคนมากกว่า 2,000 ล้านคนเข้าไม่ถึงบริการพื้นฐานของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปิดบัญชีหรือบัตรเครดิต จึงเป็นที่มาของการเติบโตของ DeFi หรือ ระบบการเงินไร้ศูนย์กลาง ที่จะกำจัดตัวกลางออกไป ใช้งานได้ทั่วโลก โปร่งใสและตรวจสอบได้ จากข้อมูลพบว่า ปริมาณการซื้อขายในระบบ DeFi เพิ่มสูงขึ้นจาก 1 แสนล้าน เป็น 1.2 ล้านล้านเหรียญ เพียง 2 ปี นับจากปี 2020-2022 และหลังจากการล่มสลายของ FTX ก็พบปริมาณการซื้อขายผ่าน DeFi มากขึ้นถึง 52% โดยประมาณ

ด้าน Internet Revolution : จากปัญหาที่อินเทอเน็ตในปัจจุบัน มีบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ผูกขาดและเอาเปรียบกับข้อมูลของผู้ใช้ เปรียบเทียบกับ Web3 ที่ผู้ใช้เป็นเจ้าของเอง ควบคุมได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงให้ผู้ใช้งานสามารถมีรายได้และลงทุนใน Platform ได้เอง ปัจจุบันนี้พบว่ามีราวๆ 5 ล้านบัญชี ในส่วนของ Ethereum Name Service ในส่วนของมูลค่าเทรดก็แตะที่ 22,000 ล้านเหรียญของปริมาณการซื้อขาย NFT (Non-fungible token) นอกจากนี้เริ่มเห็นการจับมือร่วมกันเป็นพาร์ทเนอร์ในแบรนด์ชั้นนำกับ Web3 Protocols อาทิเช่น Starbucks, Adidas, Nike, Coca-Cola, และ NBA

มูลค่าตลาดในอนาคตอีก 10 ปี ข้างหน้า คาดการณ์ว่า Cryptocurrencies และ Smart Contracts จะเติบโตไปแตะระดับที่ 20 ล้านล้านเหรียญ และ 5 ล้านล้านเหรียญ ตามลำดับ เทียบเป็นการเติบโต 25 เท่า ในปี 2022

มองดูภาพในอนาคตของปี 2030 คาดการณ์มูลค่าสินทรัพย์ได้ดังนี้
1. Global Real Estate = 280 ล้านล้านเหรียญ
2. Global Debt = 123 ล้านล้านเหรียญ
3. Global Equities = 97 ล้านล้านเหรียญ
4. Gold = 12 ล้านล้านเหรียญ
5. Crypto assets = 25 ล้านล้านเหรียญ (มูลค่าคาดการณ์ของคริปโตสูงกว่าทองคำ 2 เท่า)

6. Bitcoin : เครือข่ายที่แข็งแกร่ง
ทาง Ark Invest เชื่อว่าโอกาสของ Bitcoin ในภาพระยะยาวนั้นแข็งแกร่ง ทั้งที่มีข่าวไม่สู้ดีนักในช่วงที่ผ่านมา จากข้อมูลพบว่าผู้ถือครอง Bitcoin มีแนวโน้มถือสินทรัพย์ชิ้นนี้ในระยะยาวกันมากขึ้น (ราวๆ 71.8% ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2022) การล่มสลายของระบบการเงินแบบที่มีศูนย์กลางนั้น ทำให้มูลค่าในตัว Bitcoin ดูน่าสนใจ เพราะไร้ศูนย์กลาง โปร่งใส และ ตรวจสอบได้ โดยทาง Ark Invest คาดการณ์ว่า มีโอกาสที่ 1 BTC = 1 ล้านเหรียญสหรัฐในอีก 10 ปีข้างหน้า

จากสถิติพบว่า ในรอบนี้ Bitcoin ร่วงถึงจุดต่ำสุดที่ $15,800 ในปี 2022 นับเป็นการปรับตัวลงอย่างรุนแรงที่ 77%.จาก All Time High ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 หากย้อนกลับไป Bitcoin เคยทำจุดต่ำสุด โดยปรับตัวลงจากจุดสูงสุดดังนี้
- พฤศจิกายน 2011 ที่ $2 Drawdown ที่ -93.7%
- มกราคม 2015 ที่ $152 Drawdown ที่ -87.7%
- ธันวาคม 2018 ที่ $3,128 Drawdown ที่ -84.3%
- พฤศจิกายน 2022 ที่ $15,797 Drawdown ที่ -76.6%

ตัวเลขผลตอบแทน CAGR ของ Bitcoin พบว่าเป็นบวกทั้ง 3 ช่วงเวลา คือ 5ปีติดต่อกัน, 4 ปีติดต่อกัน และ 3 ปีติดต่อกัน ที่ 8.7%, 49.4% และ 35.6%

สถาบันหลายๆแห่งเริ่มยอมรับ Bitcoin มากขึ้นในภาวะตลาดหมี
-BlackRock จับมือกับ Coinbase เพื่อให้ลูกค้าสถาบันเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิตอล โดยเริ่มจาก Bitcoin ก่อน
-BNY Mellon ออกแพลตฟอร์ม Cryptoasset custody เพื่อเก็บทรัพย์สินดิจิตอลสำหรับนักลงทุนสถาบัน
-Eaglebrrok Advisors ร่วมกับ Ark Invest เพื่อเสนอ financial advisors ได้เข้าถึงการวางแผนสินทรัพย์ดิจิตอลเชิงรุก
-Fidelity ออกผลิตภัณฑ์บัญชีให้ซื้อขาย Bitcoin และ Ethereum เพื่อให้นักลงุทนได้ซื้อขายและเก็บสินทรัพย์ไว้

Bitcoin มีแนวโน้มที่จะเติบโตไปมีมูลค่าตลาดระดับหลายล้านล้านเหรียญในอนาคต โดย Ark Invest แบ่งออกเป็น 3 กรณี โดยใช้เกณฑ์การที่ Bitcoin ถูกนำมาใช้ในแง่ส่วน Corporate Treasury, Remittance asset, Nation State Treasury, Emerging Market Currency, Economic Settlement Network, Seizure-Resistant Asset, Institutional Investment และ Digital gold โดยสรุปใจความได้ว่า
1. Bear case : $258,500 โดยมี CAGR 40% (คาดการณ์ Penetration rate ส่วน Digital gold ที่ 20%)
2. Base case : $682,800 โดยมี CAGR 60% (คาดการณ์ Penetration rate ส่วน Digital gold ที่ 40%)
3. Bull case : $1,480,000 โดยมี CAGR 75% (คาดการณ์ Penetration rate ส่วน Digital gold ที่ 50%)

7. Smart Contract Networks
ตาม ARK research มูลค่าของสินทรัพย์ทาง Tokenized financial assets มีการคาดการณ์ว่าเคสที่จะถูกนำมาใช้ในระบบ decentralized และระบบ smart contract network จะสร้างรายได้ต่อปีที่ 450,000 ล้านเหรียญ และมีมูลค่าตลาดแตะที่ 5.3 ล้านล้านเหรียญในปี 2030

หากแบ่งประเภทการใช้งานของ Ethereum ด้วย Transaction type จะพบว่าการใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นในส่วน Stablecoins, DeFi, NFTs, ER20 เป็นส่วนหลักๆ ตามมาด้วย ETH transfers, Bridges และ MEV Bots เป็นส่วนน้อยกว่า โดยสถิติการใช้งานในกลุ่ม DeFi นับตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปี 2022 จะพบว่าปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยกเว้นช่วงกลางปี 2022 ที่ปริมาณลดลงหลังจากการล่มสลายของ Terra/Luna, Celsius และ Three Arrow Capital แต่อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุการณ์ล่มสลายของ FTX ลงในเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ DEX market share ก็เพิ่มขึ้นราวๆ 52% จาก 9% ไป 14% ของส่วนแบ่งตลาดทั้งหมด

เมื่อธุรกิจการให้กู้ยืมคริปโตในสถาบันอย่าง Celsius และ Voyager ล้มลงไม่เป็นท่า กลุ่ม Decentralized อย่าง Aave ก็ยังคงดำเนินกิจการได้ต่อโดยปราศจากอุปสรรคใดๆ ตั้งแต่พ.ย. 2022 เป็นต้นมา Aave มีปริมาณการไหลเข้าออกของเงินอยู่ที่ 7,500 ล้านเหรียญและ 6,600 ล้านเหรียญ

ระหว่างการ Merge ของ Ethereum ในเดือนกันยายน 2022 Ethereum เปลี่ยนถ่ายระบบจาก Proof-of-Work (PoW) เป็น Proof-of-Stake (PoS) เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงานลง โดยหลังจากเปลี่ยนระบบแล้ว ทำให้ Ethereum มีการเติบโตของ Supply จาก 4% CAGR เป็น -0.07% CAGR แทน ในขณะที่ Bitcoin อยู่ที่ 1.7% CAGR ทำให้มีระบบการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น ลดภาวะ Inflation ลง

ระบบการเงินไร้ศูนย์กลางที่แท้จริงนั้นเริ่มยากขึ้นในระบบเครือข่ายที่ออกใหม่ๆ ในส่วนของ Layer 1 Blockchains ที่สัดส่วน Supply ของเหรียญนั้นๆ จะถูกแบ่งให้ Insiders (ทีมผู้ก่อตั้ง, นักลงทุนนอกตลาด และกลุ่มอื่นๆ) นั้นมีปริมาณมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2017 ผู้ก่อตั้งออกเหรียญใหม่ๆ เพื่อมาแข่งขันกันกับเจ้าเดิมมีมากขึ้น เมื่อดูสัดส่วนของจัดสรรให้นักลงทุนกลุ่ม Insiders นี้จะพบว่า เหรียญที่ออกมาใหม่ๆ ขาดความไร้ศูนย์กลางอย่างแท้จริง และ อาทิเช่น Tezos ที่ออกมาปี 2017 มีปริมาณ Insiders ที่ 60%, Polygon ที่ออกมาในปี 2019 มีปริมาณที่ 80% เป็นต้น ขณะที่ Etereum ที่ออกในปี 2014 หรือ Cardano ที่ออกในปี 2017 มี Insiders ไม่ถึง 20%

ทาง Ark Invest คาดการณ์ว่าระบบ Smart Contract Networks จะสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมต่อปีได้ถึง 450,000 ล้านเหรียญในปี 2030 เป็นการเติบโตที่ระดับ 59% CAGR นับตั้งแต่ปี 2022 ที่ 11,000 ล้านเหรียญ ในกรณีที่ระบบนี้ถูกนำมาใช้ในระบบสินทรัพย์การเงินอย่างแพร่หลายมากขึ้นแบบเดียวกับช่วงที่อินเทอเน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเราแบบในอดีต

8. Precision Therapies

การรักษาแบบพุ่งเป้าหรือแบบเฉพาะเจาะจง (Precision Therapies) เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและพุ่งเป้าไปที่สาเหตุของโรคนั้น ไม่ใช่เพียงแค่รักษาตามอาการ เทคโนโลยีสมัยใหม่นี้จะทำให้การรักษาประเภทนี้รวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาแบบดั้งเดิม การมาของ AI, DNA และ RNA sequencing, การปรับแต่งยีนส์แบบ CRISPR ได้ทำให้เกิดการรักษาแบบใหม่ จากโรคที่รักษายาก ไม่น่ารักษาได้ มีความหวังมากขึ้น

ARK Invest เชื่อว่ามูลค่าบริษัทที่เกี่ยวกับ Precision Therapies จะเติบโตได้ที่ 29% ต่อปี จาก 500,000 ล้านเหรียญในปี 2022 มาเป็น 3 ล้านล้านเหรียญในปี 2030

ไม่เหมือน 30 ปีก่อน ที่การเปลี่ยนแปลงอัตราการตายในกลุ่มคนเป็นมะเร็งกับระบบหัวใจและหลอดเลือดไม่ได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใน 5 ปีที่ผ่านมา

สำหรับหลักการโดยทั่วไปของ The Central Dogma of Biology คือ DNA เป็นแม่แบบในการสังเคราะห์ mRNA (messenger RNA) ขึ้นมาเพื่อนำส่งข้อมูลในการสังเคราะห์โปรตีน หากเกิดการกลายพันธุ์หรือผ่าเหล่าของ DNA (DNA mutations) ก็จะทำให้มีการส่งข้อมูลในการสังเคราะห์โปรตีนที่ผิดปกติไป แม้ว่าโปรตีนที่ผิดปกติจะเป็นสาเหตุของโรค นักวิทยาศาสตร์สามารถพุ่งเป้าไปที่โมเลกุลไม่ว่าจะเป็น DNA, RNA หรือโปรตีนได้ โดยอาศัย Precision Therapies นี้

การรักษาสมัยใหม่จึงมุ่งเป้าไปที่แต่ละส่วนของ DNA, RNA และ โปรตีน เช่น การปรับแต่งยีนส์ เพื่อรักษาหรือป้องกันโรคหัวใจ (เช่น VERVE-101 จากบริษัท Verve Therapeutics), การกดการนำส่งข้อมูลสังเคราะห์โปรตีนในระดับ RNA เพื่อควบคุมภาวะ Polyneuropathy (กลุ่มโรคปลายประสาทอักเสบ) ด้วยยา Patirisan ที่ได้รับการรับรองจาก FDA เพื่อรักษาโรค hATTR Amyloidosis ที่ทำให้เกิด Polyneuropathy จากบริษัท Alnylam Pharmaceuticals หรือ การสลายโปรตีนเพื่อจำกัดการเติบโตของก้อนมะเร็ง เช่น NX-2127 จากบริษัท Nurix Therapeutics ที่กำลังทำการศึกษาวิจัยเพื่อหยุดการเติบโตของมะเร็ง

หากแบ่งเป็นเรื่องของ DNA ที่เกี่ยวกับ Gene editing แล้ว ถือว่าเข้าใกล้ในช่วงนำยาสู่ท้องตลาดเพื่อใช้งานจริง พบว่างานวิจัยด้านนี้ อาจเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในอีก 10 ปี รวมไปถึงยาที่ได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้งานจริงกับผู้ป่วยที่น่าจะโตแบบก้าวกระโดด นับจากปี 2023 เป็นต้นไป

สำหรับการรักษาด้วย Gene editing นี้ จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 ล้านเหรียญ อย่างยาที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จริงในกลุ่มโรค Hemophilia B มีมูลค่าที่ 3.5 ล้านเหรียญต่อโดสยา และหากต้องใช้ยานี้ตลอดชีวิต จะมีค่าใช้จ่ายราวๆ 28.5 ล้านเหรียญ ในส่วนของ ARK Invest คาดการณ์รายได้ในกลุ่มนี้ ณ ปี 2030 ไว้ที่ 30,000 ล้านเหรียญในกรณี Base case และ 60,000 ล้านเหรียญในกรณีที่ยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้รับการอนุมัติให้ใช้

ส่วนการรักษาด้วย RNA-Based Therapy ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หน้าที่ ปริมาณ ของโมเลกุล RA สามารถพุ่งเป้าไปในกลุ่มที่ยังไม่มียาที่ใช้ได้ ขณะที่ยากลุ่ม Traditional small molecule therapies สามารถเข้าไปจับกับกลุ่มโปรตีนเป้าหมายได้เพียง 14% เพราะฉะนั้นแล้วการรักษาด้วยวิธีการใหม่อย่าง RNA-based น่าจะช่วงปิดช่องว่างหรือปัญาตรงนี้ได้ เทียบกับการรักษาแบบต่างๆ พบว่า RNA-based นั้นเร็วกว่าถูกกว่า หากดูตัวเองการวิจัยพัฒนารวมไปถึงความล้มเหลวในการผลิตยาด้วยแล้ว เฉลี่ย 5 ปี มูลค่าอยู่ที่ 1.25 พันล้านเหรียญ เทียบกับการทดลองวิจัยกลุ่ม Small molecule และ Antibody ที่เฉลี่ย 10 ปี อยู่ที่มากกว่า 2 พันล้านเหรียญ

Targeted Protein Degraders (TPD) สามารถใช้ลดจำนวนโปรตีนที่ผิดปกติที่ก่อให้เกิดโรคลงได้ ถ้าพูดถึงข้อดีของ TPD แล้ว 1 โมเลกุลของมัน สามารถสลายโปรตีนเป้าหมายได้หลายร้อยโปรตีน ขณะที่ Traditional small molecule inhibitors แบบดั้งเดิมสามารถสลายโปรตีนได้เพียงตัวเดียว รวมไปถึงความปลอดภัยที่มีสูงกว่าในตัว TPD ด้วย ซึ่ง TPD นี้มีบทบาทถูกนำไปใช้ในการรักษากลุ่มโรคมะเร็ง, โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง,โรคพังผืด เป็นต้น ในข่วงระหว่างปี 2015-2020 ปริมาณงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ตามการศึกษาของ ARK Invest พบว่า 88% ของการรักษาด้วย TPD อยู่ในระยะการศึกษาขั้นต้น (Early phases)

9. Molecular Diagnostics
ราคาของการทำ Next-generation sequencing (NGS) นั้นถูกลงอย่างมาก ทำให้การตรวจวินิจฉัยโมเลกุลเข้าถึงได้มากขึ้น และทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งมากขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ ทำให้การตรวจหามะเร็งที่เคยต้องเจ็บตัว ตอนนี้ก็มีวิธีที่เจ็บตัวน้อยลง เช่นการตรวจด้วยการใช้ Liquid biopsies แทนการตรวจด้วยชิ้นเนื้อ หรือ Tissue biopsies

ARK Invest คาดการณ์ตัวเลขในส่วนของ Total addressable maket (TAM) ในส่วนของ Molecular cancer diagnostic test ในสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่ราวๆ 95,000 ล้านเหรียญ โดยรายได้จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ต่อปีในอีก 5 ถึง 10 ปีข้างหน้านี้ จาก 5,000 ล้านเหรียญในปี 2022 เป็น 24,000 ล้านเหรียญในปี 2030 และ Enterpirse value ของกลุ่มนี้ก็จะขยายตัวที่อัตราเดียวกัน จาก 30,000 ล้านเหรียญในปี 2022 เป็น 145,000 ล้านเหรียญในปี 2030

นับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา อัตราการเสียชีวิตที่ปรับตามอายุของกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดตกลงมากกว่า 50% แต่ตัวเลขของโรคมะเร็งลดลงมาเพียง 19% ด้วยการตรวจวินิจฉัยหามะเร็งด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่รวมไปถึงวิธีการรักษารูปแบบใหม่ๆ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้อีกมาก หากดูตัวเลขกลุ่มคนที่ถูกวินิจฉัยครั้งแรกว่าเป็นมะเร็งระยะลุกลามจะมีตัวเลขเพียงแค่ 17% ในแต่ละปี แต่มีตัวเลขอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 55% ภายใน 5 ปี ตัวเลขนี้จึงบ่งบอกความสำคัญที่เราควรตรวจหามะเร็งให้เจอในระยะแรกๆก่อนพัฒนากลายเป็นระยะลุกลาม

ก่อนหน้านี้เราพูดถึงการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง แต่จริงๆแล้ว Molecular testing นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อนที่จะเข้าสู่ Precision Therapies การตรวจหาการผ่าเหล่าในตัวเนื้อร้ายเพื่อหาความเฉพาะเจาะจงนั้น ที่เราเรียกว่า Biomarkers จะทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถพุ่งเป้าได้อย่างเจาะจง

เราสามารถแบ่งประเภทการตรวจออกมาได้เป็น 5 ส่วนดังนี้
1. Hereditary cancer testing - การตรวจพันธุกรรมโรคมะ
2. Screening - การคัดกรอง
3. Prognostics - การบอกพยากรณ์ของโรค
4. Minimal residual disease (MRD) - การตรวจวัดจำนวนเซลล์มะเร็งหลงเหลือ
5. Therapy selection – การเลือกวิธีการรักษาแบบเจาะจง

ยกตัวอย่างการตรวจแบบไม่เจ็บตัว (Non-invasive tests) ด้วย Cologuard ที่เป็นส่วนเสริมเพิ่มเติมในการคัดกรอง เพราะการตรวจหาการผ่าเหล่าหรือกลายพันธุ์ด้วย Sequening circulating tumor DNA mutations เพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มแรกได้น่าเชื่อถือพอ การใช้ร่วมกันจึงให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า
จากข้อมูลในปัจจุบัน การใช้การคัดกรองด้วยเลือดร่วมกับการทำ CT scan หามะเร็งปอดดนั้น พบว่าเพิ่มการเจอมะเร็งปอดระยะแรกได้สูงขึ้น 6 เท่า และเมื่อมีการคัดกรองมะเร็งปอดที่ดีขึ้น ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายในภาพรวมของการคัดกรองมีราคาถูกลง

จากข้างต้นก็เป็นการกล่าวถึง 5 ใน 14 หัวข้อย่อยพอสังเขปครับ ในบทความหน้า ผมจะนำ Big Ideas 2023 ของทาง Ark Invest หัวข้อที่เหลือมาเล่าต่อจนครบครับ

ที่มา : ark-invest.com/big-ideas-2023/

31.03.2023