บทความ LIB Learn เดิม
Alipay จาก Ant Group ใช้ FinTech กระตุ้นคนให้ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
Written by : CreativeTone x Liberator
ปัจจุบัน เรื่องราวเกี่ยวกับการเงินสีเขียว (Green Finance) กำลังกลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม และเป็นที่สนใจมากขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก เพราะนี่คือหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ความต้องการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับการดำเนินธุรกิจสามารถเดินไปควบคู่กันได้
ยกตัวอย่างประเทศจีน ซึ่งมีการตัดสินใจออกมาแล้วว่า พวกเขาจะมีบทบาทในการเป็นผู้นำการทดสอบนวัตกรรมด้านการเงินสีเขียวที่ขับเคลื่อนด้วย Fintech รวมถึงโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนมีการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย
ทั้งนี้ FinTech จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนแนวคิดการเงินสีเขียวได้มาก ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ แพล็ตฟอร์มการเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นสิ่งที่คอยกระตุ้นผู้บริโภคให้หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การปกป้องสิ่งแวดล้อม
โดยตัวอย่างของแพล็ตฟอร์มการเงินดิจิทัลที่คอยกระตุ้นผู้บริโภคให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ได้แก่ โครงการ Ant Forest ที่เปิดตัวบนแอพอาลีเพย์ (Alipay) ซึ่งให้รางวัลแก่ผู้ใช้ในรูปแบบของ “คะแนนสะสมพลังงานสีเขียว” (Green Energy Points) ในแต่ละครั้งที่ผู้ใช้ดำเนินการบางอย่างเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ขี่จักรยานไปทำงาน ลดการใช้กระดาษ รวมถึงซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
คะแนนสะสมของผู้ใช้จะถูกนำไปใช้ปลูกต้นไม้เสมือนจริงบนแอพของผู้ใช้ ขณะที่อาลีเพย์จะให้การสนับสนุนด้วยการปลูกต้นไม้จริงหรือการคุ้มครองพื้นที่อนุรักษ์ โดยร่วมมือกับองค์กรเอ็นจีโอในท้องถิ่นด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น Ant Group (บริษัทเจ้าของโครงการ Ant Forest) ยังได้ให้คำมั่นสัญญาว่า จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2573
นอกจากนี้ ยังจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีสีเขียวอื่นๆ แถมได้ร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมในการส่งเสริมการเงินสีเขียวอีกต่างหาก
10.02.2023
ปัจจุบัน เรื่องราวเกี่ยวกับการเงินสีเขียว (Green Finance) กำลังกลายเป็นเทรนด์ที่ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม และเป็นที่สนใจมากขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก เพราะนี่คือหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ความต้องการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับการดำเนินธุรกิจสามารถเดินไปควบคู่กันได้
ยกตัวอย่างประเทศจีน ซึ่งมีการตัดสินใจออกมาแล้วว่า พวกเขาจะมีบทบาทในการเป็นผู้นำการทดสอบนวัตกรรมด้านการเงินสีเขียวที่ขับเคลื่อนด้วย Fintech รวมถึงโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนมีการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย
ทั้งนี้ FinTech จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนแนวคิดการเงินสีเขียวได้มาก ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ แพล็ตฟอร์มการเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นสิ่งที่คอยกระตุ้นผู้บริโภคให้หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การปกป้องสิ่งแวดล้อม
โดยตัวอย่างของแพล็ตฟอร์มการเงินดิจิทัลที่คอยกระตุ้นผู้บริโภคให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ได้แก่ โครงการ Ant Forest ที่เปิดตัวบนแอพอาลีเพย์ (Alipay) ซึ่งให้รางวัลแก่ผู้ใช้ในรูปแบบของ “คะแนนสะสมพลังงานสีเขียว” (Green Energy Points) ในแต่ละครั้งที่ผู้ใช้ดำเนินการบางอย่างเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ขี่จักรยานไปทำงาน ลดการใช้กระดาษ รวมถึงซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
คะแนนสะสมของผู้ใช้จะถูกนำไปใช้ปลูกต้นไม้เสมือนจริงบนแอพของผู้ใช้ ขณะที่อาลีเพย์จะให้การสนับสนุนด้วยการปลูกต้นไม้จริงหรือการคุ้มครองพื้นที่อนุรักษ์ โดยร่วมมือกับองค์กรเอ็นจีโอในท้องถิ่นด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น Ant Group (บริษัทเจ้าของโครงการ Ant Forest) ยังได้ให้คำมั่นสัญญาว่า จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2573
นอกจากนี้ ยังจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีสีเขียวอื่นๆ แถมได้ร่วมมือกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมในการส่งเสริมการเงินสีเขียวอีกต่างหาก
10.02.2023