Written by : #CreativeTone x Liberator





เดี๋ยวนี้ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของพวกเรามากมาย ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใด เทคโนโลยีก็เข้ามาสอดแทรก ทำให้จังหวะชีวิตของพวกเราสะดวกและง่ายดายขึ้นไปหมด ไม่เว้นแม้แต่เรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน การลงทุน ที่ปัจจุบันก็มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท จนเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า FinTech ขึ้นมานั่นเอง





แล้ว FinTech คืออะไรน่ะหรอ? ชื่อเต็มๆ ของ FinTech มาจากคำว่า Financial Technology ที่ถ้าแปลตรงตัวก็คือ เทคโนโลยีทางด้านการเงิน ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การธนาคาร และการลุงทน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหัวใจสำคัญของ FinTech มีอยู่ด้วยกัน “7 ต้อง” ใหญ่ๆ ได้แก่





1) ต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด ต้องมองปัญหาลูกค้าให้แตกฉาน แล้วเสนอทางออกได้อย่างสร้างสรรค์ โดยให้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นแกนกลาง





2) ต้องใช้งานง่าย เพราะลูกค้ามักมองหาบริการที่ใช้งานไม่ยากและให้ประสบการณ์ที่ดีอยู่เสมอ





3) ต้องปลอดภัย เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับธุรกรรมการเงิน ความปลอดภัยจึงเป็นพื้นฐานสำคัญมาก





4) ต้องเข้าถึงได้ง่าย ลูกค้าต้องใช้เทคโนโลยีจากที่ใดก็ได้ เปรียบได้กับการจับเอาบริการหน้าร้านมามือลูกค้า





5) ต้องตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย โดยต้องมีการวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายให้ดี เช่น หากเป็นบริการง่ายๆ อย่างชำระเงิน โอนเงิน หรือทำธุรกรรมในชีวิตประจำวัน ก็ควรเน้นการใช้งานบนมือถือ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว





6) ต้องมีระบบที่มีประสิทธิภาพรองรับ สามารถนำเสนอข้อมูลได้ถูกต้อง รวดเร็ว และรองรับการใช้งานของลูกค้าจำนวนมากได้





7) ต้องตอบสนองความต้องการของตลาดได้รวดเร็ว มีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ เพื่อรักษากลุ่มลูกค้า และนำ feedback มาพัฒนาและปรับปรุงบริการ เพื่อบริการที่ทันสมัยอยู่เสมอ





ตัวอย่าง FinTech ในชีวิตประจำวัน





อย่างที่บอกไปในตอนต้น ตอนนี้มีการใช้ FinTech เข้ามามีบทบาทในการเงิน การลงทุนเยอะแยะ ไม่ว่าจะเป็นในแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวข้องไหนๆ ยกตัวอย่างเช่น





1) ธุรกิจให้บริการชำระเงิน (Payment) เป็นเสมือนกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Wallet ซึ่งผู้ให้บริการที่รู้จักกันดี คือ Paypal, Alipay และ Apple Pay รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบัตรเครดิตอย่างบริษัท VISA เป็นต้น





2) ธนาคารดิจิตอล (Digital Banks) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ไม่มีสาขา ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ การโอนและชำระเงิน รวมถึงการลงทุนต่างๆ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว





3) ธุรกิจสินเชื่อผู้บริโภค (Consumer Finance) เป็นการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงบริการกู้ยืมเงินได้ง่าย ไม่จำเป็นจะต้องเป็นธนาคารเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น การให้บริการ Shopee Pay Later (SPayLater) หรือผู้ให้บริการ Kaspi จากคาซัคสถาน





4) ธุรกิจประกัน (Insurance) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า InsurTech เป็นการใช้เทคโนโลยีช่วยในการดำเนินธุรกิจประกัน ไล่เรียงตั้งแต่การขายประกันออนไลน์ การใช้ AI คำนวณเบี้ยประกันให้ลูกค้า เรื่อยไปจนถึงการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ตรงตามต้องการค้าลูกค้ามากขึ้น





5) ธุรกิจด้านการลงทุน (Investment and Exchanges) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการลงทุน Liberator ซึ่งแอปพลิเคชั่นการลงทุนสำหรับทุกคน ที่สามารถลงทุนได้ด้วยตัวเอง เป็นแพลทฟอร์มที่ไม่จำกัดเพียงการซื้อขายหลักทรัพย์ แต่จะอำนวยความสะดวกด้านการให้ข้อมูลข่าวสารและสร้างชุมชนของคนลงทุนอย่างยั่งยืนด้วย