ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน SSF RMF TESG ลงทุนด้วย ลดหย่อนภาษีด้วย ทำอย่างไร เลือกแบบไหนก่อน?

โค้งสุดท้ายก่อนจบปีภาษี 2567 ได้เวลาเตรียมหาซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีกันแล้ว หาซื้อได้ง่าย หลายกองบน App Liberator โดยใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุดรวมกันสูงถึง 800,000 บาท

หาซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีบนแอป Liberator ได้แล้วนะ ดูวิธีเปิดบัญชีกองทุนรวมได้ที่นี่

 ลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุน ทำอย่างไร?

(1) กองทุนลดหย่อนภาษี เป็นหนึ่งในสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่เราทุกคนเข้าถึงได้ ช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายทางการเงินระยะกลาง-ยาว หรือเป้าหมายเกษียณได้ ได้ทั้งลงทุนด้วยและได้ประหยัดภาษีด้วย มีให้ใช้ได้หลายแบบ

PVD และประกันบำนาญ: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่บริษัทฯ ผู้จ้างและพนักงานร่วมกันลงทุน

SSF กองทุนรวม มีหลายสินทรัพย์เลือกลงทุนได้ ที่ลงทุนถือเป็นเวลา 10 ปี 

RMF กองทุนรวมสำหรับวางแผนเกษียณ ต้องถืออย่างน้อย 5 ปี และถือไปจนถึงอายุ 55 ปี ถึงจะขายได้แบบไม่ถูกนับเป็นรายได้มาคำนวณภาษีย้อนหลัง

TESG เน้นลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ในประเทศไทย ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี

(2) สิทธิ์ลดหย่อนของกองทุนแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง

PVD Fund ลดหย่อนได้เฉพาะส่วนที่เราจ่ายสมทบเข้าไป โดยลดได้สูงสุด 15% ของรายได้

SSF ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ ลดได้เต็มที่ 200,000 บาท

RMF ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ ลดได้เต็มที่ 500,000 บาท 

ทั้ง 3 กองทุนนี้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนรวมกันทุกกองได้สูงสุด 500,000 บาทเท่านั้น

 

และ น้องใหม่ ThaiESG ที่ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้พึงประเมิน มติ ครม. ประกาศให้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท แยกออกมาต่างหากอีกชุดหนึ่ง

ทำให้รวมกับกองทุนลดหย่อนอื่นๆ แล้วจะลดหย่อนได้รวมสูงสุดถึง 800,000 บาท

 

ลดหย่อนภาษี เริ่มต้นที่กองประเภทไหนก่อน?

(3) ลำดับการลงทุนที่แนะนำ คือ 

ขั้นตอนที่ 1:
เริ่มที่ลงทุน PVD Fund ให้เต็มสิทธิ์ก่อน 

 

ขั้นตอนที่ 2:
เลือกลงทุนกองทุน SSF หรือ RMF ให้ครบสิทธิ์

ถ้าเราอายุน้อยกว่า 46 ปี เลือกลงทุน SSF ก่อน แล้วเติมด้วย RMF

เพราะเงื่อนไขของกองทุน SSF นั้นให้เราถือกองทุนเป็นเวลา 10 ปีเท่านั้น ถ้าเราอายุ 32 ปี แล้วเลือกซื้อ RMF เลย เราจะต้องถือกองทุนไปจนถึงอายุ 55 ปี หรือเป็นเวลา 23 ปีถึงจะสามารถขายออกมาได้

ถ้าเราอายุมากกว่า 46 ปี เลือกลงทุน RMF ก่อน แล้วเติมด้วย SSF

เพราะเงื่อนไขกองทุน RMF ให้เราถือกองทุนจนถึงอายุ 55 ปี ถ้าเราอายุ 49 ปี แล้วเลือกซื้อ SSF เราจะต้องถือกองทุนนั้นไปอีก 10 ปี เทียบกับการซื้อ RMF อีก 6 ปีก็สามารถขายออกมาได้แล้ว

นอกจากเงื่อนไขเวลาของ SSF และ RMF แล้ว สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างกองทุน SSF และ RMF คือ สินทรัพย์ที่เปิดให้ลงทุนได้

เพราะ RMF มีกองทุนรวมให้ลงทุนระยะยาวมากกว่า SSF ประมาณ 2 เท่า ทำให้การสับเปลี่ยน หมุนเวียน ซื้อตัวถูก ขายตัวแพงจะช่วยเราสร้างแผนการเงินที่แข็งแรงให้กับเราด้วย และลดหย่อนภาษีได้ด้วย

 

ขั้นตอนที่ 3:
เมื่อใช้สิทธิ์เต็มแล้ว ค่อยเลือก ThaiESG ซึ่งลดหย่อนเพิ่มเติมได้สูงสุดอีก 300,000 บาทมาเพิ่มทีหลัง

 

(4) ต้องซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเท่าไหร่? 

ข้อนี้ต้องประเมินจากเงินได้ทั้งหมดและแผนเกษียณของเรา

ด้วยสิทธิ์ลดหย่อนพื้นฐาน เช่น ลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท ประกันสังคม เงินสมทบ PVD ทำให้ถ้ามีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 28,000 บาท จะยังไม่ต้องเสียภาษี

(แต่ยังต้องยื่นแบบนะ อาจขอคืนภาษีได้ถ้าโดน หัก ณ ที่จ่ายมากกว่าภาษีที่ต้องจ่าย)

เนื่องจากสิทธิ์ลดหย่อนหลายข้อนั้นจะคิดจาก % ของรายได้ นั่นหมายความว่าถ้ารายได้ไม่สูงมากนัก ก็ไม่ต้องซื้อกองทุนทุกประเภทก็ได้

 

วางแผนลดหย่อนภาษี ต้องระวัง การขายผิดเงื่อนไข

(5) เงื่อนไขการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีข้อสำคัญ: Lockup Period หรือ ระยะเวลาที่ขายกองทุนได้แบบไม่ผิดเงื่อนไข

การนับจะนับแบบวันชนวัน เช่น ซื้อ วันที่ 30 พ.ย. 2567 จะขายได้แบบไม่ผิดเงื่อนไขวันที่ 1 ธ.ค. 2572 เป็นต้นไป

 

กองทุน SSF ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ 

กองทุน RMF ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ และขายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีเมื่ออายุสูงกว่า 55 ปี

  • ผิดเงื่อนไขและลงทุนไม่ถึง 5 ปี ต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดทุกปี กำไรที่ได้ถูกนับเป็นรายได้คิดภาษี
  • ผิดเงื่อนไขและลงทุน 5 ปีขึ้นไป ต้องคืนเงินภาษี 5 ปีย้อนหลัง ส่วนกำไรที่ได้ไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี

 

กองทุน TESG ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ

เพราะรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เราลงทุนระยะยาวซึ่งเลี่ยงความผันผวน ทำให้ไปถึงเป้าหมายได้ง่ายกว่า ดังนั้น หากมีการขายกองทุนผิดเงื่อนไขอาจทำให้ถูกคิดภาษีย้อนหลังและถูกค่าปรับเพิ่มได้ 

ติดตาม Liberator ไว้เพื่อมุมมองกลยุทธ์การลงทุนกองทุนรวม ดูวิธีการซื้อขายกองทุนรวมที่นี่