เงินเดือนเท่านี้ ควร DCA กองทุนลดหย่อนภาษี SSF RMF TESG เท่าไหร่?
3 เดือนสุดท้ายของปี 67 ได้เวลาหาซื้อกองลดหย่อนภาษีแล้วว่าแต่เราเงินเดือนเท่านี้ ควรซื้อกองทุนประเภทไหนก่อนดี?
ทำไมต้องซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี?
ใครที่ยังไม่ได้เริ่มซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเลย ต้องมาวางแผนซื้อกองทุนกันแล้ว เพราะถ้าเราวางแผนดีๆ กองทุนลดหย่อนภาษีรวมกันแล้วเป็นสิทธิ์ลดหย่อนเงินได้สูงสุดถึง 800,000 บาท ประหยัดได้เยอะมากกกก จากที่เคยต้องจ่ายภาษีอาจจะกลายเป็นไม่ต้องจ่ายภาษีได้เลย
ซื้อกองทุนรวมลดหย่อนภาษี หาซื้อได้บนแอป Liberator ได้แล้ววันนี้ ซื้ออย่างไรอ่านที่นี่
กองทุนลดหย่อนภาษี เป็นเครื่องมือช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายทางการเงิน ระยะกลาง-ยาว หรือเป้าหมายเกษียณ เราต้องเลือกไปประกอบการวางแผนการเงินของเรา นอกจากเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งแล้วยังได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีอีกด้วย
ปัจจุบันมีกองทุนลดหย่อนภาษีถึง 3 แบบ คือ SSF, RMF และ ThaiESG
ดูวิธีซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี กองไหนควรซื้อก่อน-หลัง ได้ที่นี่
วันนี้ #เด็กการเงิน ขอมาแชร์ไอเดียให้ DCA กองทุนลดหย่อนภาษีในช่วง 3 เดือนที่เหลือ และอยากให้เห็นว่าเมื่อลงทุนแล้วจะช่วยประหยัดการจ่ายภาษีไปเท่าไร (ไม่เกี่ยวข้องกับกำไรหรือขาดทุนของกองทุนนะ)
DCA กองทุนลดหย่อนภาษี คืออะไร?
ในตัวอย่างนี้เราแนะนำให้ทำ DCA (Dollar Cost Average) หรือ การทยอยลงทุนเป็นจำนวนเงินเท่ากันในทุกๆ เดือน
เพราะว่าตอนนี้เราเหลือเวลา 3 เดือนสุดท้ายแล้ว ถ้าอยากใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีให้ได้สูงที่สุดแต่ยังไม่เคยลงทุนเลย เราจึงต้องนำเงินเก็บบางส่วนในช่วงต้นปีมาลงทุนเพิ่มช่วงนี้แทน
ประโยชน์ของการทำ DCA คือช่วยเฉลี่ยต้นทุนระยะยาวของเรา ในช่วงที่ราคาลดลง เราจะซื้อได้จำนวนหน่วยมากขึ้น แต่ถ้าหากช่วงไหนราคาเพิ่มขึ้น เราก็จะซื้อได้จำนวนหน่วยที่ลดลง นั่นทำให้แม้เราลงเงินเท่ากันทุกเดือน ราคาที่เราได้ก็เป็นราคาเฉลี่ยนั่นเอง
นอกจากนี้การทำ DCA ก็ช่วยเพิ่มวินัยการลงทุน และช่วยตัดเรื่องอารมณ์ความรู้สึกออกไป ไม่ต้องมานั่งจับจังหวะการลงทุนให้ปวดหัวอีกด้วย
เงินเดือนเท่านี้ควร DCA กองทุนลดหย่อนภาษีเท่าไหร่?
ก่อนจะไปที่ตัวอย่างการวางแผน DCA กองทุนรวมกัน เราจะกำหนดให้ทุกคนมีสิทธิ์ลดหย่อนและหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากัน ดังนี้
- หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท
- หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5% ของรายได้
- ประกันสังคม 9,000 บาท
เคสที่ 1 เงินเดือน 40,000 บาท
รายได้รวมปีละ 480,000 บาท
เมื่อเราใช้สิทธิ์ลดหย่อนและหักค่าใช้จ่ายไปหมดแล้ว ปกติเราจะต้องเสียภาษี 6,850 บาท เราสามารถแบ่งเงินเก็บส่วนหนึ่งมาซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีประเภท SSF ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ นั่นก็คือ 144,000 บาท
แต่ในที่นี้ซื้อ SSF เพียง 137,000 บาท ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อ Thai ESG หรือ RMF ก็สามารถประหยัดภาษีได้ทั้งหมด
จากที่ต้องจ่ายภาษี 6,850 บาท เป็นไม่ต้องจ่ายเลยสักบาท
ประหยัดไปได้เต็มยอด เยี่ยมเลย
หากตั้ง DCA 3 เดือนที่เหลือ ก็จะ DCA SSF เดือนละ 45,667 บาท
เคสที่ 2 เงินเดือน 60,000 บาท
รายได้ปีละ 720,000 บาท
เมื่อเราใช้สิทธิ์ลดหย่อนและหักค่าใช้จ่ายไปหมดแล้ว ปกติเราจะต้องเสียภาษี 29,750 บาท แต่ถ้าเราแบ่งเงินเก็บส่วนหนึ่ง
- เริ่มซื้อ SSF, RMF รวม 216,000 บาท
- ตามด้วยซื้อกองทุน Thai ESG 100,000 บาท
(จริงๆ แล้วในกรณีที่รายได้ปีละ 720,000 บาท จะซื้อได้สูงสุดถึง 216,000 บาท)
เราจะเหลือรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษี 199,000 บาท
จากที่ต้องจ่ายภาษี 29,750 บาท เหลือจ่ายเพียง 2,450 บาท
ประหยัดไปได้ถึง 27,300 บาท
3 เดือนที่เหลือนี้ สิ่งที่เราต้องทำก็คือทยอยลงทุนในกองทุนกลุ่ม:
- DCA SSF, RMF เดือนละ 72,000 บาท
- DCA Thai ESG เดือนละ 33,334 บาท
แม้เราจะมีรายได้สูงๆ แต่ก็ไม่สามารถซื้อกองลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมดเพราะจะมี เงื่อนไขสูงสุด ที่ซื้อได้อยู่
- ซื้อกองทุน SSF, RMF ได้อย่างละไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน
- SSF สูงสุด 200,000 บาท
- RMF สูงสุด 500,000 บาท
เมื่อรวมกับ PVD และประกันบำนาญแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ซื้อกองทุน Thai ESG ได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน ตาม มติ ครม. แล้วสามารถซื้อได้สูงสุด 300,000 บาท (ไม่รวมอยู่ใน 500,000 บาทแรก
เคสที่ 3 เงินเดือน 80,000 บาท
รายได้ปีละ 960,000 บาท
เมื่อเราใช้สิทธิ์ลดหย่อนและหักค่าใช้จ่ายไปหมดแล้ว ปกติเราจะต้องเสียภาษี 63,950 บาท ถ้าเราแบ่งเงินเก็บส่วนหนึ่ง
- เริ่มซื้อ SSF, RMF ให้ได้ยอดรวม 452,000 บาท (PVD อีก 48,0000 บาท รวมทั้งหมดจะเป็น 500,000 บาทตามเกณฑ์)
- ตามด้วยซื้อกองทุน Thai ESG 100,000 บาท (จริงๆ แล้วในกรณีที่รายได้ปีละ 960,000 บาท จะซื้อได้สูงสุดถึง 288,000 บาท)
เราจะเหลือรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษี 191,000 บาท
จากที่ต้องจ่ายภาษี 63,950 บาท เหลือจ่ายเพียง 2,050 บาท
ประหยัดไปได้ถึง 61,900 บาท
3 เดือนที่เหลือนี้ สิ่งที่เราต้องทำก็คือทยอยลงทุนในกองทุนกลุ่ม:
- DCA SSF, RMF เดือนละ 150,667 บาท
- DCA Thai ESG เดือนละ 33,334 บาท
เคสที่ 4 เงินเดือน 100,000 บาท
รายได้ปีละ 1,200,000 บาท
เมื่อเราใช้สิทธิ์ลดหย่อนและหักค่าใช้จ่ายไปหมดแล้ว ปกติเราจะต้องเสียภาษี 109,200 บาท ถ้าเราแบ่งเงินเก็บส่วนหนึ่ง
- เริ่มซื้อ SSF, RMF ให้ได้ยอดรวม 440,000 บาท (PVD อีก 60,0000 บาท รวมทั้งหมดจะเป็น 500,000 บาทตามเกณฑ์)
- ตามด้วยซื้อกองทุน Thai ESG สูงสุด 300,000 บาท
เราจะเหลือรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษี 231,000 บาท
จากที่ต้องจ่ายภาษี 109,200 บาท เหลือจ่ายเพียง 4,050 บาท
ประหยัดไปได้ถึง 105,150 บาท
3 เดือนที่เหลือนี้ สิ่งที่เราต้องทำก็คือทยอยลงทุนในกองทุนกลุ่ม:
- DCA SSF, RMF เดือนละ 146,667 บาท
- DCA Thai ESG เดือนละ 100,000 บาท
เราควรลงทุนทั้งหมดตามนี้เลยไหม?
ทั้งนี้การตัดสินใจที่จะลงทุนเท่าไรนั้น แต่ละคนก็ต้องพิจารณาถึงภาระของตัวเองด้วย ควรลงทุนเท่าที่เหมาะสม
ถ้าหากใครไม่มีภาระอะไร เราก็แนะนำให้ลงทุนให้ได้มากที่สุด สำหรับ PVD หลายบริษัทเปิดโอกาสให้เราเลือกหักเงินสะสมได้ตั้งแต่ 2%-15% เลย ถ้าใครไม่แน่ใจว่าของบริษัทตัวเองหักได้เท่าไร ก็ลองสอบถาม HR ดูนะ
ทั้งนี้ถ้ารู้สึกว่าใจนึงก็อยากลงทุนเพราะอยากใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี แต่อีกใจก็ยังกังวลถึงความไม่แน่นอนของตลาดหุ้น
สิ่งที่เพื่อนๆ สามารถทำได้คือลงทุน SSF, RMF กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) ไปก่อนได้ เมื่อตลาดลดความผันผวนลง จึงค่อยสับเปลี่ยนมายังกองทุนที่ต้องการ
[บทความโดยเด็กการเงิน DekFinance x Liberator]
ซื้อกองทุนรวมบนแอป Liberator ได้แล้วนะ ดูวิธีเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ Liberator ได้ที่นี่เลย