Liberator for PC ช่วยให้เราลงทุนง่ายขึ้นได้อย่างไร

จากวันแรกที่เริ่มต้น Liberator ตั้งใจจะเป็นโบรกเกอร์ที่สู้เพื่อรายย่อย เพื่อค่าคอมมิชชั่นที่โปร่งใส เข้าถึงได้เท่ากันไม่ว่าจะเงินลงทุนเราจะเล็กหรือใหญ่ เราก็ เลือกค่าคอมมิชชั่นได้ ตามเงื่อนไขที่เราต้องการ ทำให้ลูกค้าของ Liberator ประหยัดค่าคอมมิชชั่นไปได้มหาศาล และเมื่อต้นทุนลดลง หมายถึงการตัดสินใจที่ง่ายขึ้น คล่องตัวขึ้น เข้า-ออกได้แบบไม่ต้องกังวลใจ

 

Liberator จะทำแบบนี้เพื่อนักลงทุนได้ก็ต้องทำผ่านโปรแกรมและแอปของ Liberator เองเท่านั้น

 

เปิดบัญชี Liberator - เริ่มต้นประหยัดค่าคอมง่ายๆ วันนี้ เปิดบัญชี Liberator ที่นี่ ฟรีค่าคอม 1 เดือน

 

Liberator for PC ทำอะไรได้บ้าง?

  • ส่งคำสั่งซื้อขายได้ ด้วยหน้าต่างการใช้งานที่คุ้นตา เรียนรู้ได้ไว
  • เครื่องมือกราฟทันสมัยจาก Tradingview เครื่องมือครบครัน ใช้งานง่าย
  • จัดหน้าจอเตรียมเก็งกำไรได้ตรงใจด้วย Workspace
  • ดูข้อมูลพื้นฐานหุ้นรายตัวแบบครบถ้วน ดูได้หมดที่หน้า Quote

เราใช้หน้า Quote ของ Liberator for PC ตัดสินใจลงทุนหุ้นตัวหนึ่งได้อย่างไรบ้าง

 

หน้า Quote: ข้อมูลหุ้นรายตัวจบในหมวดเดียว

ก่อนเราจะลงทุน นำเงินไปซื้อ-ขายหุ้นสักตัวหนึ่ง สิ่งแรกที่ควรทำคือตอบให้ได้ว่า เรากำลังซื้อหุ้นอะไร?

คำตอบนี้เราจะประเมินได้เบื้องต้นจากปุ่ม Quote บน Liberator for PC ถ้าเรามีหุ้นในใจอยู่แล้ว เราพิมพ์ชื่อหุ้นหาใน ช่องที่เขียนว่า Enter Symbol ได้เลย 

ในหน้า Quote จะมีข้อมูลเด่นๆ อยู่ 8 หน้าด้วยกัน ได้แก่

  1. Realtime Data หน้านี้เราจะมาดูข้อมูลการซื้อขาย สถิติเกี่ยวกับราคาและโวลุ่มของหุ้นกัน ใช้ในการเก็งกำไร
  2. Technical หน้านี้จะทำให้เราเปิดดูกราฟเพื่อประเมินแนวโน้ม พฤติกรรมราคา หาจุดตัดสินใจได้

  3. Historical Data ดูราคาซื้อขายหุ้นย้อนหลังแบบเป็นตาราง ใช้มองหา ราคาและโวลุ่ม ที่ผิดปกติได้

  4. Financials ดูแผนภูมิพื้นฐานของหุ้นตัวนี้แบบไวๆ กำไรดีขึ้นไหม ทำธุรกิจมีเงินสดหรือเปล่า

  5. Statistics ดูงบการเงินแบบย่อๆ หุ้นนี้ถูกหรือแพง แข็งแรงหรืออ่อนแอ 

  6. Rights & Benefits หุ้นนี้เงินปันผลดีไหม มีสิทธิประโยชน์หรือ Corporate Action อะไรในเร็วๆ นี้หรือเปล่า

  7. Major Shareholders ผู้ถือหุ้นหลักของบริษัทฯ นี้เป็นใคร เขาถือกันเป็นครอบครัวไหม มีรายย่อยถืออยู่เท่าไหร่ 

  8. Odd Lot เวลาที่เรามี เศษหุ้น ที่น้อยกว่า 100 หุ้น เราอยากซื้อขายต้องมาที่กระดานนี้

ก่อนเราจะลงรายละเอียดในแต่ละแท็บกัน มีศัพท์พื้นฐานที่ควรผ่านตาเอาไว้ก่อน ก่อนจะไปลงรายละเอียดเพิ่มเติมกัน

 

0. ราคาและโวลุ่ม: ข้อมูลดิบ ที่มือโปรใช้ตัดสินใจซื้อ-ขายหุ้น

ในหน้า Quote ตัวเลขชุดแรกที่เราจะเห็นด้านบน คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายในตลาดของวันนี้ ตัวเลขพวกนี้จะถูกนำไปใช้ในการคัดเลือกหุ้น แล้วมันมีอะไรบ้าง?

  1. ราคาปัจจุบันของหุ้น จะเป็นตัวเลขสีเขียว / เหลือง / แดง

    1. สีเขียว หมายถึง หุ้นตัวนี้ราคาขึ้นมาจากวันก่อนหน้านี้ มีคนซื้อมากกว่าคนขาย

    2. สีเหลือง หมายถึง หุ้นตัวนี้ราคาไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเมื่อวาน

    3. สีแดง หมายถึง หุ้นตัวนี้ราคาลดลงจากวันก่อนหน้า มีคนขายมากกว่าคนซื้อ

  2. ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย ตัวเลขที่บอกว่าคนในตลาด สนใจ หุ้นตัวนี้มากน้อยแค่ไหน

    1. ปริมาณการซื้อขาย (Volume) คือ จำนวนหุ้น ที่มีการซื้อขายของวัน ยิ่งมากแปลว่าคนให้ความสนใจ
      วิธีการดูว่ามันน่าสนใจหรือไม่เรามักจะเทียบกับปริมาณของทั้งตลาดและปริมาณการซื้อขายในอดีต 

    2. มูลค่าการซื้อขาย (Value) คือ มูลค่าการซื้อขายของหุ้น มีหน่วยเป็นบาท เราจะใช้ Value และ Volume ประกอบกัน เพราะหุ้นบางตัวมีราคาต่ำมาก มีจำนวนหุ้นซื้อขายมาก แต่ถ้ามาคิดกันจริงๆ ใช้เงินไม่มากเท่าไหร่ก็สร้างปริมาณการซื้อขายจำนวนมากได้แล้ว

  3. การวิ่งขึ้น-ลงของหุ้นในวัน

    1. ราคาสูงสุด (High) คือ ราคาที่หุ้นเคยขึ้นไปสูงที่สุดในวัน 

    2. ราคาต่ำสุด (Low) คือ ราคาที่หุ้นเคยลงไปต่ำสุดในวัน 

    3. Ceiling คือ เพดานราคาสูงสุดราคาขึ้นไปถึงได้ในวัน (ตลาดกำหนด)

    4. Floor คือ กรอบราคาต่ำสุดที่ราคาลงไปถึงได้ในวัน (ตลาดกำหนด)

    5. Open1 คือ ราคาเปิดแรกของวัน เป็นราคาเปิดช่วงเช้า

    6. Open2 คือ ราคาเปิดที่สองของวัน เป็นราคาเปิดช่วงบ่าย

    7. P.Close คือ ราคาปิดของวันก่อนหน้านี้

    8. Close คือ ราคาปิดภายในวัน ถ้าตลาดยังไม่ปิดจะขึ้นว่าเป็น 0 บาท ให้ดูตัวเลขในข้อ 1 แทน

    9. Avg. คือ ราคาเฉลี่ยของหุ้นที่ซื้อขายในวันนี้

(ไม่จำเป็นต้องใช้เป็นทุกตัวนะครับ ขึ้นอยู่กับวิชาประจำตัวของเราเอง)

เวลานักลงทุนมองข้อมูลเหล่านี้ ส่วนที่ให้ความสำคัญมากที่สุดจะมีแค่ 3 ตัวเท่านั้น ได้แก่ ราคาของวันนี้, ปริมาณการซื้อขาย, มูลค่าการซื้อขาย ข้อมูลอื่นๆ จะดูประกอบเท่านั้น ส่วนที่จะพอวิเคราะห์เพิ่มเติมได้อยู่ในแถบ Technical และ Historical ครับ

 ลำดับต่อไป คือ การประเมินข้อมูลจากส่วน แรงซื้อขายใน Technical และ ความแข็งแกร่งของพื้นฐาน จากงบการเงิน เขาดูอะไรกันบ้าง

 

ดูราคา อ่านแนวโน้มเทคนิค แกะพฤติกรรมราคาบน Liberator for PC

ในส่วนนี้จะประกอบไปด้วย Realtime Data, Technical, Historical Data เราจะมาดูกันทีละหน้า

 

1. หน้า Realtime Data

หน้านี้จะมีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจเพิ่มให้อีกเล็กน้อย เช่น 

 1.1 ข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบเพื่อเลือกหุ้นที่เราชอบที่สุด

  1. ความถูก-แพง ของบริษัทฯ เหมาะกับทั้ง
    1. Market Cap (มูลค่าตลาด) มูลค่าของหุ้นในตลาดทั้งบริษัท มันคือตัวเลขที่นำจำนวนหุ้นทั้งหมด คูณ กับ ราคาหุ้น ความหมายของเลขนี้เป็นเหมือนกับการดูว่าบริษัทฯ นี้มีขนาดใหญ่แค่ไหน เราจะเทียบตัวเลขนี้กับบริษัทอื่นๆ ที่น่าสนใจกว่าได้เลย
    2. P/E (Price-earnings ratio) ตัวเลขที่เปรียบเทียบ ราคาของบริษัท และ กำไรที่บริษัททำได้ โดยอาจจะเทียบจากราคาหุ้นกับกำไรต่อหุ้น หรือมูลค่าตลาด
    3. P/BV (Price-Book Value ratio) อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี 
    4. YIELD (%) อัตราส่วนปันผลต่อหุ้นเทียบกับราคาหุ้นคิดเป็นร้อยละ
  2. ความผันผวนของราคา
    1. 52W High ราคาสูงสุดช่วง 52 สัปดาห์ที่ผ่านมา
    2. 52W Low ราคาต่ำสุดช่วง 52 สัปดาห์ที่ผ่านมา

  3. กำไรของหุ้น
    1. EPS (Earning per Shares) กำไรต่อหุ้น 
    2. ROE (Return on Equity) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 

สำหรับนักเก็งกำไร 52W High และ 52W Low จะเป็นตัวสำคัญ

นักเก็งกำไร เทรดเดอร์จะมีความเชื่อว่าหุ้นที่ขึ้นแล้วมักจะขึ้นต่อ ดังนั้น เขาจะพยายามมองหาหุ้นที่ราคาใกล้ 52W High เพื่อซื้อแพงไปขายแพงกว่า และหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาใกล้ 52W Low ถูกแล้วก็ยังมีถูกกว่า

นักลงทุนพื้นฐาน จะเน้นไปที่ กำไรของบริษัทฯ ดูได้จากข้อมูล EPS, ROE เป็นตัวที่บอกถึงสุขภาพของกิจการที่ดี ธุรกิจที่แข็งแกร่งมักจะมี ROE สูงกว่าคู่แข่ง ยิ่งมี ROE สูง แปลว่ายิ่งทำกำไรได้มากจากเงินทุนที่ลงไป เราจะประเมินตัวเลขนี้ร่วมกับ P/E

1.2. Volume by Price 

แผนภาพที่กำลังบอกเราว่า คนในตลาดซื้อขายหุ้นตัวนี้กันที่ราคาเท่าไหร่บ้าง

ข้อมูลนี้มักจะถูกนำคิดแบบไวๆ ว่าเราได้เปรียบ หรือ เสียเปรียบของการซื้อขายของเราในวัน

แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเท่านั้นนะ ต้องดูปัจจัยพื้นฐาน หรือ แนวโน้มราคาประกอบไปด้วย

1.3. กระดานราคาซื้อขาย Bid Offer 

ถ้าเราอยากเห็นแรงซื้อ-ขายในวัน เราสามารถดูจำนวน Bid และ Offer ได้ 

Bid offer เป็นเหมือนกับข้อมูลที่เราใช้วัดความ อยากซื้อ (Demand) และ อยากขาย (Supply) ได้

ถ้ามี Bid มากๆ จะเกิดเป็นความคิดในตลาดว่ามีคนรอซื้ออยู่มาก แต่ถ้ามี Offer มากๆ อาจทำให้เราท้อใจได้ว่าซื้อเท่าไหร่ก็มีแรงขายกดอยู่ตลอดเวลาแทน มีผลกับอารมณ์และความคิดของนักลงทุนในตลาด

1.4. กระดานยอดซื้อขายย้อนหลัง Ticker 

ดูรายการซื้อขายย้อนหลังภายใน 1 วัน อ่านแรงซื้อ-ขายของตลาดได้ที่ส่วนนี้ ถ้าเราเห็นอยู่ๆ มียอดคนซื้อจำนวนมากๆ โผล่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินหาโอกาสเก็งกำไรได้

 ข้อมูลเหล่านี้เราไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่างนะครับ เลือกใช้เฉพาะสิ่งที่เราเข้าใจและถนัดเท่านั้นก็เพียงพอครับ

2. หน้า Technical

 หน้า Technical  คือ หน้าที่เราเริ่มใช้ตัดสินใจวางแผนการซื้อขายจริงๆ โดยเราจะตัดสินใจจากปัจจัยทางเทคนิคหรือราคาและปริมาณซื้อขายเป็นหลัก มีข้อมูลช่วยการตัดสินใจเรา 4 ส่วน คือ 

2.1. Tradingview Chart หรือกราฟราคา 

ส่วนแรกและส่วนที่สำคัญมากสำหรับนักเก็งกำไร คือ กราฟราคา

กราฟราคา คือ ข้อมูลราคาและโวลุ่ม ช่วยบอกอาการ ความรู้สึกของคนในตลาดได้ กราฟที่อยู่บน Liberator for PC จะเป็นกราฟจาก Tradingview ที่ใช้งานง่าย อินดิเคเตอร์เพียบ เราสามารถเข้าไปตั้งค่าอินดิเคเตอร์ต่างๆ วางแผนหาแนวรับ แนวต้าน กรอบราคาที่น่าสนใจ หรือแม้กระทั่งการนับคลื่น การใช้ Harmonic Pattern ทั้งหมดนี้เราทำได้บนกราฟนี้หมดเลย 

 หากรู้สึกว่ากราฟจากหน้านี้มันเล็กเกินไป เราเข้าไปที่แถบคำว่า Graph ด้านบนแทนได้ครับ

2.2. Watchlist หรือ รายชื่อหุ้นที่เราสนใจ

เมื่อเรามี กราฟราคา ที่ใส่เครื่องมือต่างๆ ไว้พร้อมใช้งานแล้ว Liberator ทำให้มันง่ายขึ้นไปอีกด้วยการใส่หน้า Watchlist มาอยู่ข้างๆ กัน ทำให้เมื่อเราคลิกชื่อหุ้นใน รายชื่อหุ้นที่เราสนใจแล้ว เราจะเห็นกราฟราคาของแต่ละตัวได้อย่างรวดเร็วทันที (ไม่ต้องพิมพ์ชื่อใหม่ทุกครั้งเหมือนแอปอื่น) 

 แค่คลิกชื่อหุ้นจาก Watchlist กราฟก็ขึ้นเลย ใช้เวลาน้อยลงแบบนี้ ตัดสินใจได้ไวขึ้น ดีขึ้น ยอดเยี่ยม

2.3. กระดาน Bid Offer ของหุ้นที่สนใจ 

นอกจาก กราฟราคา เรามองให้ลึกถึงเจตนาความอยากซื้อ อยากขายเพิ่มเติมจาก Bid Offer ได้ ในหน้านี้จะแสดง Bid Offer ของหุ้น 1 ตัวที่เราเลือกทั้ง 10 แถว เหมาะกับนักลงทุนที่ชช่างสังเกต มีเวลาเฝ้าจอและวิเคราะห์นิสัยของหุ้นตัวนั้นเชิงลึก นี่อาจเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อนักลงทุนบางกลุ่มได้เลย 

 

2.4. หน้า Ticker ดูรายการซื้อขายแบบทันทีทันใด

เมื่อมี BId Offer หรือลักษณะการวางคำสั่งซื้อ-ขายในตลาดแล้ว ถ้าจะให้วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวระยะสั้นได้คมมากขึ้น เราต้องดูประกอบกับ Ticker หรือรายการซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงในตลาดไปแล้วด้วย ถ้าหุ้นที่เรากำลังเล็งอยู่น่าสนใจเราอาจเห็นการซื้อขายจำนวนมากจากฝั่ง Ticker ได้

 สรุปแล้วในส่วนนี้เรามีให้ทั้งกราฟราคา รายชื่อหุ้น กระดาน BId offer และกระดาน Ticker 

ไม่ว่าจะวิเคราะห์แนวโน้มกราฟระยะยาว, การวิเคราะห์แรงซื้อขายระยะสั้น เรามีให้หมด แถมสะดวกมากๆ ด้วยนะ 

 

3. หน้า Historical Data

ถ้าการมองกราฟราคาเราจะเห็นภาพกว้างๆ ของราคาและปริมาณซื้อขาย ทำให้เราพอจะมองออกได้ว่าแนวโน้มรวมๆ หรือปริมาณซื้อขายรวมๆ มันเพิ่มขึ้นหรือลดลง มีมากหรือมีน้อย แต่ถ้าเราอยากได้รายละเอียดที่มากขึ้น หน้านี้มีคำตอบ

 

หน้านี้จะเป็นตารางบอกข้อมูลรายละเอียดว่าในแต่ละวัน มีราคาเป็นอย่างไร ราคาขึ้นหรือลงไปเท่าไหร่จากวันก่อนหน้า มี %Yield เท่าไหร่ และมีปริมาณการซื้อขายเท่าไหร่บ้าง หน้านี้จะเป็นตัวเลขเน้นๆ เลย เหมาะมากสำหรับคนที่อยากดูรายละเอียดครับ

 

วิเคราะห์งบย่อ ดูปันผล ประเมินพื้นฐานได้ง่ายบน Liberator For PC

จุดเด่นมากๆ ของ Liberator for PC ทั้ง 3 เรื่อง คือ ความยืดหยุ่นจาก Workspace, กราฟราคาจาก Tradingview, และการดูงบ ดูพื้นฐาน งบย่อบน Liberator for PC 

 ทำให้เวลาเราอยากจะเช็คว่าหุ้นตัวนี้ที่เราสนใจ พื้นฐานโอเคไหม สามารถกดหน้า Quote แล้วเลือกหัวข้อต่อไปนี้เพื่อดูงบได้เลย

4. หน้า Financials 

ดูงบภาพรวมแบบเร็วๆ แสดงผลเป็นกราฟมาให้แล้วได้ง่ายมากๆ บน ปุ่ม Financials ซึ่งเราเลือกดูงบได้ 2 แบบ คือ Annual (1 แท่งเท่ากับระยะเวลา 1 ปี)  และ Quarter (1 แท่งระยะเวลา 3 เดือนหรือ 1 ไตรมาส) 

 

ส่วนประกอบของหน้านี้มี 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

4.1. ปุ่มเปลี่ยนระยะเวลาแสดงผลงบการเงิน (Annual / Quarter) 

ถ้าเราเป็นนักลงทุนระยะยาว อยากเห็นภาพผลประกอบการย้อนหลังหลายๆ ปี ดูว่าเขาสม่ำเสมอไหม เติบโตไหมในระยะยาว

ให้เลือกปุ่มแสดงผลเป็น Annual เพื่อมองแนวโน้มงบการเงินย้อนหลัง 5 ปีซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ก่อนตามลงไปศึกษาต่อในแต่ละปีว่าผลประกอบการเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เขาแก้ปัญหาอย่างไร 

 

ถ้าเราเป็นนักลงทุนระยะสั้น ถือหุ้นไม่ถึงปี ต้องการมองหาแรงส่ง การเติบโตระยะสั้น

ให้เลือกเป็น Quarter เพื่อดูงบรายไตรมาส ดูว่าระยะสั้นบริษัททำผลงานได้ตามที่คาดไว้หรือไม่ มีอะไรน่ากังวลในงบระยะสั้นหรือเปล่า 

Liberator PC ทำให้เราเห็นภาพพื้นฐานของบริษัทแบบคร่าวๆ ได้ก่อน ช่วยเช็คสุขภาพไวๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ-ขายหุ้นได้

 

4.2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement)

งบที่สรุปรายได้และรายจ่ายของบริษัทในช่วงเวลาที่เราเลือก บริษัทฯ ที่แข็งแกร่ง ควรมีรายได้ กำไรสุทธิที่เติบโตขึ้น หรือหากรายได้ลดลงก็ควรลดลงช้ากว่าคู่แข่ง

วิธีดูง่ายๆ ว่าหุ้นตัวนี้สุขภาพดีหรือไม่ให้ดูจากกราฟแท่งสีฟ้า (รายได้) กราฟแท่งสีส้ม (กำไรสุทธิ) และเส้นสีม่วง (% อัตรากำไรสุทธิ) มันควรจะเติบโตขึ้น

กราฟแรกนี้ยิ่งแนวโน้มรายได้ กำไร เติบโตขึ้น แปลว่ากิจการกำลังเติบโต นักลงทุนกำลังพร้อมจะซื้อหุ้นตัวนี้แม้ราคาจะแพง

 

4.3. งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement)

งบการเงินที่สรุปว่าธุรกิจของบริษัทฯ มีเงินสดเข้าและออกสรุปแล้วเท่าไหร่ นี่คืองบที่สำคัญมากในการตรวจสอบว่ากำไรที่บริษัทบอกเป็นกำไรจริงๆ จากการทำธุรกิจไหม ได้เงินสดเข้ามาหรือเปล่า หรือเป็นกำไรทางบัญชี 

วิธีใช้งานง่ายๆ คือ เส้นสีน้ำเงิน ควรมากกว่า 0 (ทำธุรกิจแล้วได้เงินสดเข้ามากกว่าเงินสดออก) ส่วนอีก 2 เส้นต้องดูกันเป็นกรณีๆ ไปครับ 

 

4.4. งบดุล (Balance Sheet) 

งบดุล หรือ งบแสดงฐานะการเงิน คือ งบที่บอกว่าบริษัทฯ นี้มีอะไรอยู่ในบริษัทบ้าง มีสินทรัพย์เท่าไหร่ กู้เงินมาเท่าไหร่ และออกเป็นหุ้นอยู่เท่าไหร่ ข้อมูลสำคัญจากหน้านี้คือการดูว่าบริษัทนี้มีการเงินแข็งแรงไหม รายละเอียดตัวนี้เราดูได้แค่คร่าวๆ เท่านั้น

 

4.5. ตารางสรุปสินทรัพย์และหนี้สินงบการเงิน

หากดูกราฟแท่งแล้วมันวิเคราะห์ยาก Liberator for PC มีสรุปเป็นตัวเลขและตารางให้ดูเหมือนกัน 

 เวลาดูงบการเงินลึกๆ ต้องไปอ่านลักษณะธุรกิจแล้วเจาะงบการเงินกันอีกทีนะครับ ถ้าอยากดูไวๆ ในหน้าต่อไปมีรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับคนที่อ่านไฮไลท์ของงบการเงินแบบย่อไว้ให้ด้วย

 

5. หน้า Statistics

ถ้าการมองกราฟิกสรุปงบการเงินคิดว่ามันบอกอะไรยาก อยากเห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น

 Liberator for PC จัดให้ ยกงบย่อมาให้อ่านได้ไวๆ บนนี้ที่เดียวจบ สามารถดูได้ทั้ง 3 ส่วนหลักเลย 

 

5.1. บัญชีทางการเงินที่สำคัญ

อยากดูว่าบริษัทฯ นี้มีสินทรัพย์ รายได้ หนี้สิน กำไร และตัวเลขสำคัญเกี่ยวกับผลประกอบการทั้งหมดเป็นอย่างไร เติบโตไหม มีปัญหาอะไรในภาพใหญ่หรือเปล่า เราดูได้ในตารางนี้ โดยถ้าเราเลื่อนไปทางขวาของหน้าจอ เราจะดูตารางไตรมาสล่าสุดได้

 

5.2. อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ

ส่วนนี้จะสรุปอัตราส่วนทางการเงินไว้ให้ ได้แก่ 

ROA (%): Return on Asset = สินทรัพย์ที่มีสร้างผลตอบแทนได้เท่าไหร่ ใช้ของที่มีในบริษัทฯ ได้คุ้มค่าไหม

ROE (%): Return on Equity = กำไรสุทธิที่ได้คิดเป็นกี่ % ของเงินลงทุน

NPM (%): อัตรากำไรสุทธิ = กำไรสุทธิที่ทำได้คิดเป็นกี่ % ของรายได้รวม

D/E (เท่า): อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน = หนี้สินที่บริษัทฯ มีคิดเป็นกี่เท่าของเงินลงทุน ตัวเลขนี้ถ้าสูงมากๆ แปลว่าบริษัทฯ กู้เงินมาก มีความเสี่ยงสูง เมื่อมีหนี้สินมากกว่าบริษัทฯ อื่นๆ หรือมากกว่าในอดีตอาจเป็นสัญญาณอันตรายเตือนให้ระวังความมั่นคงปลอดภัยของบริษัทฯ นี้

รายละเอียดว่าดูอย่างไร ตีความอย่างไร สนใจมาเรียนด้วยกันได้ใน LIB Stock 101 เลย ลงทะเบียนที่นี่ 

5.3. ค่าสถิติสำคัญ

หุ้นนี้แพงหรือยัง มีมูลค่าตลาดเท่าไหร่ เราดูได้จากในส่วนนี้ครับ (แต่เราต้องไปเทียบกับคู่แข่งเขาอีกทีด้วยนะ) ได้แก่

P/E, P/BV, อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (%) และ EPS (ดูคำอธิบายได้ในข้อ 1.1. ครับ)

 

6. หน้า Rights & Benefits

ดูเงินปันผลย้อนหลังบน Liberator for PC ก็ทำได้ ด้วยปุ่ม Rights & Benefits 

ในหน้านี้แอปจะรวบรวมประวัติการจ่ายปันผล, ประวัติการเรียกประชุม และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ครบเลย 

 

XD หมายถึง Dividend ซึ่งอาจเป็นเงินปันผลหรือหุ้นปันผลก็ได้ 

อยากหาหุ้นปันผลดีๆ ถือง่ายๆ ถือนานๆ ต้องมาดูที่หน้านี้เลย ดูว่าเขามีความสม่ำเสมอแค่ไหน ดูประกอบกับงบการเงินจะช่วยได้มาก

XR หมายถึง Rights คือ บริษัทฯ ตัดสินใจเพิ่มทุนแบบ Rights Offering หรือขาย สิทธิ์ในการซื้อหุ้นแม่ เป็นวิธีการระดมทุนเพิ่มแบบหนึ่งซึ่งอาจเป็นโอกาสของนักเก็งกำไร

XM หมายถึง Meeting คือ บริษัทฯ เคยมีประวัติเรียกประชุมผู้ถือหุ้นวันไหนมาแล้วบ้าง 

 ถ้าอยากดูว่าบริษัทฯ นี้จ่ายปันผลดีไหม แค่เน้นดูที่ XD บน Liberator for PC ในแท็บนี้ก็เพียงพอแล้ว 

7. หน้า Shareholders 

ถ้าอยากรู้ว่าบริษัทฯ นี้มีผู้ถือหุ้นใหญ่มีใครบ้าง เขาถือหุ้นอยู่สัดส่วนเท่าไหร่ และมีนักลงทุนอื่นๆ ถือหุ้นนี้อยู่เท่าไหร่ เราดูได้ในหน้า Shareholders นี้ได้เลย ไม้ตายเด็ดบน Liberator for PC คือ การที่เราสามารถดูย้อนหลังบนแอปได้เลย ผู้ถือหุ้นใหญ่คนไหนขายออก-ซื้อเพิ่ม โดยเลือกปุ่มคำว่า As of ได้เลย 

 ยังมีไม้ตายเด็ดอีกมากรอคุณสำรวจบน Liberator for PC 

สรุปแล้วถ้าจะซื้อหุ้นสักตัวหนึ่ง เราใช้ Liberator for PC หน้า Quote ช่วยอะไรเราได้บ้าง?

  1. นักเก็งกำไรระยะสั้น เน้นใช้หน้า Realtime, Technical, Historical เพื่อวิเคราะห์แรงซื้อทางเทคนิค
  2. นักลงทุนระยะยาว เน้นใช้หน้า Financial, Statistics, Rights & Benefit, Shareholders 

 ยังมีไม้ตายเด็ดซ่อนอยู่ในนี้อีกมากรอให้เรามาค้นพบ ตั้งค่า สร้างเป็นหน้าเทรดของเราเองบน Liberator for PC อยู่

 

8. หน้า Quote - Odd Lot

ฟีเจอร์สุดท้ายของหน้า Quote คือ กระดาน Odd Lot หรือกระดานซื้อขายเศษหุ้น ปกติเวลาจะซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย หุ้นส่วนใหญ่จะมีขั้นต่ำที่ต้องซื้อคือ 100 หุ้น แต่ถ้าเราอยากซื้อหุ้นน้อยๆ แบบน้อยกว่า 100 หุ้น หรือได้เศษหุ้นมาจากปันผล สิทธิประโยชน์อื่นๆ แล้วต้องการขาย เรามาซื้อขายได้บนกระดาน Odd Lot ที่นี่เลย

 **เนื่องจากมีคนซื้อขายจำนวนไม่มาก ราคาบนกระดาน Odd Lot อาจจะสูงกว่า / ต่ำกว่า ราคาในกระดานราคาปกติ (Board Lot) ได้ครับ  

 

นอกจากหน้า Quote แล้ว Liberator for PC ยังมีจุดเด่นอีก 2 เรื่องหลักๆ ได้แก่

  1. กราฟราคาจาก Tradingview
  2. การออกแบบหน้าเทรดและข้อมูลเพื่อเราเองด้วยฟีเจอร์ Workspace 

เปิดบัญชี Liberator - เริ่มต้นประหยัดค่าคอมง่ายๆ วันนี้ เปิดบัญชี Liberator ที่นี่ ฟรีค่าคอม 1 เดือน