ภาษีลงทุนหุ้นอเมริกา: ง่ายกว่าที่คิด จ่ายนิดเดียว เพื่อโอกาสเติบโตที่ดีกว่า
ลงทุนหุ้นอเมริกากันมั้ยค้าบ ลงทุนกับหุ้นผู้นำคลื่นยุคใหม่ ยุคแห่ง AI กับ Liberator ลงทุนง่ายมากเลยนะ โอกาสเติบโตเพียบ
อ๋อ ไม่ครับ กำไรหุ้นที่อเมริกามันเสียภาษี
ถ้าเรากำลังลังเลใจกับโอกาสลงทุนในหุ้นอเมริกาเพราะกังวลเรื่องภาษีลงทุนต่างประเทศอยู่ บอกได้เลยว่าเรื่องนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ข้อกำหนดต่างๆ ที่เราอาจจะเคยได้ยินว่าลงทุนหุ้นอเมริกามันเป็นเรื่องใหญ่
หลังจากที่แอดมินไปศึกษามาให้จากทั้งข้อกำหนดภาษีในไทยและอเมริกา สรุปได้ว่าจริงๆ แล้ว ภาษีลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะ ลงทุนหุ้นอเมริกากับ Liberator ไม่ได้ยากและซับซ้อนเลย
.
ภาษีจากการลงทุนหุ้นอเมริกา มีอะไรบ้าง
ภาษี เปรียบเหมือนกับ ค่าธรรมเนียมที่เราต้องจ่ายให้รัฐบาลเมื่อเราสร้างรายได้จากในประเทศนั้นขึ้นมาได้ รัฐบาลเขาเชื่อว่าเพราะรัฐบาลต้องลงเงินสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไว้ให้ เราจึงทำรายได้ได้ไงล่ะ
ดังนั้น เมื่อพูดถึงการลงทุนหุ้นอเมริกา เราจะเกิดเงินได้ 2 ที่ คือ
- รายได้ที่สหรัฐอเมริกาจากกำไรเมื่อขายหุ้น หรือได้รับเงิน
- รายได้ที่ไทย (เมื่อถอนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเงินไทยบาท – แปลว่าถ้าไม่ถอนเงินยังไม่นับเป็นรายได้)
สำหรับที่อเมริกาเราจะมีภาษี 2 ส่วน คือ ภาษีจากการขายหุ้นแล้วได้กำไร (Capital Gain tax) และ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผล (Withholding Tax) มาดูกันทีละส่วนครับ
ภาษี Capital Gain Tax ในอเมริกา คนไทยไม่ต้องเสีย
อ้างอิงจาก IRS (กรมสรรพากรของสหรัฐอเมริกา) ถ้าเรามีกำไรสุทธิจากการขายหุ้น (Capital gain) ไม่ว่าจะถือหุ้นนั้นสั้นๆ (น้อยกว่า 1 ปี) หรือถือยาว (นานกว่า 1 ปี) ตราบใดที่เราไม่ได้ไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาเกิน 183 วันใน 1 ปี เราจะไม่ต้องเสียภาษี Capital Gain tax
(ในบทบัญญติของอเมริกา IRS จะเรียกชาวต่างชาติที่มีรายได้เกิดขึ้นในอเมริกาว่า NRA หรือ Non Resident alien)
ภาษี Dividend Withholding Tax ถูกหักไปก่อน แต่มี Liberator ช่วยเหลือ
สำหรับเงินปันผลจากบริษัทในอเมริกา โดยปกติเราจะถูกหักภาษี 30% จากเงินปันผล แต่เพราะทาง Liberator ได้ยื่นแบบฟอร์ม W-8BEN ซึ่งปกติมีค่าใช้จ่าย 2,000 บาท ต้องส่งทุกๆ 3 ปี แทนลูกค้าให้ฟรี ช่วยยืนยันว่าคนที่รับเงินปันผลก้อนนี้ไม่ใช่คนในประเทศอเมริกา ทำให้เราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายสูงสุด 15% ของเงินปันผลเท่านั้น (บางบริษัทอาจหักน้อยกว่านี้ ถ้าทางบริษัทได้สิทธิ BOI ลงทุนตามที่รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุน)
ดังนั้น สรุปสั้นๆ นักลงทุนในไทยที่ไปลงทุนอเมริกาไม่เสียภาษีจากการขายหุ้น (Capital Gain Tax) และ ทาง Liberator ช่วยยื่นแบบฟอร์มยืนยันตัวตนให้เรียบร้อยแล้วจึงจะเสียเฉพาะภาษีจากเงินปันผลในอัตราสูงสุด 15% เท่าานั้น
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณอาร์ท เข้าไปลงทุนในหุ้น $MSFT (Microsoft) ที่อเมริกาผ่าน Liberator
- เข้าซื้อตอนราคา $398 จำนวน 10 หุ้น (คิดเป็นเงิน $3,980 หรือเงินไทยประมาณ 145,000 บาท)
- ได้รับเงินปันผลมาแล้ว 2 ครั้ง รวม $1.5 ต่อหุ้น รวมเป็น $15 หรือเงินไทยประมาณ 500 บาท
- ขายหุ้นทั้งหมดไปแล้วที่ราคา $420 (คิดเป็นเงิน $4,200 หรือเงินไทยประมาณ 153,300 บาท)
- คุณอาร์ท ได้กำไรจากการขายหุ้นและปันผลทั้งหมด 4200 - 3980 + 15 = $235
- แต่เพราะคุณอาร์ทไม่ต้องเสียภาษีจากกำไรตอนขายหุ้น คิดเฉพาะภาษีของเงินปันผล คุณอาร์ทจะถูกคิดภาษีที่สหรัฐอเมริกาแค่ $2.25 หรือ ประมาณ 80 บาท เท่านั้น (น้อยมาก! ไม่ถึง 1% ของกำไรทั้งหมด)
.
ภาษีเงินได้ในประเทศไทย เกิดตอนไหน? ต้องเตรียมอะไรบ้าง
เงื่อนไขที่เราจะเริ่มโดนคิดภาษีในตำราบอกว่า ต้องยื่นภาษีทันทีเมื่อเกิดเงินได้ ซึ่งอาจหมายถึงตั้งแต่วันที่ขายเลยก็ได้ เพราะเราเกิดรายได้แล้ว แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กำไรในพอร์ตนั้นยังไม่ได้ถูก นำเข้ามาในไทย ก็อาจยังไม่ถูกมองเป็น เงินได้จากการลงทุนในต่างประเทศ
เพราะในไทยจะมองว่า เงินได้จากการลงทุนต่างประเทศ ต้องถูกนำมาคิดเป็นรายได้พึงประเมิน (Taxable income หรือ รายได้ที่หักค่าใช้จ่าย หักสิทธิลดหย่อนหมดแล้ว) ตามฐานรายได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับรายได้ในประเทศไทยด้วย
ข้อมูล ณ ปัจจุบัน (เดือน พ.ค. 2567) ซึ่งยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีดังกล่าวครั้ง มีโอกาสที่ทางสรรพากรจะประเมินเงินได้จากการลงทุนต่างประเทศ เราได้ 3 วิธี คือ
(1) คิด กำไรจากการลงทุนต่างประเทศ จากยอดซื้อขายสุทธิในบัญชี เช่น รายงานสถิติย้อนหลังทุกคำสั่งซื้อขาย 1 ปีว่า
- มียอดซื้อสะสม $150,000
- มียอดขายสะสม $180,000
- ประเมินว่ามีกำไร $30,000 ในปีภาษีนั้น
(2) คิด กำไรจากการลงทุนต่างประเทศ จากรวบรวมกำไรขาดทุนจากทุกคำสั่งซื้อขายมารวมกัน เช่น มีการซื้อขาย 3 ไม้ใน 1 ปี
- ไม้แรกกำไร $2,000
- ไม้ที่สองกำไร $5,000
- ไม้ที่สามขาดทุน $1,000 คิดรวมแล้วกำไรสุทธิ $6,000
(3) คิด กำไรจากการลงทุนต่างประเทศ จากยอดฝากถอนสุทธิ โดยนักลงทุนต้องมีหลักฐานประกอบว่าต้นทุนทั้งหมดที่เริ่มลงทุนเป็นเงินไทยกี่บาท เช่น
- คุณอาร์ม ฝากเงินเข้าบัญชีลงทุนหุ้นอเมริกาในปีนี้ $90,000
- สมมติว่าคุณอาร์มมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง ทำกำไรได้ปีละ $9,000 (ปีละ 10%)
- คุณอาร์มทยอยถอนเงินลงทุนกลับสู่ประเทศไทยปีละ $9,000 จะใช้เวลาถึง 10 ปี กว่าจะเริ่มถูกรับรู้ว่าเป็นกำไรจากเงินลงทุน
ทั้ง 3 วิธีนี้ นักลงทุนไม่ต้องกังวลเลย เพราะถ้าถูกเรียกตรวจสอบขึ้นมาจริงๆ ลูกค้านำรายงานการซื้อขายประจำเดือน (Monthly Statement) ไปใช้เปิดเผยได้ มีแจ้งครบทุกรูปแบบ
ในทางปฏิบัติเงินได้ในประเทศไทยจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขายหุ้นต่างประเทศทำกำไรและนำเงินกลับเข้ามาในประเทศเท่านั้น
ถึงจุดนี้แอดมินอยากให้เรามองว่า ภาษีในไทยจะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเรามีกำไรจากเงินลงทุนแล้ว
แอดมินคิดว่าเรื่องภาษีไม่ใช่เรื่องที่ควรกังวลในวันที่เริ่มต้นลงทุนครับ แต่ควรมากังวลในวันที่เรามีกำไรอย่างยั่งยืน (ซึ่งอาจใช้เวลา) และต้องการถอนเงินลงทุนที่ต่างประเทศกลับเข้ามาในไทยแล้ว
เราสามารถศึกษาแนวทางการลงทุนหุ้นต่างประเทศได้ง่ายๆ ที่ Liberator Academy เลยจ้า (สมาชิก LIBFAM มีคอร์สพิเศษเฉพาะหุ้นอเมริกาอย่างน้อย 2 คอร์สแล้วนะ)
ถ้าเรามีรายได้รวมในไทย น้อยกว่า 26,583 บาทต่อเดือน เราจะเสียภาษีแค่ 0% ถอนเงินกำไรจากพอร์ตได้สบาย
ถ้าเรามีรายได้เกินกว่านั้นจะเริ่มโดนคิดภาษีตามอัตราในตาราง ซึ่งอาจเสียภาษีสูงสุด 35% (นับเฉพาะรายได้ส่วนที่เกิน 5,000,000 บาทต่อปี)
สรุปสั้นๆ ณ ตอนนี้คือ ภาษีที่เราต้องจ่ายจริงๆ เวลาไปลงทุนหุ้นอเมริกา คือ ภาษีเงินปันผลที่อเมริกา และ ภาษีเงินได้เมื่อนำเงินกลับเข้ามาในไทย เท่านั้น
สิทธิที่เราทำได้เพื่อประหยัดภาษีจากการลงทุนหุ้นต่างประเทศ
แล้วเราทำอะไรได้บ้างถ้าต้องการประหยัดภาษี? (ดูวิธีจัดการการเงินส่วนบุคคลเพื่อลดภาษีที่นี่)
ทางเลือกที่เราสามารถทำได้เมื่อเราลงทุนในต่างประเทศในปัจจุบัน มี 2 วิธี
1. เราวางแผนการถอนเงินกำไรจากการลงทุนต่างประเทศ ให้ไม่กระทบฐานภาษีของเรา ถอนทีละช้าๆ ใช้สิทธิที่เรามีให้เต็มที่ ในช่วงที่เรากำลังถอนเงินกำไรจากการลงทุน น้อยกว่า เงินต้นที่เราฝากเข้าไป จะยังไม่นับว่าเป็นกำไรจากการลงทุนอยู่ (เราสามารถชี้แจงได้ว่าคือการถอนเงินต้นที่ใช้ลงทุน)
วิธีนี้อาจทำให้เราใช้เวลานานกว่าจะได้ถอนเงินกำไรออกมาทั้งหมด แบบไม่ให้กระทบฐานภาษี
2. วางแผนไว้เป็นการลงทุนระยะยาว ถือว่ากระจายความเสี่ยงสินทรัพย์ของเราให้ออกไปอยู่ในต่างประเทศไปเลย เพราะการลงทุนหุ้นอเมริกากับ Liberator นักลงทุนจะมีชื่อเป็นเจ้าของหุ้นนั้นโดยตรง เงินปันผลเข้าที่ชื่อนักลงทุนเอง
พันธมิตรของ Liberator ที่ช่วยทำให้นักลงทุนไทยไปลงทุนที่อเมริกาได้เป็นสมาชิกขององค์กรในสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า SIPC (The Securities Investor protection) ซึ่งคุ้มครองหลักทรัพย์และเงินทุนสูงสุด 500,000$ ต่อคน จึงมั่นใจได้ว่าในภาวะที่เลวร้ายที่สุด สินทรัพย์ของเราจะยังคงปลอดภัยที่ต่างประเทศครับ
ในทางปฏิบัติแล้ว ถ้าเราต้องการถอนกำไรจำนวนมากๆ มันจะมีวิธีทำที่ประหยัดภาษีมากกว่านี้ รอติดตามประกาศบริการแบบนี้เพิ่มเติมจาก Liberator ในอนาคตได้เลย
_________
เปิดพอร์ตใหม่ เทรดฟรี ไม่มีค่าคอม 1 เดือน : คลิกเพื่อเปิดเลย ง่ายๆ
เทรดหุ้น US กับ Liberator : ต้องรู้อะไรบ้าง ? คลิกเลย