วิธีจัดพอร์ตกองทุน SSF ลดหย่อนภาษี ขาย SSF ไม่ผิดเงื่อนไข
 
แนะนำจัดพอร์ตกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีระยะยาวใต้บลจ.เดียวกัน
ปรับพอร์ตได้ง่าย ลงทุนสบายใจอย่างน้อย 10 ปี
 
เนื้อหา โดยเพจ เด็กการเงิน (DekFinance) 
เรียบเรียงและออกแบบรูปภาพโดย Liberator Securities 
 
เริ่มต้นซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้แล้ววันนี้บนแอป Liberator ดาวน์โหลดแอปแล้วเปิดบัญชีที่นี่
 

ซื้อกองทุน SSF ขายทำกำไรได้ไม่ผิดเงื่อนไข ทำอย่างไร

ในบทความนี้ เด็กการเงิน และ Liberator จะแนะนำวิธีซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีแบบทำตามได้เลย ขายได้แบบไม่ผิดเงื่อนไขด้วย
 
คำตอบ คือ เราต้องจัดพอร์ตลงทุนระยะยาวตามเงื่อนไขของกองทุน SSF ซึ่งต้องถืออย่างน้อย 10 ปี (อ่านเงื่อนไขกองลดหย่อนภาษีอื่นๆ ที่นี่
 
การจัดพอร์ตกองทุนใน บลจ. เดียวกัน ทำให้เราจัดพอร์ตลงทุน โดยที่เราปรับพอร์ตระหว่างทาง ปรับสัดส่วนการลงทุนให้อยู่ในจุดที่เหมาะสมได้ เราเรียกกลยุทธ์แบบนี้ว่าการปรับสัดส่วนของพอร์ตให้เหมาะสม (หรือ Rebalance)
 
ประโยชน์ของวิธีแบบนี้จะทำให้
1. กองทุนที่เราเลือก ราคาขึ้น ขายล็อคกำไรได้
2. กองทุนที่เราเลือก ราคาลง ซื้อเพิ่มได้ ถ้าประเมินแล้วว่ามูลค่าเติบโตได้ในระยะยาว
 
สรุปแล้ว คำตอบ คือ
  1. ให้เราเลือก กองทุน SSF ระยะยาวใน บลจ. เดียวกัน หลายๆ กองมาก่อน
  2. เลือกจัดสัดส่วนซื้อขายให้เหมาะสมตามสถานการณ์ 
  3. เมื่อพอร์ตเติบโตมากขึ้น ให้ปรับสัดส่วนใหม่ให้สมดุลด้วยคำสั่ง สับเปลี่ยน (Switch) หรือขายกองทุนเก่าที่กำไรแล้ว ซื้อกองใหม่ที่ราคาถูกลงใน บลจ. เดียวกัน
 

เริ่มต้นซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี ต้องเตรียมอะไรบ้าง

 
เทคนิคจัดพอร์ตกองทุนรวมด้วย Asset Allocation
 
1. วางโครงสร้างลงทุนระยะยาวด้วยกลยุทธ์ Asset Allocation
 
การจัดพอร์ตที่เราแนะนำ เป็นกลยุทธ์แบบ Asset Allocation หรือการผสมผสานสินทรัพย์เข้าด้วยกันตามหลักกระจายความเสี่ยง
 
กลยุทธ์นี้ คือการที่เราเลือกลงทุนในสินทรัพย์อย่างน้อยสองชนิดที่เคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกัน เช่น หุ้นและตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์อื่นๆร่วมด้วย ทำให้เวลาที่หุ้นลง สินทรัพย์อื่นๆ เช่น ตราสารหนี้จะยังคงช่วยทำผลตอบแทนชดเชยให้เราได้ ไม่เทกระจาดไปพร้อมกันหมด
 
ในที่นี้จะมี กองทุนหุ้น และ กองทุนตราสารหนี้ 
 
หุ้นเป็นสัดส่วนที่มีความอ่อนไหว ผลตอบแทนสามารถขึ้นฟลงตามสภาวะตลาดและสภาวะเศรษฐกิจที่มากระทบ ทำให้มูลค่าหุ้นสามารถขึ้น-ลงได้แรง 
 
อย่างไรก็ตามสินทรัพย์หุ้น เป็นสินทรัพย์ที่มักจะเพิ่มมูลค่าของตัวเองได้ในระยะยาวจากการทำกำไรของกิจการ ดังนั้นแม้ระยะสั้นจะผันผวนขึ้นลงได้แรง ระยะยาวหุ้นจึงมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นได้
 
การที่เราลงทุนในพอร์ตมีสัดส่วนหุ้นมากจึงจะทำให้เรายิ่งมีความเสี่ยงสูง ควรลงทุนด้วยระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นเพื่อให้ก้าวผ่านความผันผวนไปได้
 
 
2. จัดสัดส่วนกองทุน SSF ระยะยาวตามความเสี่ยงที่เรารับได้
 
การจัดแบบ Asset Allocation สามารถแบ่งได้ 3 แบบเป็น Conservative, Moderate และ Aggressive ตามสัดส่วนของหุ้นที่มากขึ้น ผสมกับสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่า เช่น ตราสารหนี้ (Bond) และ ตราสารตลาดเงิน (Money Market หรือ MM) เกิดเป็นพอร์ตที่ช่วยกระจายความเสี่ยง ตัวอย่าง เช่น
 
การจัดพอร์ตแบบ Conservative
จัดพอร์ตให้มีหุ้นแค่ 40% ตราสารหนี้ (เสี่ยงต่ำ) 60%
จัดพอร์ตแบบนี้ทำให้มีความเสี่ยงต่ำ เน้นรักษาเงินต้น มีหุ้นไม่มาก จัดให้มี Bond หรือ MM มากกว่าหุ้น
 
การจัดพอร์ตแบบ Moderate
จัดพอร์ตให้มีหุ้นแค่ 60% ตราสารหนี้ 40%
จัดพอร์ตแบบนี้จะมีความเสี่ยงปานกลาง มีหุ้นและตราสารหนี้ใกล้เคียงกัน 
 
การจัดพอร์ตแบบ Aggressive
จัดพอร์ตให้มีหุ้นสูงประมาณ 80% ตราสารหนี้ 20%
จัดพอร์ตแบบนี้จะมีความเสี่ยงสูง เหมาะกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุน เข้าใจวัฏจักรและ rebalance เป็นแล้ว เน้นทำผลตอบแทนตามรอบเศรษฐกิจ มักจะให้น้ำหนักกับหุ้นซึ่งเติบโตได้ในระยะยาวมากกว่าตราสารหนี้
 
 
3. วางแผนปรับสมดุล (Rebalance) สับเปลี่ยนในระยะยาว
ขายกองทุนไม่ผิดเงื่อนไข ด้วยเทคนิค Rebalance ใน บลจ เดียวกัน
ถ้าเราจะซื้อกองทุนชุดเดียวเลยและถือไปยาวๆ ระหว่างทางอาจจะมีสภาวะการที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะหุ้นหรือตราสารหนี้ก็มีช่วงเวลาที่ขึ้นหรือลง
 
ดังนั้น ถ้าเราอยากจะลดความเสี่ยงตรงนี้ คือ การสลับกอง หรือ Rebalance ปรับสัดส่วนให้เหมาะสมตรงกับเป้าหมายตอนแรก จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้อย่างมั่นใจ
 
การ Rebalance คือการปรับพอร์ตให้เหมาะสม ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
1) ปรับสัดส่วนตามระยะเวลา หรือ
2) ปรับตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ ไม่ให้สัดส่วนใด มากหรือน้อยเกินไปจากความตั้งใจแรก
 
 
Rebalance ทำอย่างไร?
การ rebalance นี่จะสะดวกมากหากลงทุนผ่านกองทุนภายใต้ บลจ. เดียวกัน ใช้คำสั่ง switching ในการปรับสัดส่วนของกอง ซึ่งทำได้แล้วบนแอป Liberator ทำให้การลงทุนของเรานั้นได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีด้วยและยังมีโอกาสเติบโตจนเป็นแหล่งใช้เงินยามเกษียณของเราด้วย
 
ขายกองทุน SSF ไม่ผิดเงื่อนไข
 
ซื้อ-ขายกองทุนลดหย่อนภาษีบนแอป Liberator ทำอย่างไร อ่านได้ที่นี่
 

ซื้อกองทุน SSF ลดหย่อนภาษี ซื้อกองไหนดี?

มาเริ่มจัดพอร์ตลงทุนกองทุน SSF ระยะยาวกันเถอะ! 
ซื้อกองทุน SSF กองไหนก่อน
 
เมื่อเราตั้งเป้าหมายว่าจะสร้างพอร์ตการลงทุน asset allocation ตามความเสี่ยงที่เหมาะสมแล้ว ต่อมาก็ต้องทยอยซื้อกองทุนแต่ละหมวดเข้าพอร์ตทีละกอง โดยเริ่มจาก
 
1.1. กองทุนตราสารหนี้ / กองทุนตลาดเงิน
ส่วนที่มีความเสี่ยงต่ำในพอร์ตของเรา
 
กองทุนตราสารหนี้ จะนำเงินของเราไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชน ความเสี่ยงจะอยู่ที่อัตราดอกเบี้ยและราคาตราสารหนี้ที่มักจะเคลื่อนไหวจำกัดและผันผวนต่ำกว่าตราสารทุน (หุ้น)
 
กองทุนตลาดเงิน เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในเงินฝากของธนาคาร หรือตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ต่ำและให้ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอน
 
1.2. กองทุนตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (DM)
ต่อมาเป็นการเลือกกองทุนหุ้นในพอร์ตของเรา ในการลงทุนผ่านกองทุนหุ้นต่างประเทศ จะมีการกระจายการลงทุนไปทั่วโลก
 
ส่วนที่เราคิดว่าค่อนข้างเติบโตอย่างสม่ำเสมอ คือ กองทุนหุ้นตลาดประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Market, DM) ที่มักจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่
 
บริษัทฯ ในประเทศพัฒนาแล้วมักมีสินค้าและบริการขายไปทั่วโลก กระแสเงินสดดี สม่ำเสมอ มาตรฐานบัญชีที่สูง และอยู่ภายใต้การกำกับของกลต.ที่มีความเข้มงวด เช่น ตลาดหุ้นใน USA, EU และ Japan เป็นต้น หรือเรียกรวมๆว่า Global Equity
 
1.3. กองทุนตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ (EM) / กองทุนเฉพาะธีม (Thematics)
สุดท้าย ตลาดประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Market, EM) เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น ที่เราเห็นแนวโน้มการเติบโตของประเทศได้
 
ตลาด EM มักจะผันผวนมาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ผันผวน จึงควรจัดสัดส่วนให้น้อยกว่า DM
 
2. ตัวอย่างการจัดพอร์ตกองทุนรวมสำหรับลงทุนระยะยาว
วันนี้เราลองจัดพอร์ตของ 4 บลจ. คือ กรุงศรี กรุงไทย เอ็มเอฟซี และทาลิส มาให้ดู ซึ่งมีกองน่าสนใจเพียบ
กองทุน SSF กองไหนดี
 
ทั้งหมดนี้ลงทุนได้ผ่านแอป #Liberator สะดวกมากๆ รวมการลงทุนหุ้นและกองทุนไว้ที่เดียวให้แล้ว กดสวิตช์สับเปลี่ยนก็ทำง่ายมากๆ
เท่านี้เราก็จะได้พอร์ตการลงทุนระยะยาวที่สามารถลงทุนได้อย่างน้อย 10 ปีขึ้นไปแล้ว