วิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค
[ MACD ] จับเทรนด์ และ หาจังหวะซื้อขาย ด้วย Moving Average Convergence Divergence
Technical Indicator 101 #2
ซีรีส์เรียนรู้ไอเดียเบื้องต้นการใช้งาน Technical Indicator
จากไอเดียของโค้ชบาส มือหลักสายกราฟของ Liberator
Technical Indicator 101 #02
MACD : จับเทรนด์ และ หาจังหวะซื้อขาย ด้วย Moving Average Convergence Divergence
MACD เป็นหนึ่งในเครื่องมือยอดฮิต ที่มีให้เลือกใช้ Indicator on chart
บนแอพ Liberator ทั้งบนมือถือ และ Liberator for PC
MACD หรือ Moving Average Convergence Divergence
เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่พัฒนาขึ้นโดย Gerald Appel ในปี ค.ศ. 1970 ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการเทรดหุ้นและตลาดอื่น ๆ ในปัจจุบัน โดยมีจุดเด่นที่หลากหลาย คือ ช่วยในการอ่านโมเมนตัม ทิศทาง และ หาสัญญาณช่วยตัดสินใจ ซื้อ-ขาย
เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่พัฒนาขึ้นโดย Gerald Appel ในปี ค.ศ. 1970 ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการเทรดหุ้นและตลาดอื่น ๆ ในปัจจุบัน โดยมีจุดเด่นที่หลากหลาย คือ ช่วยในการอ่านโมเมนตัม ทิศทาง และ หาสัญญาณช่วยตัดสินใจ ซื้อ-ขาย
ส่วนประกอบของ MACD
ประกอบด้วยสองเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Exponential Moving Average หรือ EMA) ซึ่งเป็นเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นและระยะยาว โดยมักใช้ EMA 12 วันและ EMA 26 วันตามลำดับ
การตัดกันของสองเส้นเหล่านี้ >> สร้างสัญญาณซื้อ-ขายที่สำคัญในการวิเคราะห์ทิศทางของตลาด
สูตรการคำนวณ MACD
MACD Line มาจาก (12-day EMA – 26-day EMA)
Signal Line มาจาก 9-day EMA of MACD Line
MACD Histogram มาจาก MACD Line – Signal Line
สารพัดประโยชน์
[ การตัด 0 ] ใช้เพื่อหาแนวโน้ม
แนวโน้มขาขึ้น เมื่อ เส้น MACD > 0
แนวโน้มเป็นขาลง เมื่อ เส้น MACD < 0
ต่อมาได้มีการเพิ่มเส้น Signal Line เพื่อให้เกิดสัญญาณที่บ่อย และ เร็วขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยสัญญาณ False ที่เพิ่มขึ้นด้วย
[ ใช้หา Divergence ] ใช้เพื่อหาสัญญาณกลับตัว
นอกจากนี้ MACD ยังมีความสามารถในการตรวจสอบ Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการกลับตัวของราคา และสามารถนำไปใช้กับการสร้างกลยุทธ์การเทรดที่หลากหลายอย่าง
การนำมาเทรด
1. ใช้หาสัญญาณราคากลับตัว
Bullish Divergence : ราคาหุ้นยังทำจุดต่ำลง แต่ MACD สูงขึ้น = มีแนวโน้มกลับตัวขึ้น
Bearish Divergence : ราคาหุ้นยกโลว์สูงขึ้น แต่ MACD ต่ำลง = มีแนวโน้มกลับตัวลง
2. ใช้ดูโมเมนตัม
กราฟราคาปรับตัวขึ้น + MACD > 0 = โมเมนตัมอยู่ในเชิงบวก
กราฟราคาปรับตัวลง + MACD > 0 = โมเมนตัมอยู่ในเชิงบวก แต่อ่อนกำลัง
กราฟราคาปรับตัวลง + MACD < 0 = โมเมนตัมอยู่ในเชิงลบ
3. ใช้จับ สัญญาณ ซื้อ-ขาย
Buy Signal : MACD ตัดขึ้นเหนือเส้น Signal
Sell Signal : MACD ตัดลงต่ำกว่าเส้น Signal
โค้ชบาสสรุปให้
สรุปได้ว่า MACD เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในการวิเคราะห์ตลาดและช่วยในการตัดสินใจในการเทรดในหลายๆ สถานการณ์ โดยมีความยืดหยุ่นในการปรับใช้กับสไตล์และตลาดต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของนักเทรดแต่ละคน แต่หลายครั้งก็ยังพบ False Signal ซึ่งหากนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมืออื่นที่นักลงทุนถนัดเพื่อช่วยในการตัดสินใจ จะสามารถช่วยให้หน้าเทรดรัดกุมยิ่งขึ้น
มาดูภาพประกอบพร้อมวิธีการใช้งานเครื่องมือ Zigzag นี้กัน
Series TECHNICAL INDICATOR 101
โค้ชบาสเลือกคัดเอา 20 Indicators มาแนะนำมือใหม่ที่เริ่มสนใจศึกษาการใช้กราฟ เพื่อวางแผนการเทรด และ หาไอเดียไว้ประยุกต์ ต่อยอด และ ปรับใช้ ในการวางแผนการเทรด
วิธีที่ดีที่สุด คือ รู้เอาไว้ให้ครบ แล้วเลือกใช้เฉพาะเครื่องมือที่เราเชื่อว่าจะสอดคล้องกับแนวทางของเรา
นี่คือ ลิสต์ 20 Indicators สนใจตัวไหน คลิกที่ชื่อ Indicators นั้นๆ ได้เลย
01 [ 52 Week High/Low ] เช็คจุดสูงสุด - ต่ำสุด ในรอบปี ก่อนเทรดแบบ Break Out
02 [ MACD ] จับเทรนด์ และ หาจังหวะซื้อขาย ด้วย Moving Average Convergence Divergence
03 [ Bollinger Bands ] เครื่องมือวัดความผันผวนของราคาระหว่างแนวโน้ม
04 [ Stochastic ] หาจุดเข้า-ออก เทรดเก็บรอบระยะสั้น
05 [ Parabolic SAR ] รันเทรนด์เมื่อกราฟเกิดแนวโน้มชัดเจน
06 [ ROC ] Rate of Change วัดโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคา
07 [ ATR ] Average True Range ตามติดความผันผวนของราคา
08 [ Volume Profile Visible Range ] หาแนวรับ-ต้าน ราคาไหนที่มีนัยยะ
09 [ On Balance Volume ] วัดกระแสเงินไหลเข้าไหลออก และ วัดแรงซื้อ-แรงขายในตลาดการลงทุน
10 [ RSI Overbought/Oversold ] เช็คโมเมนตัม และ จุดนัยยะสำคัญของเทรนด์
11 [ Super Trend Indicator ] มองเทรนด์ออกด้วยเส้นเดียว ก่อนเริ่มวางแผนการเทรด
12 [ DMI ] Directional Movement Indicators ตัวช่วยเช็คความแข็งแกร่งของเทรนด์ที่เกิดขึ้น
13 [ Ichimoku Cloud ] ครบในเครื่องมือเดียว หาแนวโน้มหลัก ระบุแนวรับ-แนวต้าน จบที่หาจังหวะซื้อ-ขาย
14 [ Donchain Channels ] เครื่องมือที่เรียบง่ายสำหรับการระบุแนวโน้มใหม่ ๆ และวัดความผันผวนของตลาด
15 [ Keltner Channels ] กรอบการแกว่งตัว ที่ช่วยกำหนดกลยุทธ์การเทรดตามรูปแบบของเทรนด์
16 [ Zigzag Indicator ] เช็คภาพรวมทิศทางการเคลื่อนตัวของราคา
17 [ Chaikin Oscillator ] ตรวจสอบแรงซื้อ - แรงขาย เพื่อต่อยอดการจับจังหวะเทรด
18 [ William %R ] จับจังหวะรอบ Overbought Oversold เพื่อหาจุดกลับตัว
19 [ Aroon Indicator ] ดูการเริ่มต้นของแนวโน้ม หาช่วงแกว่งตัวออกข้าง และ คาดการณ์การกลับตัว
20 [ Commodity Channel Index ] ดูรอบวัฏจักรการแกว่งตัวของราคา เพื่อจับจังหวะในการเทรด