[ RSI ] Overbought/Oversold : เช็คโมเมนตัม และ จุดนัยยะสำคัญของเทรนด์
Technical Indicator 101 #10
RSI Overbought/Oversold : เช็คโมเมนตัม และ จุดนัยยะสำคัญของเทรนด์
🧿หนึ่งในเครื่องมือยอดฮิต ที่มีเลือกใช้ Indicator on chart
บนแอพ Liberator ทั้งบนมือถือ และ Liberator for PC
Relative Strength Index (RSI) เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ไว้วัดโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคา
สามารถบ่งชี้ข้อมูลได้ทั้งการเกิดภาวะ Overbought (ซื้อมากเกินไป) Oversold (ขายมากเกินไป) และการเกิด Divergence การเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมนั้นสามารถสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวของราคาได้ด้วยเช่นเดียวกัน
สูตรการคำนวณ RSI
RSI = 100 – 100/ (1 + RS)
RS = ค่าเฉลี่ยย้อนหลังของ 14 วันที่ขึ้น / ค่าเฉลี่ยย้อนหลังของ 14 วันที่ลง
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
🔹 หลักการพื้นฐาน
ปกติเราจะใช้ค่ามาตรฐานของ RSI อยู่ที่ 14 วัน (สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้)
โดยค่า RSI จะวิ่งอยู่ในช่วง 0 - 100
ถ้า RSI ใกล้ 0 แปลว่าโมเมนตัมอ่อนแอ
แต่ถ้า RSI ใกล้ 100 แปลว่า โมเมนตัมแข็งแกร่ง
Overbought/Oversold
Wilder (ผู้คิดค้น RSI) ได้เชื่อว่า เมื่อโมเมนตัมปรับตัวขึ้นถึงในระดับที่สูงมากเกินไป ชี้ให้เห็นว่าช่วงนั้นมีการซื้อมากจนเกินไป ซึ่งเป็นจังหวะขายที่ดี เพราะราคามีโอกาสปรับตัวลงในอนาคต และในทางตรงกันข้าม หากโมเมนตัมลงถึงในระดับที่ต่ำมากเกินไป ชี้ให้เห็นว่าช่วงนั้นมีการขายมากจนเกินไป ซึ่งเป็นจังหวะซื้อที่ดี เพราะราคามีโอกาสปรับตัวขึ้นในอนาคต
โดย Wilder ได้บอกระดับ Overbought อยู่ที่เหนือค่า 70 และระดับ Oversold อยู่ที่ต่ำว่าค่า 30
RSI > 70 แสดงถึงภาวะ Overbought (ราคามีโอกาสลงในอนาคต)
RSI < 30 แสดงถึงภาวะ Oversold (ราคามีโอกาสขึ้นในอนา่คต)
Divergence
RSI เป็นหนึ่งเครื่องมือที่นักเทคนิคหลายคนใช้ในการดูการเกิด Divergence โดยการเกิด Divergence สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนโมเมนตัมของราคา ทำให้ Divergence เกิดขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนโมเมนตัมของราคา สะท้อนถึงการมีโอกาสกลับตัวเกิดขึ้นในอนาคต
Bullish RSI Divergence : ราคาทำ Low ใหม่ แต่ RSI ยก Low สูงขึ้น
Bearish RSI Divergence : ราคาทำ High ใหม่ แต่ RSI ทำ High ต่ำลง
⚡️Failure Swing : เทคนิคไม่ลับที่มีมาช้านาน...
หลายคนอาจไม่ได้เคยได้ยินการใช้ RSI ในวิธีนี้
แต่ Wilder ได้แสดงการใช้งาน RSI ท่านี้ในหนังสือของเขา โดยเมื่อเกิด Failure Swing ราคาจะมีโอกาสกลับตัวเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะโฟกัสไปที่ RSI ไม่ดูราคา
Bullish Failure Swing
RSI ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 30 (Oversold)
RSI กลับขึ้นเหนือระดับ 30
RSI ทำท่า Pull back แต่ยังเหนือระดับ 30
RSI ทะลุ High ก่อนหน้า
Bearish Failure Swing
RSI ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 70 (Overbought)
RSI กลับลงต่ำกว่าระดับ 70
RSI ทำท่า Pull back แต่ยังต่ำกว่าระดับ 70
RSI หลุด Low ก่อนหน้า
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
🔹 การนำมาใช้งาน
แกนหลัก คือ ทุกสิ่งที่ซื้อและขายได้ มีธรรมชาติคล้ายคลึงกันอย่างนึง คือ มีช่วงที่ “ถูกซื้อ” ก็จะมีช่วงที่ “ถูกขาย” เช่นกัน
📍 RSI ช่วยบอกสัญญาณช่วงที่มีการซื้อ และ ขาย ที่เริ่มมากเกินไปได้
Overbought – ซื้อมากเกินไป (RSI > 70) : คนส่วนใหญ่ได้ซื้อสินทรัพย์ไปแล้ว มีโอกาสเจอแรงขายสูง
Oversold – ขายมากเกินไป (RSI < 30) : คนส่วนใหญ่ได้ขายสินทรัพย์ไปแล้ว แรงขายเบาลง มีโอกาสที่ราคากลับตัว
เราจึงสามารถใช้การตีความจาก Overbought / Oversold เพื่อกะจังหวะวางแผน ซื้อ-ขาย ได้
📍 อีกคุณสมบัติที่ทรงพลังของ RSI คือ แสดงสัญญาณการกลับตัว (Divergence)
Bullish RSI Divergence : ราคาทำ Low ใหม่ แต่ RSI ยก Low สูงขึ้น
โดยหุ้นที่ RSI สร้างสัญญาณรูปแบบนี้มีโอกาสที่ราคากลับตัวขึ้นสูง เราสามารถติดตามอย่างใกล้ชิด
Bearish RSI Divergence : ราคาทำ High ใหม่ แต่ RSI ทำ High ต่ำลง
โดยหุ้นที่ RSI สร้างสัญญาณรูปแบบนี้มีโอกาสที่ราคากลับตัวลง ให้เฝ้าระวัง
🔹 โค้ชบาสสรุปให้
RSI เป็นเครื่องที่โด่งดังมากในวงการ Technical Analysis โดยมีเทรดเดอร์จำนวนมากที่นำไปใช้งานและสร้างกำไรจากการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย RSI เป็นเครื่องมือที่ไว้วัดโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคา ทำให้เราสามารถจับหวะการกลับตัวของราคาได้ดี และยิ่งหากเทรดเดอร์นำไปใช้คู่กับเครื่องมืออื่น หรือ นำไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานได้สูงมากขึ้นอีกด้วย
มาดูภาพประกอบพร้อมวิธีการใช้งานเครื่องมือ นี้กัน
Series TECHNICAL INDICATOR 101
โค้ชบาสเลือกคัดเอา 20 Indicators มาแนะนำมือใหม่ที่เริ่มสนใจศึกษาการใช้กราฟ เพื่อวางแผนการเทรด และ หาไอเดียไว้ประยุกต์ ต่อยอด และ ปรับใช้ ในการวางแผนการเทรด
วิธีที่ดีที่สุด คือ รู้เอาไว้ให้ครบ แล้วเลือกใช้เฉพาะเครื่องมือที่เราเชื่อว่าจะสอดคล้องกับแนวทางของเรา
นี่คือ ลิสต์ 20 Indicators สนใจตัวไหน คลิกที่ชื่อ Indicators นั้นๆ ได้เลย
01 [ 52 Week High/Low ] เช็คจุดสูงสุด - ต่ำสุด ในรอบปี ก่อนเทรดแบบ Break Out
02 [ MACD ] จับเทรนด์ และ หาจังหวะซื้อขาย ด้วย Moving Average Convergence Divergence
03 [ Bollinger Bands ] เครื่องมือวัดความผันผวนของราคาระหว่างแนวโน้ม
04 [ Stochastic ] หาจุดเข้า-ออก เทรดเก็บรอบระยะสั้น
05 [ Parabolic SAR ] รันเทรนด์เมื่อกราฟเกิดแนวโน้มชัดเจน
06 [ ROC ] Rate of Change วัดโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคา
07 [ ATR ] Average True Range ตามติดความผันผวนของราคา
08 [ Volume Profile Visible Range ] หาแนวรับ-ต้าน ราคาไหนที่มีนัยยะ
09 [ On Balance Volume ] วัดกระแสเงินไหลเข้าไหลออก และ วัดแรงซื้อ-แรงขายในตลาดการลงทุน
10 [ RSI Overbought/Oversold ] เช็คโมเมนตัม และ จุดนัยยะสำคัญของเทรนด์
11 [ Super Trend Indicator ] มองเทรนด์ออกด้วยเส้นเดียว ก่อนเริ่มวางแผนการเทรด
12 [ DMI ] Directional Movement Indicators ตัวช่วยเช็คความแข็งแกร่งของเทรนด์ที่เกิดขึ้น
13 [ Ichimoku Cloud ] ครบในเครื่องมือเดียว หาแนวโน้มหลัก ระบุแนวรับ-แนวต้าน จบที่หาจังหวะซื้อ-ขาย
14 [ Donchain Channels ] เครื่องมือที่เรียบง่ายสำหรับการระบุแนวโน้มใหม่ ๆ และวัดความผันผวนของตลาด
15 [ Keltner Channels ] กรอบการแกว่งตัว ที่ช่วยกำหนดกลยุทธ์การเทรดตามรูปแบบของเทรนด์
16 [ Zigzag Indicator ] เช็คภาพรวมทิศทางการเคลื่อนตัวของราคา
17 [ Chaikin Oscillator ] ตรวจสอบแรงซื้อ - แรงขาย เพื่อต่อยอดการจับจังหวะเทรด
18 [ William %R ] จับจังหวะรอบ Overbought Oversold เพื่อหาจุดกลับตัว
19 [ Aroon Indicator ] ดูการเริ่มต้นของแนวโน้ม หาช่วงแกว่งตัวออกข้าง และ คาดการณ์การกลับตัว
20 [ Commodity Channel Index ] ดูรอบวัฏจักรการแกว่งตัวของราคา เพื่อจับจังหวะในการเทรด