[ Ichimoku Cloud ] ครบในเครื่องมือเดียว หาแนวโน้มหลัก ระบุแนวรับ-แนวต้าน จบที่หาจังหวะซื้อ-ขาย
Technical Indicator 101 #13
ส่วนประกอบหลักของ Ichimoku Cloud
Ichimoku Cloud ประกอบไปด้วยเส้นหลัก 5 เส้น:
1. Tenkan-sen (Conversion Line): คำนวณจากค่าเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดในช่วง 9 ช่วงเวลา (ราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด) / 2
ใช้ในการวัดแนวโน้มระยะสั้น
สัญญาณการซื้อ: เมื่อ Tenkan-sen ตัดขึ้นเหนือ Kijun-sen
สัญญาณการขาย: เมื่อ Tenkan-sen ตัดลงใต้ Kijun-sen
2. Kijun-sen (Base Line): คำนวณจากค่าเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดในช่วง 26 ช่วงเวลา
ใช้ในการวัดแนวโน้มระยะกลาง
สัญญาณที่แข็งแกร่งจะเกิดเมื่อราคาตัดเหนือหรือต่ำกว่า Kijun-sen
3. Senkou Span A (Leading Span A): ค่าเฉลี่ยของ Tenkan-sen และ Kijun-sen, คำนวณล่วงหน้า 26 ช่วงเวลา
ใช้เพื่อวัดแนวโน้มและสนับสนุนจุดรับและจุดต้าน
4. Senkou Span B (Leading Span B): คำนวณจากค่าเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดในช่วง 52 ช่วงเวลา และนำไปวางล่วงหน้า 26 ช่วงเวลา
ใช้เพื่อวัดความแข็งแรงของแนวโน้ม
5. Chikou Span (Lagging Span): ราคาปิดของวันนี้ที่เคลื่อนไปข้างหลัง 26 ช่วงเวลา
ใช้เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มในอดีตกับปัจจุบัน
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ข้อดีของ Ichimoku Cloud
1. มองเห็นแนวโน้ม: ช่วยให้มองเห็นแนวโน้มในตลาดได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มขาขึ้น ขาลง หรือ sideway
2. จุดสนับสนุนและแนวต้าน: Senkou Span A และ B ทำหน้าที่เป็นแนวต้านและแนวรับสำคัญ
3. จุดเข้าและออกที่ชัดเจน: เส้น Tenkan-sen และ Kijun-sen ให้สัญญาณการเข้าซื้อขายที่ชัดเจน
4. การประเมินความแข็งแรงของแนวโน้ม: ถ้าราคาอยู่เหนือหรือใต้ "Cloud" แสดงถึงความแข็งแรงของแนวโน้ม
วิธีการใช้งานแบบคร่าวๆ
1. แนวโน้มราคา: หากราคาปัจจุบันอยู่เหนือ Cloud แนวโน้มขาขึ้น แต่ถ้าต่ำกว่า Cloud แนวโน้มขาลง
2. สัญญาณซื้อ-ขาย:
สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อ Tenkan-sen ตัดขึ้นเหนือ Kijun-sen และราคาอยู่เหนือ Cloud
สัญญาณขายจะเกิดเมื่อ Tenkan-sen ตัดลงต่ำกว่า Kijun-sen และราคาอยู่ต่ำกว่า Cloud
3. การใช้ Cloud เป็นแนวรับและแนวต้าน: Cloud สามารถใช้เป็นแนวรับ (Support) และแนวต้าน (Resistance) ในการวิเคราะห์ได้เช่นกัน
สรุป
เนื่องจากสามารถใช้ดูสัญญาณการซื้อ/ขาย จบเพียงเครื่องมือเดียว ด้วยความสามารถที่หลากหลาย
อาทิ ดูเทรน ดูโมเมนตัม ดูความผันผวน ดูแนวรับแนวต้าน ทำให้เครื่องมือนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ด้วยตัวมันเอง
มาดูภาพประกอบพร้อมวิธีการใช้งานเครื่องมือ นี้กัน
Series TECHNICAL INDICATOR 101
โค้ชบาสเลือกคัดเอา 20 Indicators มาแนะนำมือใหม่ที่เริ่มสนใจศึกษาการใช้กราฟ เพื่อวางแผนการเทรด และ หาไอเดียไว้ประยุกต์ ต่อยอด และ ปรับใช้ ในการวางแผนการเทรด
วิธีที่ดีที่สุด คือ รู้เอาไว้ให้ครบ แล้วเลือกใช้เฉพาะเครื่องมือที่เราเชื่อว่าจะสอดคล้องกับแนวทางของเรา
นี่คือ ลิสต์ 20 Indicators สนใจตัวไหน คลิกที่ชื่อ Indicators นั้นๆ ได้เลย
01 [ 52 Week High/Low ] เช็คจุดสูงสุด - ต่ำสุด ในรอบปี ก่อนเทรดแบบ Break Out
02 [ MACD ] จับเทรนด์ และ หาจังหวะซื้อขาย ด้วย Moving Average Convergence Divergence
03 [ Bollinger Bands ] เครื่องมือวัดความผันผวนของราคาระหว่างแนวโน้ม
04 [ Stochastic ] หาจุดเข้า-ออก เทรดเก็บรอบระยะสั้น
05 [ Parabolic SAR ] รันเทรนด์เมื่อกราฟเกิดแนวโน้มชัดเจน
06 [ ROC ] Rate of Change วัดโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคา
07 [ ATR ] Average True Range ตามติดความผันผวนของราคา
08 [ Volume Profile Visible Range ] หาแนวรับ-ต้าน ราคาไหนที่มีนัยยะ
09 [ On Balance Volume ] วัดกระแสเงินไหลเข้าไหลออก และ วัดแรงซื้อ-แรงขายในตลาดการลงทุน
10 [ RSI Overbought/Oversold ] เช็คโมเมนตัม และ จุดนัยยะสำคัญของเทรนด์
11 [ Super Trend Indicator ] มองเทรนด์ออกด้วยเส้นเดียว ก่อนเริ่มวางแผนการเทรด
12 [ DMI ] Directional Movement Indicators ตัวช่วยเช็คความแข็งแกร่งของเทรนด์ที่เกิดขึ้น
13 [ Ichimoku Cloud ] ครบในเครื่องมือเดียว หาแนวโน้มหลัก ระบุแนวรับ-แนวต้าน จบที่หาจังหวะซื้อ-ขาย
14 [ Donchain Channels ] เครื่องมือที่เรียบง่ายสำหรับการระบุแนวโน้มใหม่ ๆ และวัดความผันผวนของตลาด
15 [ Keltner Channels ] กรอบการแกว่งตัว ที่ช่วยกำหนดกลยุทธ์การเทรดตามรูปแบบของเทรนด์
16 [ Zigzag Indicator ] เช็คภาพรวมทิศทางการเคลื่อนตัวของราคา
17 [ Chaikin Oscillator ] ตรวจสอบแรงซื้อ - แรงขาย เพื่อต่อยอดการจับจังหวะเทรด
18 [ William %R ] จับจังหวะรอบ Overbought Oversold เพื่อหาจุดกลับตัว
19 [ Aroon Indicator ] ดูการเริ่มต้นของแนวโน้ม หาช่วงแกว่งตัวออกข้าง และ คาดการณ์การกลับตัว
20 [ Commodity Channel Index ] ดูรอบวัฏจักรการแกว่งตัวของราคา เพื่อจับจังหวะในการเทรด