Technical Indicator 101 #20
Commodity Channel Index (CCI)
CCI เป็นตัวบ่งชี้แบบ Oscillator ที่ช่วยระบุเงื่อนไขการซื้อ-ขายเกิน (Overbought/Oversold) และช่วยตรวจสอบความแข็งแกร่งของแนวโน้ม เพื่อช่วยในการจับจังหวะการเทรด
เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่พัฒนาโดย Donald Lambert ในปี 1980 เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) แต่ในปัจจุบันก็มีการนำไปใช้กับการจับจังหวะในหลายๆสินทรัพย์
 
การคำนวณ CCI
CCI จะวัดระดับราคาปัจจุบันเทียบกับราคาค่าเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยใช้สูตรดังนี้:

Typical Price (TP): (High + Low + Close) / 3
SMA of Typical Price: ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่ายของ Typical Price ในช่วงเวลาที่กำหนด (เช่น 20 วัน)
Mean Deviation: ค่าความเบี่ยงเบนเฉลี่ยของ Typical Price
ตัวคูณ 0.015 ถูกกำหนดโดย Lambert เพื่อให้ค่า CCI ส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง -100 ถึง +100

 

วิธีการใช้งาน CCI

1. ระบุเงื่อนไขการซื้อ-ขายเกิน (Overbought/Oversold)
หากค่า CCI สูงกว่า +100 แสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะ Overbought ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการกลับตัวขาลง
หากค่า CCI ต่ำกว่า -100 แสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะ Oversold ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการกลับตัวขาขึ้น

2. สัญญาณซื้อและขาย
สัญญาณซื้อ: เมื่อ CCI ข้ามขึ้นผ่าน -100 ไปยังด้านบวก หรือเมื่อ CCI ข้ามจากต่ำกว่า +100 ลงมาอยู่ที่ระดับที่ต่ำกว่านั้นและฟื้นตัวอีกครั้ง
สัญญาณขาย: เมื่อ CCI ข้ามลงต่ำกว่า +100 แสดงว่าตลาดอาจเข้าสู่ขาลง หรือเมื่อ CCI ข้ามลงจากระดับ -100

3. การใช้ CCI ในการจับแนวโน้ม
CCI สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มได้
หากค่า CCI อยู่สูงกว่า +100 เป็นเวลานาน แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง
ถ้า CCI อยู่ต่ำกว่า -100 เป็นเวลานาน แสดงถึงแนวโน้มขาลงที่แข็งแกร่ง

เราสามาถใช้ CCI ในแง่มุมการดู Overbought/Oversold และ Divergence ได้เช่นเดียวกัน
ถือเป็นเครื่องมือที่การใช้งานค่อนข้างหลากหลาย สามารถปรับตามความเหมาะสมของสถานการณ์ได้ แนะนำให้ใช้เครื่องมือนี้ควบคู่กับเครื่องมืออื่น เพิ่มเสริมประสิทธิภาพการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น

มาดูภาพประกอบพร้อมวิธีการใช้งานเครื่องมือ Commodity Channel Index นี้กัน
 
Series TECHNICAL INDICATOR 101
โค้ชบาสเลือกคัดเอา 20 Indicators มาแนะนำมือใหม่ที่เริ่มสนใจศึกษาการใช้กราฟ เพื่อวางแผนการเทรด และ หาไอเดียไว้ประยุกต์ ต่อยอด และ ปรับใช้ ในการวางแผนการเทรด
วิธีที่ดีที่สุด คือ รู้เอาไว้ให้ครบ แล้วเลือกใช้เฉพาะเครื่องมือที่เราเชื่อว่าจะสอดคล้องกับแนวทางของเรา

นี่คือ ลิสต์ 20 Indicators สนใจตัวไหน คลิกที่ชื่อ Indicators นั้นๆ ได้เลย
01
  [ 52 Week High/Low ] เช็คจุดสูงสุด - ต่ำสุด ในรอบปี ก่อนเทรดแบบ Break Out
02  [ MACD ] จับเทรนด์ และ หาจังหวะซื้อขาย ด้วย Moving Average Convergence Divergence
03  [ Bollinger Bands ] เครื่องมือวัดความผันผวนของราคาระหว่างแนวโน้ม
04  [ Stochastic ] หาจุดเข้า-ออก เทรดเก็บรอบระยะสั้น
05  [ Parabolic SAR ] รันเทรนด์เมื่อกราฟเกิดแนวโน้มชัดเจน
06  [ ROC ] Rate of Change วัดโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคา
07  [ ATR ] Average True Range ตามติดความผันผวนของราคา
08  [ Volume Profile Visible Range ] หาแนวรับ-ต้าน ราคาไหนที่มีนัยยะ 
09  [ On Balance Volume ] วัดกระแสเงินไหลเข้าไหลออก และ วัดแรงซื้อ-แรงขายในตลาดการลงทุน
10  [ RSI Overbought/Oversold ] เช็คโมเมนตัม และ จุดนัยยะสำคัญของเทรนด์ 
11  [ Super Trend Indicator ] มองเทรนด์ออกด้วยเส้นเดียว ก่อนเริ่มวางแผนการเทรด
12  [ DMI ] Directional Movement Indicators ตัวช่วยเช็คความแข็งแกร่งของเทรนด์ที่เกิดขึ้น 
13  [ Ichimoku Cloud ] ครบในเครื่องมือเดียว หาแนวโน้มหลัก ระบุแนวรับ-แนวต้าน จบที่หาจังหวะซื้อ-ขาย
14  [ Donchain Channels ] เครื่องมือที่เรียบง่ายสำหรับการระบุแนวโน้มใหม่ ๆ และวัดความผันผวนของตลาด
15  [ Keltner Channels ] กรอบการแกว่งตัว ที่ช่วยกำหนดกลยุทธ์การเทรดตามรูปแบบของเทรนด์ 
16  [ Zigzag Indicator ] เช็คภาพรวมทิศทางการเคลื่อนตัวของราคา
17  [ Chaikin Oscillator ] ตรวจสอบแรงซื้อ - แรงขาย  เพื่อต่อยอดการจับจังหวะเทรด
18  [ William %R ] จับจังหวะรอบ Overbought Oversold เพื่อหาจุดกลับตัว
19  [ Aroon Indicator ] ดูการเริ่มต้นของแนวโน้ม หาช่วงแกว่งตัวออกข้าง และ คาดการณ์การกลับตัว
20  [ Commodity Channel Index ] ดูรอบวัฏจักรการแกว่งตัวของราคา เพื่อจับจังหวะในการเทรด