สรุปหุ้น BANPU : บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
สรุปหุ้น BANPU : บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU ทำอุตสาหกรรมพลังงานระดับภูมิภาค ครอบคลุมธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิง ธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้า และธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน โดยบริษัทมีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นบริษัทพลังงานที่ยั่งยืน (Greener & Smarter) ผ่านการลงทุนในพลังงานสะอาด เทคโนโลยี และโครงการที่เน้นการลดคาร์บอน
ข้อมูลเบื้องต้น
⏩ ตลาดหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
⏩ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง: ทรัพยากร / พลังงานและสาธารณูปโภค
⏩ SET ESG Ratings : AAA
⏩ ขนาดบริษัท (Market Cap): 44,884.68 ล้าน
⏩ ราคาหุ้น BANPU 4.38 บาท
⏩ ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่ 24/03/68
สินค้า และ บริการ
หมวดหมู่ | ตัวอย่างธุรกิจ | เหมือง / โรงไฟฟ้า | รายละเอียด |
ธุรกิจเหมือง (Mining Business) | เหมืองถ่านหินในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย | เหมืองอินโดมินโค (Indominco) | ใช้วิธีการทำ เหมืองแบบเปิด (Open-pit Mine) มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 34.89 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 7.35 ล้านตัน |
เหมืองทรูบาอินโด (Trubaindo) | ใช้วิธีการทำ เหมืองแบบเปิด มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 54.71 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณ การผลิต 2.94 ล้านตัน |
||
เหมืองบารินโต (Bharinto) | ใช้วิธีการทำ เหมืองแบบเปิด มีปริมาณถ่านหิน สำ รอง 98.55 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 8.50 ล้านตัน |
||
เหมืองโจ-ร่ง (Jorong) | ใช้วิธีการทำ เหมืองแบบเปิด มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 2.17 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 0.18 ล้านตัน |
||
เหมือง Graha Panca Karsa (GPK) | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 63.39 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 1.09 ล้านตัน | ||
เหมือง TIS | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 2.88 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 0.17 ล้านตัน | ||
โครงการเหมือง NPR | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 77.40 ล้านตัน | ||
เหมืองถ่านหินในประเทศออสเตรเลีย | เหมืองแอร์ลี (Airly) | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 14.13 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 0.90 ล้านตัน |
|
เหมืองแองกัสเพลส (Angus Place) | มีปริมาณถ่านหิน สำ รอง 36.20 ล้านตัน ทั้งนี้ ตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นมา เหมืองดังกล่าวได้เข้าสู่การพักการผลิต (Care & Maintenance) |
||
เหมืองสปริงเวล (Springvale) | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 7.45 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 2.81 ล้านตัน |
||
เหมืองคลาเรนซ์ (Clarence) | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 25.84 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 0.93 ล้านตัน |
||
เหมืองแมนดาลอง (Mandalong) | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 45.78 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 2.0 ล้านตัน |
||
เหมืองไมยูนา (Myuna) | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 12.50 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 0.90 ล้านตัน |
||
โรงล้างถ่านหิน Northern Coal Services (NCS) | มีกำลังผลิตประมาณปีละ 4 ล้านตัน และมีเส้นทาง ลำเลียงเฉพาะที่ใช้สำ หรับส่งออกและจัดส่งไปยังลูกค้าในประเทศ |
||
เหมืองถ่านหินในสาธารณรัฐประชาชนจีน | เหมืองเกาเหอ (Gaohe) | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 81.95 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 8.83 ล้านตัน | |
เหมืองเฮ่อปี้ (Hebi) | มีปริมาณถ่านหินสำ รอง 10.92 ล้านตัน ซึ่งในปี 2567 มีปริมาณการผลิต 1.12 ล้านตัน |
||
แหล่งถ่านหินในประเทศมองโกเลีย | เหมืองซานต์อูล (Tsant Uul) | เหมืองถ่านหินซานต์อูลในจังหวัดโกบีใต้ของมองโกเลียใกล้พรมแดนจีนประสบความสำเร็จในการทดลองแยกน้ำมันทาร์จากถ่านหิน และเริ่มส่งถ่านหิน 169,000 ตันให้โรงไฟฟ้าในจีนเมื่อมิถุนายน 2567 ขณะเตรียมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ | |
โครงการเหมืองอุนสท์ ฮูดะห์ (Unst Khudag) | เหมืองถ่านหินโกบีกลางของมองโกเลียค้นพบกรดฮิวมิคในถ่านหินความร้อนต่ำซึ่งใช้เพิ่มคุณภาพดินเกษตรและเตรียมส่งออกสู่จีน | ||
ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (Gas Business) | แหล่งก๊าซธรรมชาติมาร์เซลลัสในรัฐเพนซิลเวเนีย | BKV เริ่มลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกาปี 2559 โดยในเดือนมิถุนายน 2567 ได้จำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการผลิตในรัฐเพนซิลเวเนียออกไป และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 มีพื้นที่การผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งมาร์เซลลัสประมาณ 19,480 เอเคอร์ | |
แหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ในรัฐเท็กซัส | BNAC (บริษัทย่อยของบ้านปู) ซื้อสัดส่วนผลประโยชน์และเป็นผู้ดำเนินการผลิตในแหล่งก๊าซธรรมชาติบาร์เนตต์ รัฐเท็กซัส มูลค่า 570 ล้านเหรียญสหรัฐ เสร็จสิ้นเมื่อตุลาคม 2563 และขยายการลงทุนเพิ่มในพฤษภาคม 2565 อีก 750 ล้านเหรียญสหรัฐ ครอบคลุมพื้นที่รวม 454,000 เอเคอร์ | ||
ธุรกิจดักจับและกักเก็บคาร์บอน Carbon Capture, Utilization, and Sequestration (CCUS) | BKV ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2573 โดยโครงการบาร์เนตต์ ซีโร่ในเท็กซัสเริ่มดำเนินการแล้ว กักเก็บคาร์บอนได้ 165,069 ตันในปี 2567 | ||
กลุ่มธุรกิจผลิตพลังงาน (Energy Generation) | ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน (Thermal Power Business) | โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Combined Heat and Power Plant: CHP) | - โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมหลวนหนาน (Luannan) - โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมเจิ้งติ้ง (Zhengding) - โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมโจวผิง (Zouping) |
โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) | BPP ถือหุ้น 50% ในบีแอลซีพี โรงไฟฟ้าถ่านหิน 1,434 เมกะวัตต์ที่มาบตาพุด มีสัญญาขายไฟให้กฟผ. 25 ปี | ||
โรงไฟฟ้าเอชพีซี (HPC) | BPP ถือหุ้น 40% ในโรงไฟฟ้าเอชพีซีในลาว (1,878 เมกะวัตต์) และถือหุ้น 37.5% ในเหมืองถ่านหินลิกไนต์ PFMC โดยเป็นการร่วมทุนกับ RATCH และรัฐวิสาหกิจลาว สัญญาสัมปทาน 25 ปีนับจากปี 2559 | ||
โรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง (Shanxi Lu Guang) | BPP ถือหุ้น 100% ใน BPIC ซึ่งถือหุ้น 30% ในโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดซานซีลู่กวงในจีน ขนาด 1,320 เมกะวัตต์ เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วในปี 2564 | ||
โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I และ Temple II | BKV (บริษัทย่อยบ้านปู 75.51%) และ BPPUS (บริษัทย่อย BPP 100%) ตั้ง BKV-BPP (ถือหุ้นฝ่ายละ 50%) เพื่อลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I และ II ในเท็กซัส รวมกำลังผลิต 1,523 เมกะวัตต์ | ||
ธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) | โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน | - ฮุ่ยเหนิง (Huineng) - จินซาน (Jinshan) - เฮ่าหยวน (Haiyan - ฮุ่ยเอิน (Hui’en) - เต๋อหยวน (Deyuan) - ซิงหยู (Xingyu) - จีซิน (Jixin) |
บ้านปู และ BPP ถือหุ้นฝ่ายละ 50% ใน บ้านปู เน็กซ์ ซึ่งลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในจีน 7 แห่ง มีกำลังผลิตรวม 177.32 เมกะวัตต์ และได้รับสัญญารับซื้อไฟฟ้าระยะยาว 20 ปี |
โรงไฟฟ้าและโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น | - (Hitachi Omiya No.1) - (Hitachi Omiya No.2) - (Ozenosato-Katashina) - (Olympia) - ซากุระ 1 (Sakura No.1) - (Sakura No.2) - ฮิโนะ (Hino) - อวาจิ (Awaji) - (Mukawa) - (Nari Aizu) - (Kurokawa) - (Tenzan) - (Muroran 1) - (Muroran 2) - (Takeo 2) - (Yamagata) - (Yabuki) - (Kesennuma) - (Nihonmatsu) - (Shirakawa) |
บ้านปู เน็กซ์ ได้ลงทุนในโรงไฟฟ้าและโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นผ่านบริษัทย่อย ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 มีกำ ลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนจำ นวน 145.89 เมกะวัตต |
|
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศออสเตรเลีย | - โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เบอริล - โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มานิลดรา |
บ้านปูลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 แห่งในออสเตรเลีย (BSF และ MSF) ผ่าน Banpu Energy Hold Trust ที่ BEN ถือหุ้น 80% และ BREA 20%. | |
โรงไฟฟ้าและโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในสาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม |
- (El Wind Mui Dinh) - Vinh Chau - Phase 1 - (Vinh Chau - Phase 2 & 3) - น็อนไห่ (Nhon Hai) |
บ้านปู เน็กซ์ ขยายการลงทุนในเวียดนาม มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลมรวม 3 แห่ง เปิดดำเนินการแล้ว 2 แห่ง และอยู่ระหว่างยื่นเอกสาร 1 แห่ง รวมกำลังผลิต 152.60 เมกะวัตต์ มีสัญญาขายไฟระยะยาว 20 ปีกับ EVN ภายใต้โครงการ FiT | |
กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology) | - Solar Rooftop & Floating - Energy Storage Systems - Energy Management - e-Mobility - Energy Trading |
บ้านปูพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดผ่าน “บ้านปู เน็กซ์” มุ่งเป็นผู้นำ Net Zero Solutions ในเอเชียแปซิฟิก ด้วยโซลูชันพลังงานครบวงจร ผสานเทคโนโลยีและดิจิทัลแพลตฟอร์ม รองรับเป้าหมาย ESG และการเติบโตอย่างยั่งยืน. | |
ธุรกิจระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและบนทุ่นลอยน้ำา (Solar Rooftop and Floating) |
บ้านปู เน็กซ์ ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและทุ่นลอยน้ำใน 5 ประเทศหลักในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น รวมกำลังผลิตกว่า 272 เมกะวัตต์ | ||
ธุรกิจแบตเตอรี่ (Energy Storage Systems) | บ้านปู เน็กซ์ ลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ โดยร่วมกับดูราเพาเวอร์และ SVOLT เปิดโรงงานในไทย รองรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ตั้งเป้ากำลังผลิตรวม 2 กิกะวัตต์ชั่วโมงภายในปี 2568. | ||
ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ (E-Mobility) | - Vehicle-as-a-Service (VaaS) - Energy-as-a-Service (EaaS) - Platform-as-a-Service (PaaS) |
บ้านปู เน็กซ์ ร่วมทุนกับมารูเบนิและฟุโย ตั้งบริษัทให้บริการฟลีทรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แบบครบวงจรในไทยเมื่อปลายปี 2567. | |
ธุรกิจจัดการพลังงาน (Energy Management) | บ้านปู เน็กซ์ ให้บริการโซลูชันจัดการพลังงานครบวงจรในไทยกว่า 37 โครงการ รวมถึงระบบผลิตความเย็นส่วนกลางที่ศูนย์ราชการฯ โซนซี และร่วมมือพัฒนาเกาะสมุยสู่เมืองท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ สอดรับเป้าหมาย Net Zero ของประเทศ. | ||
ธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า (Trading) | บ้านปูดำเนินธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าในญี่ปุ่น มีกำลังซื้อขาย 2,816 GWh และเริ่มซื้อขายสิทธิรายได้จากความแออัดของสายส่ง (CRR Trading) ในตลาด ERCOT สหรัฐฯ ผ่าน BPPUS ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2567. |
BANPU ได้ขยายโครงการพลังงานสะอาดในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเวียดนาม พร้อมทั้งเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในโครงการ Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) ในปี 2023 และพัฒนา "Banpu NEXT" เพื่อสร้างโซลูชันพลังงานที่ตอบโจทย์อนาคตอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
สัดส่วนรายได้จากแต่ละธุรกิจ
ประเภทธุรกิจ | 2566 (ล้านเหรียญสหรัฐ) | สัดส่วน % | 2567 (ล้านเหรียญสหรัฐ) | สัดส่วน % | การเปลี่ยนแปลง yoy |
รายได้จากธุรกิจถ่านหิน | 3,310.00 | 64.16% | 3,289.00 | 63.89% | 🟥ลดลง -0.63% |
รายได้ธุรกิจก๊าซ | 735.00 | 14.25% | 726.00 | 14.10% | 🟥ลดลง -1.22% |
รายได้ธุุรกิจไฟฟ้า | 932.00 | 18.07% | 777.00 | 15.09% | 🟥ลดลง -16.63% |
รายได้ธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน | 92.00 | 1.78% | 66.00 | 1.28% | 🟥ลดลง -28.26% |
รายได้ธุรกิจอื่น | 90.00 | 1.74% | 290.00 | 5.63% | 🟩เพิ่มขึ้น 222.22% |
รายได้รวม | 5,083.00 | 100.00% | 5,148.00 | 100.00% | 🟩เพิ่มขึ้น 1.28% |
ข้อมูลล่าสุดของปี 2567 จาก 56-1 ของบริษัท
**สามารถอัปเดตข้อมูลล่าสุดได้ คลิกที่นี่
ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
🔹 การกระจายการลงทุนใน 9 ประเทศทั่วโลก
+ ดำเนินธุรกิจใน ไทย, อินโดนีเซีย, จีน, ออสเตรเลีย, ลาว, มองโกเลีย, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ และเวียดนาม
+ ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่ง และเปิดโอกาสในการเข้าถึงตลาดพลังงานใหม่
🔹 ความสามารถด้าน ESG และได้รับการยอมรับในระดับสากล
+ ได้รับคัดเลือกเข้าดัชนี DJSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 และ “SET ESG Ratings” ระดับ AAA
+ คงอันดับเครดิต “A+” จากทริสเรทติ้ง (แนวโน้ม “คงที่”)
🔹 ความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงาน
+ ผ่านการร่วมทุนในโรงงานแบตเตอรี่กับ SVOLT, Durapower
+ พัฒนา e-Mobility, Energy Management, Trading Platform, Virtual Power Plant และระบบจัดการ Net Zero สำหรับองค์กร
ความเสี่ยงของธุรกิจและมาตราการการรับมือ
🔹 ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม (Regulatory Risk)
- ความเสี่ยง: การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน อาจกระทบต้นทุน
+ มาตรการการรับมือ:
✅ พัฒนาเทคโนโลยีลดการปล่อยคาร์บอน
✅ ลงทุนในธุรกิจคาร์บอนเครดิตและ CCUS
✅ ตั้งเป้า Net Zero และรายงานความคืบหน้า ESG ต่อเนื่อง
🔹 ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk)
- ความเสี่ยง: สงคราม, ความขัดแย้งทางการเมือง และมาตรการคว่ำบาตร อาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานพลังงาน
+ มาตรการการรับมือ:
✅ กระจายการลงทุนในหลายประเทศ
✅ วางแผนสำรองซัพพลายเชนและจัดหาวัตถุดิบ
✅ ติดตามสถานการณ์ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด
🔹 ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดพลังงานโลก (Energy Transition Risk)
- ความเสี่ยง: แนวโน้มลดการใช้ถ่านหินและพลังงานฟอสซิลทั่วโลกอาจกระทบรายได้หลักของบริษัท
+ มาตรการการรับมือ:
✅ ขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด
✅ ตั้งเป้าลดสัดส่วน EBITDA จากธุรกิจถ่านหินให้ต่ำกว่า 50% ภายในปี 2573
✅ พัฒนาระบบจัดเก็บพลังงานและธุรกิจ Net Zero Solutions
โครงการในอนาคต
🔹 การขับเคลื่อนกลยุทธ์ Energy Symphonics
ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด โดยใช้กลยุทธ์ Energy Symphonics ครอบคลุม 4 ภารกิจหลัก
🔹 การลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน (Renewables + BESS)
ขยายกำลังผลิตพลังงานหมุนเวียน (solar & wind) ทั่วเอเชียแปซิฟิก + ลงทุนในระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System) เช่น โครงการ Tono ที่ญี่ปุ่น
🔹 การพัฒนาโครงการ CCUS ในสหรัฐอเมริกา
โครงการใหม่ในแหล่ง Eagle Ford (อยู่ระหว่างพัฒนา ร่วมกับบริษัทพลังงานกลางน้ำชั้นนำ)
🔹 การลงทุนและ IPO ของ BKV Corporation
IPO ในตลาด NYSE เรียบร้อย (26 ก.ย. 2567) , นำเงินระดมทุนใช้ชำระหนี้ และขยายโครงการธุรกิจ (โดยเฉพาะ CCUS)
กราฟราคาหุ้น : BANPU
** เพื่อนๆสามารถคลิ้กที่รูปกราฟ เพื่อติดตามข้อมูล RealTime ล่าสุดของวันนี้ได้นะ **เว็บไซต์บริษัท : BANPU
56-1 รายงานประจำปี 2567 (Annual Report) : คลิ้กที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
🔹 รายได้หลักของ BANPU มาจากธุรกิจใด? รายได้หลักมาจากธุรกิจถ่านหิน สัดส่วน 63.89% ของรายได้รวม
🔹 ทำไมควรลงทุนในบริษัทนี้? : + มี กลยุทธ์ Energy Symphonics ที่เน้นการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด + ได้รับการยอมรับด้าน ESG ทั้ง DJSI ต่อเนื่อง 11 ปี และ “SET ESG Ratings” ระดับ AAA
🔹 BANPU มีโครงการใหม่อะไรบ้างในอนาคต? :
+ ขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (Solar, Wind, BESS) ทั่วเอเชีย
+ พัฒนาโครงการ CCUS เพื่อลดคาร์บอนและสร้างรายได้จาก Carbon Credit
+ เปิดสายการผลิตแบตเตอรี่ EV ในไทยร่วมกับ SVOLT และ Durapower
+ นำ BKV Corporation เข้าตลาด NYSE และใช้เงินลงทุนต่อยอดพลังงานคาร์บอนต่ำ
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ซื้อหุ้น BANPU ได้ที่ Liberator | ไม่มีขั้นต่ำ เซฟต้นทุนให้คุณตั้งแต่บาทแรก