งบดุลคืออะไร? เครื่องมือสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้

งบดุลเป็นหนึ่งในงบการเงินหลักที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจ เพราะแสดงให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของบริษัท ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง บทความนี้จะอธิบายองค์ประกอบของงบดุล พร้อมวิธีการวิเคราะห์

 

งบดุลคืออะไร?

งบดุล  คือ รายงานทางการเงินที่แสดงถึงฐานะทางการเงินของบริษัท ณ ช่วงเวลาใดเวลานึง ( ไตรมาส , ปี ) โดยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ สินทรัพย์ (Assets) หนี้สิน (Liabilities) และส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders' Equity)

โครงสร้างสมการงบดุล คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น

 

ทำไมงบดุลจึงสำคัญ?

การวิเคราะห์งบดุลช่วยให้gikเห็นภาพรวมของบริษัทในหลายแง่มุม

+ ความมั่นคงทางการเงิน

+ สภาพคล่อง

+ ความสามารถในการชำระหนี้

+ ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์

+ โครงสร้างเงินทุน

 

องค์ประกอบของงบดุล

1. สินทรัพย์ (Assets)

สินทรัพย์ คือ ทรัพยากรที่บริษัทเป็นเจ้าของหรือควบคุม และใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทในอนาคต แบ่งเป็น:

⏩ สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets)  คือ สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดภายใน 1 ปี

+ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

+ เงินลงทุนระยะสั้น

+ ลูกหนี้การค้า

+ สินค้าคงเหลือ

+ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า

⏩ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets) คือ สินทรัพย์ที่ใช้เกินกว่า 1 ปี  

+ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

+ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร)

+ เงินลงทุนระยะยาว

+ สินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ

 

2. หนี้สิน (Liabilities)

หนี้สิน คือ ภาระผูกพันทางการเงินที่บริษัทมีต่อบุคคลหรือองค์กรอื่น แบ่งเป็น:

⏩ หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) คือ ภาระผูกพันที่ต้องชำระภายใน 1 ปี 

+ เจ้าหนี้การค้า

+ เงินกู้ระยะสั้น

+ ภาษีค้างจ่าย

+ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

⏩ หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current Liabilities)  คือ ภาระผูกพันที่มีระยะเวลามากกว่า 1 ปี

+ เงินกู้ระยะยาว

+ หุ้นกู้

+ ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

+ หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี

 

3. ส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholders' Equity)

ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ สิทธิเรียกร้องที่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นมีต่อสินทรัพย์ของบริษัท ประกอบด้วย:

+ ทุนจดทะเบียน

+ ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

+ กำไรสะสม

+ องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น

 

ตัวอย่าง บริษัท ปปป จำกัด (มหาชน)

+ สินทรัพย์รวม ≈ 3.27 ล้านล้านบาท

+ หนี้สินรวม ≈ 1.68 ล้านล้านบาท

+ ส่วนของผู้ถือหุ้น ≈ 1.59 ล้านล้านบาท

จากงบดุลนี้ เราสามารถคำนวณอัตราส่วนทางการเงินได้ดังนี้:

+ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น: 1.06 เท่า (แสดงว่าบริษัทมีหนี้สินและทุนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน)

+ อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์: 0.51 เท่า (แสดงว่าสินทรัพย์ของบริษัทมาจากการก่อหนี้ 51%)

เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ปปป ที่มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ประมาณ 1.2 เท่า จะเห็นว่า ปปป. มีความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นสัญญาณบวกสำหรับนักลงทุน

 

วิธีอ่านงบดุลสำหรับมือใหม่

  1. เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง - ดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรายการสำคัญในงบดุลอย่างน้อย 3-5 ปี
  2. วิเคราะห์โครงสร้างเงินทุน - สังเกตสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
  3. ตรวจสอบคุณภาพสินทรัพย์ - พิจารณาประเภทและสัดส่วนของสินทรัพย์
  4. ประเมินสภาพคล่อง - ดูความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น
  5. เปรียบเทียบกับคู่แข่ง - เทียบอัตราส่วนทางการเงินกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

 

แล้วเราจะดูงบดุลได้จากไหน ?

ดูงบดุลง่ายๆ กับ Liberator เพียงแค่ เข้ามาที่ Liberator For PC

  1. กด Menu Quote เพื่อหาหุ้นที่ตัวเองต้องหาดูงบดุล
  2. กด Menu Financials 
  3. เจอหน้างบดุลแล้ว สำรวจและเช็คว่ามีการเติบโตที่ดีไหม

 

การอ่านงบการเงินอาจดูน่ากลัวในตอนแรก แต่เมื่อเราลองตั้งใจศึกษา และตัดสินใจลงทุน ไม่จำเป็นต้องเป็นนักบัญชีหรือมีพื้นฐานด้านการเงิน เพียงแค่ทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

และเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ หรือ มาเรียนกับเราที่ LIB ACADEMY ง่ายๆ เพียงแค่มีพอร์ตหุ้นกับเราก็สามารถเลือกเรียน คลาสต่างๆอีกมากมาย