XR คืออะไร?  เวลาเกิดขึ้นแล้วต้องทำยังไง

XR หรือ (Excluding Right) คือ ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ 

 

ทำไมถึงมี XR?

เมื่อบริษัทต้องการเพิ่มทุน อาจเสนอขายหุ้นใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในราคาพิเศษ โดยให้สิทธิ์ตามสัดส่วนที่ถืออยู่ เช่น 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่

ผู้ที่ถือหุ้นอยู่ก่อนวัน XR จะได้รับสิทธิ์ในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด แต่ถ้าซื้อหุ้นในวัน XR หรือหลังจากนั้น จะไม่มีสิทธิ์ดังกล่าว

 

ผลกระทบของ XR ต่อราคาหุ้น

+ Dilution Effect: การเพิ่มจำนวนหุ้นในตลาดอาจทำให้มูลค่าหุ้นต่อหน่วยลดลง เพราะกำไรของบริษัทต้องถูกหารกับจำนวนหุ้นที่มากขึ้น

+ ราคาหุ้นอาจปรับลดลง ในวัน XR เพื่อสะท้อนมูลค่าของบริษัทหลังจากที่หุ้นเพิ่มทุนถูกนำเข้าสู่ตลาด

 

Dilution Effect ส่งผลกระทบอย่างไร?

1. สัดส่วนการถือหุ้นลดลง
หากผู้ถือหุ้นเดิมไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสิทธิ์ที่ได้รับ สัดส่วนการถือหุ้นของพวกเขาจะลดลง เพราะมีหุ้นใหม่เข้ามาในตลาด ทำให้ผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามาถือหุ้นมากขึ้น

ตัวอย่าง

+ ก่อนเพิ่มทุน: นักลงทุนถือหุ้น 20,000 หุ้น จากทั้งหมด 2,000,000 หุ้น (คิดเป็น 1% ของบริษัท)

+ บริษัทออกหุ้นเพิ่ม 2,000,000 หุ้น ทำให้หุ้นทั้งหมดกลายเป็น 4,000,000 หุ้น

+ ถ้านักลงทุนไม่ซื้อหุ้นเพิ่ม สัดส่วนการถือหุ้นของเขาจะลดลงจาก 1% เหลือ 0.5%

 

2. กำไรต่อหุ้น (EPS) ลดลง
เนื่องจากจำนวนหุ้นในตลาดเพิ่มขึ้น แต่กำไรของบริษัทอาจยังเท่าเดิมหรือเติบโตไม่ทัน กำไรต่อหุ้น (EPS) จึงลดลง ทำให้หุ้นดูมีมูลค่าน้อยลง

ตัวอย่าง

+ ก่อนเพิ่มทุน: บริษัทมีกำไร 10 ล้านบาท และมีหุ้นทั้งหมด 1,000,000 หุ้น → EPS = 10 บาท/หุ้น

+ หลังเพิ่มทุน: บริษัทออกหุ้นเพิ่ม 1,000,000 หุ้น ทำให้หุ้นทั้งหมดเป็น 2,000,000 หุ้น

+ EPS ใหม่ = 10 ล้านบาท / 2,000,000 หุ้น = 5 บาท/หุ้น (ลดลง 50%)

 

💙XR เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกว่านักลงทุนที่ซื้อหุ้นในวันนั้นจะไม่มีสิทธิ์จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน นักลงทุนจึงควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน

 

สรุป

⏩ ถ้าการเพิ่มทุนช่วยให้บริษัทเติบโตเร็วและสร้างกำไรเพิ่มขึ้นในอนาคต → ดี

⏩ ถ้าเพิ่มทุนโดยไม่มีแผนชัดเจน หรือเพียงแค่แก้ปัญหาทางการเงิน → อาจส่งผลเสียต่อผู้ถือหุ้นเดิม

⏩ นักลงทุนควรศึกษารายละเอียดของ Warrant ว่า มีอัตราการแจกเท่าไร, ราคาใช้สิทธิ์เท่าไร, และหมดอายุเมื่อไร เพื่อใช้ตัดสินใจลงทุนอย่างเหมาะสม

 

เครื่องหมายแสดงการไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ

🌐XD (Excluding Dividend) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล 

🌐XR (Excluding Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ 

🌐XW (Excluding Warrant) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์ 

🌐XT (Excluding Transferable Subscription Right) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ 

🌐XM (Excluding Meetings) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น

🌐XE (Excluding Exercise) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง

🌐XN (Excluding Capital Return) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิในการรับเงินคืนจากการลดทุน

🌐XB (Excluding Other Benefit) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิประโยชน์ที่บริษัทให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์ที่บริษัทกำหนด เช่น สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในเครือ (Pre-emptive Right)

🌐XA (Excluding All) : ผู้ซื้อหลักทรัพย์ไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น มักจะขึ้นเครื่องหมาย XA เมื่อหุ้นขึ้นเครื่องหมายมากกว่า 1 เครื่องหมาย

-ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈

 

เปิดพอร์ตหุ้น ได้ที่ Liberator | ไม่มีขั้นต่ำ เซฟต้นทุนให้คุณตั้งแต่บาทแรก

✅ มีบัญชีกับ Liberator ประหยัดค่าคอมให้คุณได้สูงสุด 90%+
2) สมัครเปิดบัญชีได้ง่ายภายใน 10 นาที
3) ฝากเงินแล้วสามารถซื้อ-ขายหุ้นได้สะดวก 

หากยังไม่มั่นใจ ว่าจะเริ่มต้นลงทุนหุ้นอย่างไร
ติดตามคลาสสอนหุ้น STOCK 101 ได้ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite คลิกที่รูปนี้ได้เลย