Corporate Action คืออะไร ลงทุนหุ้นอเมริกาจะมีอะไรแตกต่างจากหุ้นไทยบ้าง

Corporate Action คืออะไร?

Corporate Action คือ เหตุการณ์สำคัญของบริษัทที่มีผลต่อผู้ถือหุ้น (Shareholder) และในบางครั้งรวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท (Stakeholder) ด้วย โดยจะมีเหตุการณ์แบบนี้ 2 รูปแบบ คือ

1. Mandatory / Involuntary Corporate Action

เหตุการณ์สำคัญทางบริษัทที่เกิดขึ้นแล้ว นักลงทุนไม่มีสิทธิ์เลือก นักลงทุนจะได้รับผลกระทบโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ก็ตาม

ตัวอย่างของ Corporate Action ที่นักลงทุนได้รับทันทีโดยอัตโนมัติ

1.1. ประกาศจ่ายเงินปันผล (Cash Dividend)
1.2. ประกาศจ่ายปันผลเป็นหุ้น (Stock Dividend)
1.3. ประกาศลดทุน (Capital Reduction)
1.4. ประกาศเพิ่มทุนแบบเฉพาะบุคคล (Private Placement Offering)
1.5. การควบรวมกิจการ (M&A Takeover)
1.6. ประกาศแตกพาร์ (Stock Split) จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ราคาลดลง มูลค่าคงเดิม
1.7. ประกาศรวมพาร์ (Reverse Stock Split) จำนวนหุ้นลดลง ราคาสูงขึ้น มูลค่าคงเดิม
1.8. การเพิกถอนหุ้นออกจากบริษัท (Delisting)

 

เหตุการณ์ทั้ง 8 อย่างนี้ ไม่ว่านักลงทุนจะชอบใจหรือไม่ เราจะได้รับผลกระทบโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น

  • ถ้าลงทุนถือหุ้นสหรัฐอเมริกาผ่าน App Liberator แล้วมีการประกาศจ่ายปันผลเป็นเงินสด เงินสดจะถูกใส่เข้ามาในบัญชี
  • ถ้าหุ้นในสหรัฐอเมริกาประกาศแตกพาร์ จำนวนหุ้นในพอร์ตและราคาจะถูกอัปเดตตอนตลาดเปิดโดยอัตโนมัติ

เหตุผลที่บริษัทฯ แตกพาร์ (Stock Split) เพราะมองว่าหุ้นของบริษัทฯ ราคาอาจจะสูงเกินไป ต้องการเสริมสภาพคล่อง โดย เพิ่มจำนวนหุ้นขึ้น ลดราคาหุ้นลง แต่มูลค่าหุ้นเท่าเดิม เช่น แตกพาร์ 5:1 แปลว่าหุ้นเดิม 1 หุ้นกลายเป็น 5 หุ้นใหม่ เปรียบเหมือนกับเคยกินเค้กที่แบ่งเป็น 1 ชิ้น มาวันนี้เค้กก้อนเดิมก็แบ่งเป็น 5 ชิ้น มีเค้กเท่าเดิม ชิ้นเล็กลง กินได้หลายชิ้นมากขึ้น

พิเศษ สำหรับเงินปันผลที่เราได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราที่ลดลง จากเดิม 30% เหลือ 15% เท่านั้น เพราะทาง Liberator ได้ยื่นแบบฟอร์ม W-8BEN (ซึ่งปกติมีค่าใช้จ่าย 2,000 บาทต่อบัญชี ต่อ 3 ปี) ให้เรียบร้อยแล้วโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ช่วยให้เราได้เงินปันผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น

2. Voluntary Corporate Action

เหตุการณ์สำคัญฯ ที่นักลงทุนมีสิทธิ์เลือกได้ว่าจะเข้าร่วมหรือทำอย่างไรกับมัน เหตุการณ์นั้นอาจเป็นโอกาสหรือความเสี่ยงให้กับนักลงทุนก็ได้

ตัวอย่างของ Corporate Action ที่เรามีทางเลือก

2.1. ประกาศเพิ่มทุนที่เปิดให้ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อเพิ่มได้ (Rights Offering)
2.2. ประกาศรับซื้อหุ้นคืนในตลาด (Share Repurchase)
2.3. ประกาศรับซื้อหุ้นคืนแบบ (Tender Offer)
2.4. ประกาศเชิญเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (Annual Shareholder Meeting)
2.5. ประกาศแปลงสิทธิ์ซื้อหุ้น (Warrant Exercise)

เหตุการณ์สำคัญต่อไปนี้ นักลงทุนเลือกได้ว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ โดยจะมีอีเมล์จากทางพาร์ทเนอร์ที่ต่างประเทศส่งคำเชิญชวนมาให้ เช่น การประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี การขายหุ้นให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่กำลังกว้านซื้อหุ้นของบริษัทด้วยวิธี Tender Offer เป็นต้น

เหตุการณ์แบบนี้ นักลงทุนจะมีสิทธิ์เลือกว่าจะทำอย่างไร โดยอาจเป็นอีเมล์หรือการซื้อขายในตลาด หากต้องการตอบรับเหตุการณ์สำคัญผ่าน App Liberator จะมีค่าใช้จ่าย $100 ต่อธุรกรรม (เป็นค่าธรรมเนียมที่กำหนดมาจากต่างประเทศ) รวมกับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากต้องการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน แปลงสิทธิ์ซื้อหุ้นเป็นหุ้นจริง

 

ไม่เห็นจะต่างกับในไทยเลย?

ตามตำราแล้ว Corporate Action ในไทยและสหรัฐอเมริกานั้นคือ เรื่องเดียวกัน มีเงินปันผล มีรวมพาร์ แตกพาร์ มีเข้าประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีเหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างกันเลย คือ ความถี่และผลกระทบ

ตัวอย่างที่ 1 การประกาศจ่ายปันผล

ถ้าเป็นในไทย บริษัทต่างๆ จะจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น 1-2 ครั้งต่อปีเท่านั้น (ยกเว้นกอง REITs)

ในสหรัฐอเมริกา บางบริษัทจะจ่ายให้ได้ถึง 4 ครั้งใน 1 ปี รอบการจ่ายของปันผลแต่ละตัวก็ไม่ตรงกัน ทำให้นักลงทุนสามารถบริษัทพอร์ตลงทุนเพื่อให้ได้เงินปันผลรายเดือนได้

นอกจากนี้มีหลักทรัพย์บางประเภท เช่น กองทุน ETFs หรือ กองทุน REITs ที่สามารถจ่ายปันผลให้ได้ทุกเดือน นั่นทำให้ความฝันในการสร้างพอร์ตลงทุนที่มีกระแสเงินสดให้เราทุกเดือนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในสหรัฐฯ

ตัวอย่างที่ 2 การประกาศซื้อหุ้นคืนในตลาด (Share Repurchase)

หนึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกา คือ บริษัทต่างๆ มักเลือกจะนำเงินสดที่บริษัทมีมาซื้อหุ้นคืนจากตลาด ซึ่งหลายครั้งมีผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น และอัตราส่วนทางการเงินต่อหุ้น เช่น กำไรสุทธิต่อหุ้น เงินปันผลต่อหุ้น เพิ่มขึ้นด้วย (เพราะตัวหารในตลาดลดลง)

เหตุการณ์สำคัญแบบนี้เกิดขึ้นได้บ่อยเป็นเรื่องปกติในสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสให้นักลงทุนที่เข้าใจสถานการณ์นี้ได้

สรุป

Corporate Action ในไทยและสหรัฐอเมริกานั้นอาจจะมีเค้าโครงเหมือนกัน ถ้าลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาผ่าน App Liberator เราจะมี 2 แบบ คือ

  • ได้รับอัตโนมัติเลย
  • ต้องเลือกรับ (มีค่าธรรมเนียม)

ด้วยลักษณะพิเศษของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีจำนวนหุ้นมากกว่า ปันผลบ่อยกว่า มีความก้าวหน้าในตลาดทุนมากกว่า นี่อาจเป็นโอกาสกระจายความเสี่ยงให้นักลงทุนสามารถสร้างพอร์ตลงทุนที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจ มีปันผลให้เราทุกเดือนได้เลยนะ 

เทรดหุ้น US กับ Liberator ง่าย และ คุ้ม เปิดบัญชีและเริ่มต้นตอนนี้ที่นี่เลย