บทความ LIB Learn เดิม
กลยุทธ์จัดทัพ SSF RMF TSEG
ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีแบบนี้ นักลงทุนทุกคนต้องมองหากองทุนลดหย่อนภาษีอยู่อย่างแน่นอนใช่ไหมละครับ แต่ว่าในปีนี้ที่เป็นปีพิเศษเพราะว่ามีกองทุนน้องใหม่อย่างกองทุน TESG ออกมาซึ่งเป็น กองทุนที่สามารถนำยอดที่ซื้อมาลดหย่อนภาษีได้เพิ่มเติมอีกประมาณ 100,000 บาท
ทำให้ใครหลาย ๆ ก็เริ่มวางแผนไม่ถูกว่าจะต้องเริ่มต้นวางแผนจัดสัดส่วนอย่างไรกันดี แน่นอนครับว่าบทความนี้มีคำตอบให้อย่างแน่นอนครับ
แต่ก่อนอื่นนักลงทุนต้องทราบก่อนว่าการลงทุนผ่านกองทุนลดหย่อนภาษีนั้น มีข้อจำกัดบางประการที่เราต้องคำนึงก่อนซื้อกองทุน อย่างเรื่องของระยะเวลาที่ต้องถือครองให้ครบตามกำหนดซึ่งจะทำให้มีผลกับเรื่องสภาพคล่องของเงินลงทุนที่จะต้องรอนานกว่าจะขายกองทุนเหล่านี้ออกมา เช่น กองทุน SSF ต้องถือครอง 10 ปี ส่วนกองทุน TESG ต้องถือครอง 8 ปี และ กองทุน RMF ต้องซื้อต่อเนื่อง 5 ปี และ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี ถึงจะขายออกมาได้
นอกจากเรื่องของเงื่อนไขเวลาแล้ว เรื่องของสินทรัพย์ลงทุนเองนักลงทุนก็ต้องทำความเข้าใจด้วยเช่นกันครับ เช่นกองทุน SSF/RMF มีกองทุนให้เลือกตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำมากกกกก (ความเสี่ยงระดับ 1)ไปจนถึงเสี่ยงสูงสุด (ความเสี่ยงระดับ 8) ส่วกองทุน TESG จะมีให้เลือกไม่มากมีเพียงแค่ กองทุนตราสารหนี้ที่เสี่ยงระดับ 3-4 กองทุนหุ้นที่เสี่ยงระดับ 6 และ กองทุนผสมที่เสี่ยงระดับ 5 ซึ่งถ้าหากเราเข้าใจว่ากองทุนลดหย่อนภาษีลงทุนในสินทรัพย์อะไรได้บ้าง ก็จะทำให้เราเลือกลงทุนได้อย่างดีมากขึ้น หรือว่าสามารถนำมาจัดพอร์ตได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
และเรื่องสุดท้ายคือ กองทุนลดหย่อนภาษีเหล่านี้มีค่าธรรมเนียมที่อาจจะมากกว่ากองทุนทั่วไปอยู่สักเล็กน้อย เนื่องจากกองทุนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย เพื่อที่จะทำให้ยอดเงินในการคำนวนภาษีง่ายขึ้น แต่จะไปเพิ่มค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการ หรือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนต่อปีให้สูงขึ้นแทน ก็กลายเป็นว่ากองทุนเหล่านี้ที่มีระยะเวลาในการถือครองนาน ๆ ก็จะทำให้เงินที่ได้จากกองทุนลดลงนั่นเองครับ ดังนั้นเราควรที่จะต้องคำนึงถึงค่าธรรมเนียมในการลงทุนด้วย ห้ามลืมเด็ดขาดเลยครับ
แต่ในทางกลับกัน กองทุน SSF/RMF และ TESG ก็มีประโยชน์มากมายครับไม่ว่าจะเป็น
1. มีโอกาสได้ผลตอบแทน - แน่นอนว่า การลงทุนย่อมได้ผลตอบแทนตามมาด้วย ซึ่งผลตอบแทนก็จะขึ้นกับประเภทของกองทุนที่นักลงทุนได้เลือกลงทุน
2. ได้ลดหย่อนภาษี - ทั้งกองทุน SSF/RMF/TESG นั้น เมื่อนักลงทุนได้ลงทุนไปแล้ว สามารถนำยอดเงินที่ซื้อไปลดหย่อนภาษีได้ทันทีตามเงื่อนไขของกองทุน SSF/RMF/TESG
3. ได้สร้างวินัยในการลงทุน - กองทุน SSF/RMF/TESG เป็นกองทุนที่เน้นเรื่องของการเก็บออมระยะยาว เมื่อนักลงทุนทยอยสะสมไว้เรื่อย ๆ ก็เสมือนเป็นการสร้างวินัยในการลงทุนคล้ายกับการหยอดกระปุกไว้ รับรองว่าได้เงินก้อนไปต่อยอดในชีวิตตามเป้าหมายที่อยากได้ โดยเฉพาะกับกองทุน RMF ที่จะต้องถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี (และตามเงื่อนไขที่กำหนด) เมื่อลงทุนได้ตามเงื่อนไขเราก็จะมีเงินก้อนที่พร้อมจะให้คุณภาพชีวิตที่หลังเกษียณของเราดีขึ้นนั่นเอง
เมื่อรู้ประโยชน์ และ เงื่อนไขของ SSF/RMF/TESG แล้ว คราวนี้มาถึงเรื่องหลักของเราคือ เทคนิคการเลือกกองทุน SSF/RMF/TESG กัน ซึ่งกองทุน SSF/RMF/TESG นั้นเลือกไม่ยาก ใครอยากมี SSF/RMF/TESG ไว้ครอบครองเพื่อลดภาษีมีเงินออมให้ปฏิบัติดังนี้
เลือกกองทุนตามเป้าหมายเก็บเงิน
เลือกกองทุนตามอายุ
คราวนี้เรามาดูการเลือกกองทุน SSF/RMF/TESG แบบที่เลือกตามช่วงอายุกันบ้างครับ
ถ้าหากนักลงทุนยังอายุน้อย ๆ อยู่ในวัยเพิ่งเริ่มต้นทำงาน สร้างตัว สร้างรายได้ การลงทุนผ่าน SSF/TESG นั้นดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากว่าการถือครองกองทุนนั้น จะสั้นกว่า RMF ซึ่งนักลงทุนสามารถขายออกมาเพื่อทำตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ได้โดยที่ไม่ต้องรอนานเกินไป เช่น อยากเก็บเงินซื้อบ้าน เก็บเงินไปเรียนต่อ หรือ เก็บเพื่อแต่งงาน ซึ่งนอกจากจะได้ทำตามความฝัน ตามเป้าหมายแล้วก็ยังลดรายจ่ายภาษีระหว่างเก็บเงินอีกด้วยครับ
สำหรับนักลงทุนที่อยู่ในช่วง 35-45 ปี นั้น เนื่องจากมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยังยาวพอสมควร เกิน 10 ปีขึ้นไปไม่ว่าจะเลือกลงทุนผ่าน RMF หรือ SSF หรือจะเป็น TESG ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใด ๆ ครับ โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 เป้าหมาย เช่น เงินก้อนแรกเก็บไว้เพื่อการเกษียณ เราควรที่จะเลือกกองทุน RMF เป็นหลักเพื่อให้เกิดวินัยในการลงทุนอย่างต่อเนื่องตามข้อบังคับของ RMF ที่ต้องลงทุนทุกปีจนถึงอายุ 55 ปีครับ
คราวนี้เงินที่เหลือที่ยังสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ ก็อาจจะไปลงทุนในกองทุน SSF/TESG แทนครับ โดยอาจจะมองเป็นการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนสูง ๆ เช่นกองทุนหุ้น TESG หรือ กองทุน SSF หุ้นต่างประเทศก็ได้ครับ
สำหรับนักลงทุนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป การลงทุนผ่าน RMF น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการบริหารเงินในช่วงใกล้เกษียณ เนื่องจากว่าเงินที่ลงทุนใน RMF ทั้งหมดจะสามารถขายออกมาพร้อมกันได้ทุกก้อนเมื่ออายุครบ 55 ปี นั่นเองครับ ซึ่งเราสามารถเอาเงินก้อนมาวางแผน หรือ จัดการการเงินได้ดีกว่า
ถ้าหากเราลงทุนผ่าน SSF หรือ TESG ก็อาจจะบริหารเงินได้ค่อนข้างยาก ตัวอย่างเช่น หากเราซื้อกองทุน SSF ในช่วงอายุ 46 ปี เราจะขายได้ก็ต่อเมื่อเราอายุ 56 ปี และต่อมาเราลงทุน SSF ในช่วงอายุ 47 ปี เราจะสามารถขายและนำมาใช้ได้คือตอนอายุ 57 ปี แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะไม่ได้เป็นเงินก้อนใหญ่ออกมา ก็อาจจะทำให้เราบริหารจัดการเงินยากมากขึ้นนั่นเองครับ
เทคนิคเลือกกองทุนไม่พลาดเป้า
เนื่องจากกองทุนมีหลายประเภท ตั้งแต่เสี่ยงต่ำไปถึงเสี่ยงสูง เราต้องเลือกกองทุนที่เหมาะกับความเสี่ยงของเราเสียก่อนว่าจะเป็นกองทุนแบบไหน หลังจากนั้น ก็เลือกกองทุน SSF/RMF ที่สร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยดูจากผลตอบแทนย้อนหลังประมาณ 3-5 ปี เพราะว่ากองทุนที่ดีย่อมที่จะสร้างผลตอบแทนแบบดีต่อเนื่องให้กับนักลงทุน ทั้งนี้อย่าลืมเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมรายปี หรือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนก่อนลงทุนเสมอ เพราะว่าเป็นต้นทุนในการถือกองทุนในระยะยาว ซึ่งมีผลทำให้ผลตอบแทนน้อยลงไปด้วย
โดยสรุปกองทุน SSF/RMF ต้องเลือกที่
ส่วนกองทุน TESG ที่เป็นกองทุนเปิดใหม่ วิธีการเลือกองทุนที่ดีคือ ต้องดูที่กลยุทธ์การลงทุนของแต่ละกองทุนซึ่งจะมีความแตกต่างกันในการเลือกหุ้น ESG เช่น บางกองทุนเลือกเอาหุ้นจำนวนน้อย ๆ ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง ซึ่งก็อาจจะได้ผลตอบแทนที่สูง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน หรือว่าบางกองทุนก็อาจจะเน้นการลงทุนแบบ Passive ให้ผลตอบแทนขึ้นลงไปตามดัชนีหุ้นกลุ่ม ESG ไปเลยก็มีด้วยเช่นกัน
TESG บางกองทุนอาจจะดูผลตอบแทนโดยรวมของกองทุนหุ้นต่าง ๆ ที่เคยเปิดมาแล้วในอดีตของแต่ละบลจ. ร่วมด้วยก็ได้ เนื่องจากกองทุนส่วนใหญ่จะถูกบริหารงานโดยกลุ่มผู้จัดการกองทุนที่เคยบริหารจัดกองทุนหุ้นในบลจ. นั้น ๆ อยู่แล้วนั่นเอง
ดังนั้นนักลงทุนเองต้องเข้าใจกลยุทธ์การลงทุนของแต่ละกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
ในช่วงปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงมากขึ้น ทำใหัอัตราดอกเบี้ยของทุก ๆ ประเทศก็ค่อย ๆ ทยอยปรับตัวสูงขึ้น แต่ว่าล่าสุดธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศเองก็เริ่มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เนื่องจากเงินเฟ้อเริ่มคงที่ และเริ่มลดลงมาบ้าง แน่นอนว่าส่งผลให้สินทรัพย์ลงทุนเกือบทุกชนิดปรับตัวผันผวนมากขึ้น การลงทุนในช่วงนี้ค่อนข้างจะยากสำหรับนักลงทุนเลยก็ว่าได้ครับ
แต่ถ้าหากเรามองภาพระยะยาวแน่นอนว่าก็จะยังคงมีกองทุนที่สามารถลงทุนได้ และ สามารถสร้างผลตอบแทนระยะยาวให้กับเราได้อยู่ เพราะว่าถ้าหากแนวโน้มของอัตราดกเบี้ยเริ่มลดลงเมื่อไหร่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นก็จะเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นครับ
ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้นขนาดเล็ก-ขนาดกลาง กองทุนหุ้นกลุ่ม Asia และ Emerging Market หรือว่าถ้าไม่แน่ใจจะเลือกกองทุนหุ้นทั่วโลกก็ได้ ไม่ว่ากันครับ เนื่องจากกองทุนหุ้นทั่วโลกนี้ เป็นกองทุนที่มีหุ้นที่หลากหลาย และช่วยเรากระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี ส่วนการเติบโตนั้นส่วนใหญ่แล้วการเติบโตของกองทุนหุ้นทั่วโลกอาจจะไม่สูง เนื่องจากมีการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นทั่วโลก แต่การเติบโตระยะยาวส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากตามหลักการแล้ว ตลาดหุ้นจะเติบโตการบริโภค และการใช้สินค้าและบริการ ซึ่งถ้าดูจาก GDP ของโลกจะค่อย ๆ เติบโตตามจำนวนประชากร และ ธุรกิจทั่วโลกที่เติบโตอย่างค่อนเป็นค่อยไป
แต่ถ้าหากเอากองทุน SSF/RMF ทั้งหมดมาเรียงต่อกัน กองทุนที่มีความน่าสนใจในการลงทุนระยะยาว ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนหุ้นในกลุ่มสุขภาพ หรือ กองทุน Healthcare ทั้งนี้ก็เพราะว่ากองทุนกลุ่มสุขภาพนั้น เป็นกองทุนที่มีความแข็งแรงทางธุรกิจ เป็นบริการ หรือเป็นสินค้าที่จำเป็น รวมถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์เองก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การเติบโตในระยะยาวของกองทุนเหล่านี้มีความน่าสนใจ
รวมไปถึงกองทุนในกลุ่มนี้ก็มีความทนทานต่อช่วงเศรษฐกิจถดถอยอีกด้วย ซึ่งก็ยังคงเติบโตได้เพราะว่าเป็นบริการ หรือเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับทุก ๆ คน และ ค่ารักษาพยาบาลนั้นก็ยังคงปรับตัวตามเงินเฟ้อได้ โดยผู้บริโภคมีอำนาจในการต่อรองน้อยอีกด้วย
ในช่วงปี 2565 ที่มีเงินเฟ้อสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งกองทุนทั่วไปส่วนใหญ่จะทำผลตอบแทนในระยะยาว (3-5 ปีย้อนหลัง) ได้ติดลบหรือ อาจจะมีผลตอบแทนไม่สูงมากนัก แต่สำหรับกองทุนกลุ่ม Healthcare ยังคงทำผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากกองทุนกลุ่มสุขภาพแล้ว กองทุนอีกกลุ่มที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน และนักลงทุนเองสามารถลงทุนได้ในช่วงนี้เพราะว่าเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งกองทุนกลุ่มนี้จะเติบโตก่อนเป็นกลุ่มแรกก็คือ กองทุนกลุ่ม Technology ครับ ซึ่งถามจังหวะเศรษฐกิจที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาลงจะค่อนข้าโดดเด่นกว่ากองทุนอื่น ๆ เอาเป็นว่าเราสามารถทยอยลงทุนได้ตั้งแต่ช่วงนี้ครับ แต่กองทุนนี้ความเสี่ยงค่อนข้างจะสูง คำแนะนำคืออยากให้นักลงทุนค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จะเหมาะกว่าครับ
คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับการซื้อกองทุน SSF/RMF ปี 2566
ในช่วงปลายปีแบบนี้ มัวแต่เสียเวลาเลือกกองทุนอาจจะไม่ได้ซื้อกองทุนจนถึงสิ้นปี เพราะว่าแนวโน้มของราคาสินทรัพย์ปรับตัวลดลงจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ
ในช่วงตลาดหุ้นไม่เป็นใจ ก็ให้เราเลือกลงทุนบนกองทุน SSF/RMF/TEGS ที่มีกองทุนความเสี่ยงต่ำก่อนก็ได้ นั่นก็คือ กองทุน “ตลาดเงิน” หรือ “กองทุนตราสารหนี้” ไปเลยถืงแม้ว่าจะได้ผลตอบแทนไม่สูง แต่ปลอดภัยมาก ๆๆๆ
ซึ่งกองทุน TESG ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ ณ ปัจจุบันจะมีอยู่แค่ 1 กองทุนเท่านั้น ส่วน SSF/RMF มีให้เลือกมากมายเลยครับ หรือว่าถ้าหากรับความเสี่ยงได้กลาง ๆ ก็อาจจะเลือกกองทุน SSF/RMF/TESG แบบที่เป็นกองทุนผสม ที่มีสินทรัพย์อยู่หลากหลายทำให้ความเสี่ยงไม่สูงจนเกินไปครับ
ซื้อก่อน ได้สิทธิ์ไปลดหย่อนภาษีก่อน
พ้นภาวะดอกเบี้ยขึ้นเมื่อไหร่ค่อยกลับมาลงทุนในกองทุนหุ้น SSF/RMF/TESG ได้ตลอดเวลา
เพราะอย่าลืมว่ากองทุน SSF/RMF/TESG สับเปลียน โอนย้าย ข้ามบลจ. ได้ตลอด
ดังนั้นก่อนปลายปีนี้รีบซื้อกองทุน SSF/RMF กันได้แล้ววว เดี๋ยวไม่ทันนะคร้าบ
ทำให้ใครหลาย ๆ ก็เริ่มวางแผนไม่ถูกว่าจะต้องเริ่มต้นวางแผนจัดสัดส่วนอย่างไรกันดี แน่นอนครับว่าบทความนี้มีคำตอบให้อย่างแน่นอนครับ
แต่ก่อนอื่นนักลงทุนต้องทราบก่อนว่าการลงทุนผ่านกองทุนลดหย่อนภาษีนั้น มีข้อจำกัดบางประการที่เราต้องคำนึงก่อนซื้อกองทุน อย่างเรื่องของระยะเวลาที่ต้องถือครองให้ครบตามกำหนดซึ่งจะทำให้มีผลกับเรื่องสภาพคล่องของเงินลงทุนที่จะต้องรอนานกว่าจะขายกองทุนเหล่านี้ออกมา เช่น กองทุน SSF ต้องถือครอง 10 ปี ส่วนกองทุน TESG ต้องถือครอง 8 ปี และ กองทุน RMF ต้องซื้อต่อเนื่อง 5 ปี และ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี ถึงจะขายออกมาได้
นอกจากเรื่องของเงื่อนไขเวลาแล้ว เรื่องของสินทรัพย์ลงทุนเองนักลงทุนก็ต้องทำความเข้าใจด้วยเช่นกันครับ เช่นกองทุน SSF/RMF มีกองทุนให้เลือกตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำมากกกกก (ความเสี่ยงระดับ 1)ไปจนถึงเสี่ยงสูงสุด (ความเสี่ยงระดับ 8) ส่วกองทุน TESG จะมีให้เลือกไม่มากมีเพียงแค่ กองทุนตราสารหนี้ที่เสี่ยงระดับ 3-4 กองทุนหุ้นที่เสี่ยงระดับ 6 และ กองทุนผสมที่เสี่ยงระดับ 5 ซึ่งถ้าหากเราเข้าใจว่ากองทุนลดหย่อนภาษีลงทุนในสินทรัพย์อะไรได้บ้าง ก็จะทำให้เราเลือกลงทุนได้อย่างดีมากขึ้น หรือว่าสามารถนำมาจัดพอร์ตได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
และเรื่องสุดท้ายคือ กองทุนลดหย่อนภาษีเหล่านี้มีค่าธรรมเนียมที่อาจจะมากกว่ากองทุนทั่วไปอยู่สักเล็กน้อย เนื่องจากกองทุนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย เพื่อที่จะทำให้ยอดเงินในการคำนวนภาษีง่ายขึ้น แต่จะไปเพิ่มค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการ หรือค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนต่อปีให้สูงขึ้นแทน ก็กลายเป็นว่ากองทุนเหล่านี้ที่มีระยะเวลาในการถือครองนาน ๆ ก็จะทำให้เงินที่ได้จากกองทุนลดลงนั่นเองครับ ดังนั้นเราควรที่จะต้องคำนึงถึงค่าธรรมเนียมในการลงทุนด้วย ห้ามลืมเด็ดขาดเลยครับ
แต่ในทางกลับกัน กองทุน SSF/RMF และ TESG ก็มีประโยชน์มากมายครับไม่ว่าจะเป็น
1. มีโอกาสได้ผลตอบแทน - แน่นอนว่า การลงทุนย่อมได้ผลตอบแทนตามมาด้วย ซึ่งผลตอบแทนก็จะขึ้นกับประเภทของกองทุนที่นักลงทุนได้เลือกลงทุน
2. ได้ลดหย่อนภาษี - ทั้งกองทุน SSF/RMF/TESG นั้น เมื่อนักลงทุนได้ลงทุนไปแล้ว สามารถนำยอดเงินที่ซื้อไปลดหย่อนภาษีได้ทันทีตามเงื่อนไขของกองทุน SSF/RMF/TESG
3. ได้สร้างวินัยในการลงทุน - กองทุน SSF/RMF/TESG เป็นกองทุนที่เน้นเรื่องของการเก็บออมระยะยาว เมื่อนักลงทุนทยอยสะสมไว้เรื่อย ๆ ก็เสมือนเป็นการสร้างวินัยในการลงทุนคล้ายกับการหยอดกระปุกไว้ รับรองว่าได้เงินก้อนไปต่อยอดในชีวิตตามเป้าหมายที่อยากได้ โดยเฉพาะกับกองทุน RMF ที่จะต้องถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี (และตามเงื่อนไขที่กำหนด) เมื่อลงทุนได้ตามเงื่อนไขเราก็จะมีเงินก้อนที่พร้อมจะให้คุณภาพชีวิตที่หลังเกษียณของเราดีขึ้นนั่นเอง
เมื่อรู้ประโยชน์ และ เงื่อนไขของ SSF/RMF/TESG แล้ว คราวนี้มาถึงเรื่องหลักของเราคือ เทคนิคการเลือกกองทุน SSF/RMF/TESG กัน ซึ่งกองทุน SSF/RMF/TESG นั้นเลือกไม่ยาก ใครอยากมี SSF/RMF/TESG ไว้ครอบครองเพื่อลดภาษีมีเงินออมให้ปฏิบัติดังนี้
เลือกกองทุนตามเป้าหมายเก็บเงิน
- ใครที่อยากได้เงินปันผลมาใช้ระหว่างทาง ให้มองหากองทุน SSF กับ TESG ก่อนเลย เพราะว่ากองทุน SSF และ TESG ส่วนใหญ่จะมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้ระหว่างทางด้วย ส่วน RMF ไม่ต้องพูดถึงครับ เนื่องจากกองทุน RMF ไม่มีการจ่ายเงินปันผลทุกกรณีครับ
- ใครที่มองหาเงินเก็บเพื่อเป้าหมายการเกษียณให้เลือก RMF อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าจะขายกองทุน RMF ออกมาได้ก็ต่อเมื่อ ถือกองทุนเกิน 5 ปี และมีอายุมากกว่า 55 ปี จึงเหมาะกับคนที่มองเรื่องเกษียณเป็นเรื่องสำคัญ
- ใครที่อยากได้เงินก้อนมาใช้ตามเป้าหมายต่าง ๆ หรือเน้นสะสมเงินก้อนไว้ต่อยอด หรือเน้นลดหย่อนภาษีแบบไม่มีภาระผูกพันธ์ กองทุน SSF และ TESG จะตอบโจทย์มาก ๆ ให้กำหนดเป้าหมายดี ๆ แล้วลงทุนกับ SSF/TESG ได้เลย เพราะว่าไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีก็ได้
เลือกกองทุนตามอายุ
คราวนี้เรามาดูการเลือกกองทุน SSF/RMF/TESG แบบที่เลือกตามช่วงอายุกันบ้างครับ
- กลุ่ม อายุ 25 – 35 ปี - เน้นกองทุน SSF/TESG
ถ้าหากนักลงทุนยังอายุน้อย ๆ อยู่ในวัยเพิ่งเริ่มต้นทำงาน สร้างตัว สร้างรายได้ การลงทุนผ่าน SSF/TESG นั้นดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากว่าการถือครองกองทุนนั้น จะสั้นกว่า RMF ซึ่งนักลงทุนสามารถขายออกมาเพื่อทำตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ได้โดยที่ไม่ต้องรอนานเกินไป เช่น อยากเก็บเงินซื้อบ้าน เก็บเงินไปเรียนต่อ หรือ เก็บเพื่อแต่งงาน ซึ่งนอกจากจะได้ทำตามความฝัน ตามเป้าหมายแล้วก็ยังลดรายจ่ายภาษีระหว่างเก็บเงินอีกด้วยครับ
- อายุ 35 – 45 ปี - กองทุน SSF & TESG & RMF
สำหรับนักลงทุนที่อยู่ในช่วง 35-45 ปี นั้น เนื่องจากมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยังยาวพอสมควร เกิน 10 ปีขึ้นไปไม่ว่าจะเลือกลงทุนผ่าน RMF หรือ SSF หรือจะเป็น TESG ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใด ๆ ครับ โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 เป้าหมาย เช่น เงินก้อนแรกเก็บไว้เพื่อการเกษียณ เราควรที่จะเลือกกองทุน RMF เป็นหลักเพื่อให้เกิดวินัยในการลงทุนอย่างต่อเนื่องตามข้อบังคับของ RMF ที่ต้องลงทุนทุกปีจนถึงอายุ 55 ปีครับ
คราวนี้เงินที่เหลือที่ยังสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ ก็อาจจะไปลงทุนในกองทุน SSF/TESG แทนครับ โดยอาจจะมองเป็นการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนสูง ๆ เช่นกองทุนหุ้น TESG หรือ กองทุน SSF หุ้นต่างประเทศก็ได้ครับ
- อายุ 45 ปี ขึ้นไป - เน้นกองทุน RMF
สำหรับนักลงทุนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป การลงทุนผ่าน RMF น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการบริหารเงินในช่วงใกล้เกษียณ เนื่องจากว่าเงินที่ลงทุนใน RMF ทั้งหมดจะสามารถขายออกมาพร้อมกันได้ทุกก้อนเมื่ออายุครบ 55 ปี นั่นเองครับ ซึ่งเราสามารถเอาเงินก้อนมาวางแผน หรือ จัดการการเงินได้ดีกว่า
ถ้าหากเราลงทุนผ่าน SSF หรือ TESG ก็อาจจะบริหารเงินได้ค่อนข้างยาก ตัวอย่างเช่น หากเราซื้อกองทุน SSF ในช่วงอายุ 46 ปี เราจะขายได้ก็ต่อเมื่อเราอายุ 56 ปี และต่อมาเราลงทุน SSF ในช่วงอายุ 47 ปี เราจะสามารถขายและนำมาใช้ได้คือตอนอายุ 57 ปี แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะไม่ได้เป็นเงินก้อนใหญ่ออกมา ก็อาจจะทำให้เราบริหารจัดการเงินยากมากขึ้นนั่นเองครับ
เทคนิคเลือกกองทุนไม่พลาดเป้า
เนื่องจากกองทุนมีหลายประเภท ตั้งแต่เสี่ยงต่ำไปถึงเสี่ยงสูง เราต้องเลือกกองทุนที่เหมาะกับความเสี่ยงของเราเสียก่อนว่าจะเป็นกองทุนแบบไหน หลังจากนั้น ก็เลือกกองทุน SSF/RMF ที่สร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยดูจากผลตอบแทนย้อนหลังประมาณ 3-5 ปี เพราะว่ากองทุนที่ดีย่อมที่จะสร้างผลตอบแทนแบบดีต่อเนื่องให้กับนักลงทุน ทั้งนี้อย่าลืมเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมรายปี หรือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนก่อนลงทุนเสมอ เพราะว่าเป็นต้นทุนในการถือกองทุนในระยะยาว ซึ่งมีผลทำให้ผลตอบแทนน้อยลงไปด้วย
โดยสรุปกองทุน SSF/RMF ต้องเลือกที่
- สินทรัพย์ดี เติบโต และลงทุนตามความเสี่ยงของเรา
- ฝีมือผู้จัดการกองทุน (จากผลตอบแทนย้อนหลัง) ต้องสม่ำเสมอ
- ค่าธรรมเนียมต้องถูกเมื่อเทียบกับกองทุนแบบเดียวกัน
ส่วนกองทุน TESG ที่เป็นกองทุนเปิดใหม่ วิธีการเลือกองทุนที่ดีคือ ต้องดูที่กลยุทธ์การลงทุนของแต่ละกองทุนซึ่งจะมีความแตกต่างกันในการเลือกหุ้น ESG เช่น บางกองทุนเลือกเอาหุ้นจำนวนน้อย ๆ ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง ซึ่งก็อาจจะได้ผลตอบแทนที่สูง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน หรือว่าบางกองทุนก็อาจจะเน้นการลงทุนแบบ Passive ให้ผลตอบแทนขึ้นลงไปตามดัชนีหุ้นกลุ่ม ESG ไปเลยก็มีด้วยเช่นกัน
TESG บางกองทุนอาจจะดูผลตอบแทนโดยรวมของกองทุนหุ้นต่าง ๆ ที่เคยเปิดมาแล้วในอดีตของแต่ละบลจ. ร่วมด้วยก็ได้ เนื่องจากกองทุนส่วนใหญ่จะถูกบริหารงานโดยกลุ่มผู้จัดการกองทุนที่เคยบริหารจัดกองทุนหุ้นในบลจ. นั้น ๆ อยู่แล้วนั่นเอง
ดังนั้นนักลงทุนเองต้องเข้าใจกลยุทธ์การลงทุนของแต่ละกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
ในช่วงปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงมากขึ้น ทำใหัอัตราดอกเบี้ยของทุก ๆ ประเทศก็ค่อย ๆ ทยอยปรับตัวสูงขึ้น แต่ว่าล่าสุดธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศเองก็เริ่มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เนื่องจากเงินเฟ้อเริ่มคงที่ และเริ่มลดลงมาบ้าง แน่นอนว่าส่งผลให้สินทรัพย์ลงทุนเกือบทุกชนิดปรับตัวผันผวนมากขึ้น การลงทุนในช่วงนี้ค่อนข้างจะยากสำหรับนักลงทุนเลยก็ว่าได้ครับ
แต่ถ้าหากเรามองภาพระยะยาวแน่นอนว่าก็จะยังคงมีกองทุนที่สามารถลงทุนได้ และ สามารถสร้างผลตอบแทนระยะยาวให้กับเราได้อยู่ เพราะว่าถ้าหากแนวโน้มของอัตราดกเบี้ยเริ่มลดลงเมื่อไหร่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างกองทุนหุ้นก็จะเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นครับ
ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้นขนาดเล็ก-ขนาดกลาง กองทุนหุ้นกลุ่ม Asia และ Emerging Market หรือว่าถ้าไม่แน่ใจจะเลือกกองทุนหุ้นทั่วโลกก็ได้ ไม่ว่ากันครับ เนื่องจากกองทุนหุ้นทั่วโลกนี้ เป็นกองทุนที่มีหุ้นที่หลากหลาย และช่วยเรากระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี ส่วนการเติบโตนั้นส่วนใหญ่แล้วการเติบโตของกองทุนหุ้นทั่วโลกอาจจะไม่สูง เนื่องจากมีการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นทั่วโลก แต่การเติบโตระยะยาวส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากตามหลักการแล้ว ตลาดหุ้นจะเติบโตการบริโภค และการใช้สินค้าและบริการ ซึ่งถ้าดูจาก GDP ของโลกจะค่อย ๆ เติบโตตามจำนวนประชากร และ ธุรกิจทั่วโลกที่เติบโตอย่างค่อนเป็นค่อยไป
แต่ถ้าหากเอากองทุน SSF/RMF ทั้งหมดมาเรียงต่อกัน กองทุนที่มีความน่าสนใจในการลงทุนระยะยาว ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนหุ้นในกลุ่มสุขภาพ หรือ กองทุน Healthcare ทั้งนี้ก็เพราะว่ากองทุนกลุ่มสุขภาพนั้น เป็นกองทุนที่มีความแข็งแรงทางธุรกิจ เป็นบริการ หรือเป็นสินค้าที่จำเป็น รวมถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์เองก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การเติบโตในระยะยาวของกองทุนเหล่านี้มีความน่าสนใจ
รวมไปถึงกองทุนในกลุ่มนี้ก็มีความทนทานต่อช่วงเศรษฐกิจถดถอยอีกด้วย ซึ่งก็ยังคงเติบโตได้เพราะว่าเป็นบริการ หรือเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับทุก ๆ คน และ ค่ารักษาพยาบาลนั้นก็ยังคงปรับตัวตามเงินเฟ้อได้ โดยผู้บริโภคมีอำนาจในการต่อรองน้อยอีกด้วย
ในช่วงปี 2565 ที่มีเงินเฟ้อสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งกองทุนทั่วไปส่วนใหญ่จะทำผลตอบแทนในระยะยาว (3-5 ปีย้อนหลัง) ได้ติดลบหรือ อาจจะมีผลตอบแทนไม่สูงมากนัก แต่สำหรับกองทุนกลุ่ม Healthcare ยังคงทำผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากกองทุนกลุ่มสุขภาพแล้ว กองทุนอีกกลุ่มที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน และนักลงทุนเองสามารถลงทุนได้ในช่วงนี้เพราะว่าเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งกองทุนกลุ่มนี้จะเติบโตก่อนเป็นกลุ่มแรกก็คือ กองทุนกลุ่ม Technology ครับ ซึ่งถามจังหวะเศรษฐกิจที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาลงจะค่อนข้าโดดเด่นกว่ากองทุนอื่น ๆ เอาเป็นว่าเราสามารถทยอยลงทุนได้ตั้งแต่ช่วงนี้ครับ แต่กองทุนนี้ความเสี่ยงค่อนข้างจะสูง คำแนะนำคืออยากให้นักลงทุนค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จะเหมาะกว่าครับ
คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับการซื้อกองทุน SSF/RMF ปี 2566
ในช่วงปลายปีแบบนี้ มัวแต่เสียเวลาเลือกกองทุนอาจจะไม่ได้ซื้อกองทุนจนถึงสิ้นปี เพราะว่าแนวโน้มของราคาสินทรัพย์ปรับตัวลดลงจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ
ในช่วงตลาดหุ้นไม่เป็นใจ ก็ให้เราเลือกลงทุนบนกองทุน SSF/RMF/TEGS ที่มีกองทุนความเสี่ยงต่ำก่อนก็ได้ นั่นก็คือ กองทุน “ตลาดเงิน” หรือ “กองทุนตราสารหนี้” ไปเลยถืงแม้ว่าจะได้ผลตอบแทนไม่สูง แต่ปลอดภัยมาก ๆๆๆ
ซึ่งกองทุน TESG ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ ณ ปัจจุบันจะมีอยู่แค่ 1 กองทุนเท่านั้น ส่วน SSF/RMF มีให้เลือกมากมายเลยครับ หรือว่าถ้าหากรับความเสี่ยงได้กลาง ๆ ก็อาจจะเลือกกองทุน SSF/RMF/TESG แบบที่เป็นกองทุนผสม ที่มีสินทรัพย์อยู่หลากหลายทำให้ความเสี่ยงไม่สูงจนเกินไปครับ
ซื้อก่อน ได้สิทธิ์ไปลดหย่อนภาษีก่อน
พ้นภาวะดอกเบี้ยขึ้นเมื่อไหร่ค่อยกลับมาลงทุนในกองทุนหุ้น SSF/RMF/TESG ได้ตลอดเวลา
เพราะอย่าลืมว่ากองทุน SSF/RMF/TESG สับเปลียน โอนย้าย ข้ามบลจ. ได้ตลอด
ดังนั้นก่อนปลายปีนี้รีบซื้อกองทุน SSF/RMF กันได้แล้ววว เดี๋ยวไม่ทันนะคร้าบ