Written by : #CreativeTone x #Liberator




ธุรกิจ Fintech ในประเทศไทย ถือว่ากำลังมีการเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยจะเห็นได้จาก ในปัจจุบันนั้น ประเทศไทยมี FinTech startups เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น กลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ๆ ก็เริ่มเดินหน้ารุกเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโยลีทางการเงินกันมากกว่าเดิม ซึ่งก็เช่นเดียวกับบริษัทด้านเทคโนโลยีเองด้วย



ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจ FinTech ที่กำลังเนื้อหอมที่สุด คือ กลุ่ม Payment, mobile banking และ e-Wallet ซึ่งผู้เล่นก็มีทั้งสถาบันการเงิน, Telco, ธุรกิจในอุตสาหกรรมค้าปลีก, และ Mobile operator



สำหรับข้อได้เปรียบของผู้เล่นในกลุ่มนี้ คือ ทุกเจ้าล้วนมีข้อมูลของผู้บริโภคอยู่ในมือ ทำให้สามารถเข้าถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ทั้งหมด




ส่วนในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ เช่น Blockchain ก็เริ่มมี startups และธนาคารเข้ามามากขึ้น และกลุ่ม Digital Lending ก็มีหลายบริษัทที่ร่วมกันสร้างระบบการกู้ยืมเงินแบบดิจิทัลอีกมาเช่นเดียวกัน ส่วนอีกกลุ่มธุรกิจที่กำลังมาแรง ได้แก่ Peer to Peer Lending หรือ Cloud Funding นั้น ตอนนี้สำนักงาน ก.ล.ต. ก็มีการออกกฎเกณฑ์มาควบคุม และมีการทำ Sandbox ให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการ Cloud Funding มากขึ้นด้วย



อย่างไรก็ตาม แม้ธุรกิจ Fintech ในประเทศไทยจะกำลังกลายเป็นเทรนด์ที่ดูเหมือนจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่การดำเนินธุรกิจดังกล่าวก็มีจุดแข็ง-จุดอ่อนให้ต้องประเมินอยู่ ซึ่งเราได้รวบรวมเอาไว้ ดังนี้




#จุดแข็ง ของธุรกิจ FinTech ในไทย




1) การเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทยจัดอยู่ที่ในเกณฑ์สูง ซึ่งสูงกว่า 90% ของจำนวนประชากรด้วยซ้ำ ทำให้มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ ซึ่งคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมทางการเงิน



2) คนไทยมีความเชี่ยวชาญงานบริการ และได้รับการยอมรับในระดับโลก ทำให้มีความเข้าใจหลักความสำเร็จของธุรกิจบริการ นั่นคือ การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ



3) ผู้ประกอบการมีทัศนคติที่ดีในการสร้างความร่วมมือระหวางกัน อีกทั้งยังมีความพร้อมด้านทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจ FinTech



4) FinTech มีจุดเด่นด้านการลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งระบบเศรษฐกิจ และทำให้การแข่งขันของธุรกิจเพิ่มขึ้น



5) กลุ่มธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ให้ความสนใจอยากเข้ามามีส่วนร่วมกับธุรกิจ FinTech มากขึ้น




#จุดอ่อน ของธุรกิจ FinTech ในไทย




1) เพราะหนี้สินภาคครัวเรือนในประเทศไทยสูงถึง 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ทำให้มีผลต่อความสามารถในการก่อหนี้และการชำระหนี้ของภาคครัวเรือน



2) คนไทยมีความรู้ทางการเงินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในเอเชีย ทำให้การสร้างรายได้จากบริการทางการเงินที่ซับซ้อนยากขึ้น



3) การกระจายรายได้ของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ และประเทศไทยมีข้อกำหนดด้านการระดมทุนที่เคร่งครัด ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนไม่เพียงพอ



4) ผู้ประกอบการขาดการบูรณาการความรู้ และมีทัศนคติในการรวมความเป็นเจ้าของและอำนาจการบริหาร ทำให้การจัดการภายในและภายนอกองค์กรมีประสิทธิภาพที่ไม่ดีเท่าที่ควร



5) ประเทศไทยยังขาดหน่วยงานกลาง ที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยทางเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่มีมูลค่ามหาศาล




24.02.2023