หน้าแรกliberatorLIB Easy: ระบบ FIFO คำนวณต้นทุนเฉลี่ยหุ้นในพอร์ต มีผลกับการซื้อขายอย่างไร

LIB Easy: ระบบ FIFO คำนวณต้นทุนเฉลี่ยหุ้นในพอร์ต มีผลกับการซื้อขายอย่างไร

FIFO: เบื้องหลังวิธีคำนวณ ต้นทุนหุ้นในพอร์ตนักลงทุน

ไม่ว่าเราจะ ลงทุนหุ้นไทย หรือ ลงทุนหุ้นอเมริกา หรือทำธุรกิจซื้อมาขายไป สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องรู้เป็นลำดับแรกๆ คือ ต้นทุนสินค้าที่เรากำลังจะขาย และ ราคาสินค้าที่เราจะขายได้

เพราะข้อมูลชุดนี้จะทำให้เรารู้ว่า กำไร ที่เราจะได้เป็นเงินเท่าไหร่ คุ้มค่าไหมกับเงินที่จะต้องลงทุนไป แล้วกำไรมากหรือน้อยก็มีผลกับการจัดการเงินทุน บริหารสภาพคล่องของธุรกิจอีก

สำหรับนักลงทุนนั้นง่ายหน่อย เพราะมีระบบช่วยคำนวณต้นทุนหลังบ้านให้เรียบร้อยแล้วในหน้า Portfolio โดยจะคิดคำนวณต้นทุนด้วยหลักทางบัญชีที่เรียกว่า FIFO (First in First out) ดังนั้น ไม่ว่าจะซื้อ-ขายบ่อยแค่ไหน ต้นทุนเฉลี่ยก็จะถูกคำนวณไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว

(ถ้าต้องการดูว่าเรามีต้นทุนการซื้อหุ้นแต่ละไม้เท่าไหร่บ้าง สามารถเช็คได้จากคำสั่งซื้อขายย้อนหลังครับ)

FIFO และ WAC คืออะไร?

FIFO (First in First out) เป็นวิธีการคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ยของสินค้าในมือ โดยจะตั้งสมมติฐานว่า สินค้าที่ถูกซื้อเข้ามาก่อนจะถูกนำออกไปขายก่อน เพราะในทางปฏิบัติจะให้มาตามเช็คว่าสินค้าล็อตที่ A ถูกซื้อเข้ามา ถูกนำไปขายเดือนไหน ขายให้ใคร ขายได้ราคาเท่าไหร่บ้าง ถ้ามีสินค้าเข้ามาพร้อมกันหลายๆ ล็อตหน่อยก็ทำให้นักบัญชีปวดหัวมากๆ

สำหรับค้นทุนเฉลี่ยของหุ้นในบัญชีเรา คิดง่ายๆ จาก:

ต้นทุนรวมของหุ้น / จำนวนหุ้นทั้งหมด

ตัวอย่างของการคิดต้นทุนหุ้นที่ซื้อขายตามแนวโน้ม เช่น

เราซื้อ หุ้น AAA (ชื่อสมมติ) 3 ครั้ง

  • ครั้งที่ 1 ซื้อ 1,000 หุ้น หุ้นละ 10 บาท รวม 10,000 บาท
  • ครั้งที่ 2 ซื้อ 500 หุ้น หุ้นละ 12 บาท รวม 6,000 บาท
  • ครั้งที่ 3 ซื้อ 200 หุ้น หุ้นละ 13 บาท รวม 2,600 บาท

ต้นทุนรวมของการซื้อหุ้น 3 ครั้ง เท่ากับ 18,600 บาท ได้จำนวนหุ้น 1,700 หุ้น คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยเท่ากับ 18,600 / 1,700 = 10.94 บาทต่อหุ้น 

ภาษาทางการจะเรียกต้นทุน 10.94 บาทนี้ว่า ต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average Cost)

FIFO มีผลอะไรกับนักลงทุน?

สำหรับนักลงทุน FIFO จะทำให้เราสับสนในวันที่เราตัดสินใจ ขายหลักทรัพย์ ออกมาครับ

เพราะหลักการของ FIFO คือ การขายสินค้าที่เราซื้อชุดแรกออกไปก่อน ดังนั้น ยอด Unrealized P/L ที่เราเห็นในหน้า Portfolio กับยอด Realized P/L ที่เราขายไปจริงนั้นจะเป็นยอดตัวเลขไม่เท่ากัน

ตัวอย่างก่อนหน้านี้เราคุยกันว่า

  • มีหุ้น AAA (ชื่อสมมติ) จำนวน 1,700 หุ้น ต้นทุนเฉลี่ย 10.94 บาท
  • ถ้าเราขายหุ้น AAA ไปจำนวน 500 หุ้นที่ราคา 14 บาท
    • กำไรที่เราจะได้จริง คือ ราคาขาย 14 บาท – ต้นทุนการซื้อไม้แรก 10 บาท = 4 บาทต่อหุ้น
    • กำไรที่เราเห็นก่อนขาย คือ ราคาขาย 14 บาท – ต้นทุนเฉลี่ย 10.94 บาท = 3.06 บาทต่อหุ้น
  • ต้นทุนเฉลี่ยของหุ้น AAA หลังจากที่เราขายหุ้นออกไปจะกลายเป็น:
    • 500 หุ้น ที่ราคา 10 บาท รวม 5,000 บาท
    • 500 หุ้น ที่ราคา 12 บาท รวม 6,000 บาท
    • 200 หุ้น ที่ราคา 13 บาท รวม 2,600 บาท
    • คิดเป็นยอดรวมเท่ากับ 13,600 บาท และ 1,200 หุ้นที่เหลือ
    • ต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักใหม่หลังจากขายหุ้นไปแล้วเท่ากับ 13,600 / 1,200 = 11.33 บาทต่อหุ้น

อย่างไรก็ตาม เรื่อง FIFO ที่ทางทีมงานเขียนขึ้นมานั้นตั้งใจให้เป็นเกร็ดความรู้เท่านั้น สิ่งสำคัญในการเลือกลงทุนหุ้นคือการประเมินโอกาสที่เราจะได้กำไรก่อน ถ้าเราพยายามจะซื้อหุ้นให้ได้ต้นทุนเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด มีโอกาสมากทีเดียวที่เราจะไปจั่วเจอ หุ้นขาลง และอาจทำให้เกิดความเสียหายที่ยากจะแก้ไขได้

ในทางตรงกันข้าม หากเราเป็นนักลงทุนระยะยาวหรือนักลงทุนที่เก็งกำไรตามแนวโน้ม การที่เราซื้อถัวเฉลี่ยตอนราคามีแนวโน้มขาขึ้น ถึงแม้ต้นทุนเฉลี่ยเราจะสูงขึ้น แต่นั่นก็หมายความว่าราคาที่เราจะขายได้ก็สูงขึ้นไปด้วยนะ

ดังนั้น อย่าให้ต้นทุนถัวเฉลี่ยใน Portfolio หลอกเรา ดูที่แนวโน้มของกิจการ ดูที่กลยุทธ์การลงทุนว่าเหมาะสมกับเราหรือไม่ ถ้ามันใช่ เราทำได้สม่ำเสมอ วงการนี้พร้อมให้ผลตอบแทนกับคนที่มีวินัยครับ

____

💙 มีพอร์ตกับ Liberator เทรดคุ้ม เรียนรู้สนุกตลอดทั้งปี !!

เปิดพอร์ตใหม่ เทรดฟรี ไม่มีค่าคอม 1 เดือน :
https://go.liberator.co.th/xlnX/LIBDL


PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า