หน้าแรกLIB Learnต้มยำกุ้ง รอบ 2 ใกล้แล้วใช่ไหม ?

ต้มยำกุ้ง รอบ 2 ใกล้แล้วใช่ไหม ?

ถ้าไม่ใช้ความรู้สึก แต่วิเคราะห์ตัวเลขทางเศรษฐกิจ จะเห็นชัดว่า ไทยตอนนี้ ยังไม่ใช่และห่างไกลกับการซ้ำรอยวิกฤต #ต้มยำกุ้ง มากนัก

ปี 2540 ไทยเริ่มต้นจากสภาพฟองสบู่ (ตอนนี้เรามาจากติดลบ และกำลังฟื้นตัว) 
จากขาดดุลสะสมหลายสิบปี ถึง -8% GDP (ตอนนี้ -1%) 
จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทย-สหรัฐ 10% (ตอนนี้ 2%) 
ที่สำคัญ จากทุนสำรองที่ไม่พอจ่ายหนี้ระยะสั้นด้วยซ้ำ (ตอนนี้ >3เท่า)

เมื่อไทยยังห่างไกลกับซ้ำรอย “ต้มยำกุ้ง” ถ้าลองเปลี่ยนคำถามใหม่ว่า 

“แล้วจะมีเหตุการณ์ (scenario) ไหนบ้าง ที่จะทำให้เราไปถึงจุดนั้น” 

ลองมามองในมุมนี้ ในภาษาง่ายๆ บ้างครับ 

. . . 

#1. Scenario ไทยใช้นโยบายการเงิน “แปลกๆ” 

ถ้าทุกคนนิ่งๆ แต่บาทอ่อนคนเดียว นั่นคือปัญหา!

ความจริงช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาคือ ทุกคนนิ่ง แต่ USD แข็งคนเดียวมากกว่า

ภาพรวมค่า US Dollar Index (DXY) 1 ปีย้อนหลัง แข็งไปแล้ว +21%

ดอลลาร์เทียบเยน +30%
ปอนด์ +22%
ยูโร +20%
บาท +12%
หยวน +10%

ส่วนบาทนั้น แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับ เยน ปอนด์ ยูโร วอน เปโซ ด้วยซ้ำ

ไทยเปลี่ยนนโยบายค่าเงินลอยตัวตั้งแต่ปี 2540 ทำให้บาทค่อยๆ ขยับทีละเล็กน้อย ตาม supply demand ของตลาด และล้อกับค่าเงินในภูมิภาค ที่ส่งออกสินค้าคล้ายกัน (ค่าเงิน = ราคาสินค้า) 

ถ้าเกิด scenario ที่เราย้อนกลับไป “ตรึงค่าเงิน” จะเป็นที่เท่าไหร่ก็ตาม โดยใช้เงินทุนสำรองต่อสู้กับความเป็นไปของตลาดโลก ก็ไม่ต่างกับเรากำลังสร้างวิกฤตให้เกิดขึ้นมาเอง

. . . 

#2. Scenario “ลากยาว” 

ปัจจุบันไทยมีทุนสำรองแข็งแกร่งมาก สูงเป็นระดับโลก >$200b 

มากกว่าหนี้ระยะสั้น 3 เท่า (เกณฑ์คือ 1 เท่า)
มากกว่า มูลค่านำเข้า 11 เดือน (เกณฑ์ 3 เดือน)

แต่ช่วง 1.5 ปีที่ผ่านมา เราขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ราว 1-2%/GDP เพราะภาคการท่องเที่ยวหายไป -99% จากโควิด นักท่องเที่ยวจากปีละ 40 ล้านคน (2019) เหลือเพียง 4 แสนคน (2021)

ถ้าเกิด scenario ที่ปัญหาเศรษฐกิจโลกลากยาวไปหลายปี จะส่งผลให้ภาคการส่งออกไทยหดตัวรุนแรง (ขาดดุลการค้า) และภาคการท่องเที่ยว (ได้ดุลบริการ) เข้ามาชดเชยไม่เพียงพอ 

ส่งผลให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่ม ไปกัดกร่อน เงินทุนสำรอง จนอาจจะเข้าสู่วิกฤต 

. . . 

#3. Scenario เพื่อนบ้าน “พาเจ๊ง”

ถ้าดูเฉพาะในแง่ทุนสำรอง ไทยเรามีเงินทุนสำรองสูงสุดในภูมิภาค (~40%/GDP เทียบกับ มาเลเซีย เกาหลี อินเดีย ที่ ~20% และ อินโดนีเซีย ~10%) 

มีความเป็นไปได้ว่า เพื่อนบ้านจะเจ๊งไปก่อนเรา และลากเราไปด้วย 

เหมือนปี 2540 ที่ บาท ลากให้ ริงกิต รูเปียห์ วอน ล่มสลาย 

ถ้ามาดูรายงานตัวเลข หนี้สาธารณะต่อ GDP  

เพื่อนบ้านที่มีหนี้เยอะเสี่ยงสูง และพังไปแล้ว คือ ศรีลังกา และ ลาว

ส่วนเศรษฐกิจใหญ่ในอาเซียน (SEA) ทั้ง ไทย อินโดนีเซีย และ มาเลย์เซีย ยังเสี่ยงต่ำ และบางประเทศยังมีดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นบวกด้วย

ถ้ามองภาพใหญ่ระดับโลก จากตัวเลข GDP 2 ไตรมาสล่าสุด จะเห็นว่า US เข้าสู่การถดถอยแล้ว ยุโรปกำลังตามมา ส่วน SEA เป็นภูมิภาคเดียวในโลก ที่มีเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน 

ภูมิภาค SEA 
การลงทุนทางตรง FDI เพิ่ม 
มีเงินไหลเข้าตลาดทุน (ไทยเข้ามาแล้วกว่า 1.7แสนล้านบาท)
ดัชนีการผลิต PMI เพิ่มขึ้น 

บทความล่าสุดของ Japantimes ยกให้ SEA เป็น “ที่ปลอดภัย” Safe Haven ของโลก 

Scenario “เพื่อนบ้าน” พาเจ๊ง ที่ว่า อาจไม่ใช่เพื่อนใกล้ๆตัว 

แต่อาจเป็น “เพื่อนตัวใหญ่” อย่างจีน ที่เจอปัญหาหลายอย่าง 

ทั้ง อสังหาริมทรัพย์ ที่เริ่มลามไปกระทบภาคธนาคาร, นโยบายปิดประเทศ Zero Covid, การเมืองระหว่างประเทศ (Geopolitics) และ เศรษฐกิจที่ชะลอตัวมากที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทั้งยอดขายค้าปลีก และการผลิตภาคอุตสหกรรมที่ลดลง

ไทย ยังพึ่งพาจีนมาก ทั้งนำเข้า (22%) ส่งออก (12%) การท่องเที่ยว (25%) และ การลงทุนทางตรง FDI ($2b)

ถ้าจีนป่วย แถมปิดประเทศอีก ไทยได้รับผลกระทบแน่นอนครับ

. . . 

เศรษฐกิจไทยในตอนนี้ ยังห่างกับการเกิดวิกฤต #ต้มยำกุ้ง อยู่มาก 

ถ้าจะมี scenario ที่นำไปสู่จุดนั้น น่าจะเป็น 

ไทยออกนโยบายค่าเงินบาทผิดพลาด 

วิกฤตเศรษฐกิจโลกลากยาวหลายปี (แต่นั่นคงลามไปทั่วโลก ไม่อาจเรียกว่าเป็น )

และปัญหาภายในของจีน ลามไปภูมิภาค (วิกฤตต้มยำหมาล่า?)

ช่วงเวลา “หัวเลี้ยวหัวต่อ” ทางเศรษฐกิจ 1-2 ปีนี้ เป็นเวลาที่เราต้องปรับตัวให้รับการเปลี่ยนแปลง และยกระดับการเรียนรู้พัฒนาตัวเองให้มากขึ้นครับ

29.09.22

———————————————————-
ติดตาม ‘Liberator’ ได้ทุกช่องทางของคุณ
Instagram : liberator_th
Twitter : th_Liberator
Blockdit : Liberator
Facebook : Liberator Securities
.
𝗣𝗢𝗪𝗘𝗥 𝗜𝗡 𝗬𝗢𝗨𝗥 𝗛𝗔𝗡𝗗
𝗧𝗵𝗲 𝗻𝗲𝘄 𝘁𝗿𝗮𝗱𝗶𝗻𝗴 𝗽𝗼𝘄𝗲𝗿 𝘁𝗵𝗮𝘁 𝘁𝗿𝘂𝗹𝘆 𝗯𝗲𝗹𝗼𝗻𝗴𝘀 𝘁𝗼 𝗮𝗹𝗹 𝘁𝗿𝗮𝗱𝗲𝗿𝘀


PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า